การนำน้ำมันมะพร้าวมาใช้รักษา

โรคที่ใช้น้ำมันมะพร้าวอาจจะมีผลดี

  • ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง Eczema เมื่อใช้น้ำมันมะพร้าวทาผิวหนังจะลดความรุนแรงลงได้ร้อยละ 30

โรคที่ใช้น้ำมันมะพร้าวแต่ขาดหลักฐานยืนยันผลการรักษา

  • มะเร็งเต้านม น้ำมันมะพร้าวชนิด virgin coconut oil โดยให้รับประทานน้ำมันมะพร้าวหนึ่งสัปดาห์หลังจากให้เคมีบำบัดครั้งที่3-6จะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นแต่ใช้ไม่ได้ผลกับมะเร็งที่เป็นมาก
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ จากผลการศึกษาการรับประทานน้ำมันมะพร้าวไม่ได้ลดหรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจหรือแน่นหน้าอก
  • ท้องร่วง พบว่าหากผสมน้ำมันมะพร้าวในอาหารจะลดระยะเวลาท้องร่วง
  • ลดการติดเชื้อผิวหนังทารกคลอดก่อนกำหนด
  • รักษาเหา ให้ผลดีพอพอกับยาฆ่าเหา
  • เพิ่มน้ำหนักทารกคลอดก่อนกำหนด โดยการนวดและทาน้ำมันมะพร้าว
  • ดื่มน้ำมันมะพร้าววันละสามครั้งเป็นเวลา 1-6 สัปดาห์จะลดเส้นรอบเอว แต่ไม่ลดดัชนีมวลกาย
  • ผิวแห้ง ทาน้ำมันมะพร้าวจะเพิ่มความชุ่มชื้นกับผิวหนัง

ผลดีต่อสุขภาพของน้ำมันมะพร้าว

  1. เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวประกอบไปด้วยไขมันอิ่มตัวชนิด medium chain fatty acid ไขมันชนิดนี้ย่อยง่าย และสามารถเข้าสู่ตับกลายเป็นพลังงานได้ง่าย เร่งการเผาผลาญของร่างกายจึงมีประโยชน์ในการลดน้ำหนัก
  2. น้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคต่างๆเช่น
  • เชื้อหัด Measles
  • ไข้หวัดใหญ่ Influenza Virus
  • เริม Herpes
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย
  • การติดเชื้อพยาธิ์
  • เชื้อราเช่น Candida
  1. น้ำมันมะพร้าวยังสามารถนำมาใช้เป็นครีมให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนังได้ดีโดยเฉพาะผู้ที่มีผิวหนังแห้ง ผลข้างเคียงของน้ำมันมะพร้าวมีน้อย นอกจากนั้นยังใช้น้ำมันมะพร้าวมาทาผิวหนังเพื่อชลอการเสื่อมของผิวหนัง น้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจึงนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ผิวหนังอักเสบ ผิวหนังติดเชื้อ
  2. น้ำมันมะพร้าวทนต่อความร้อนได้ดี จึงไม่ก่อให้เกิดสารพิษเมื่อใช้ทอดอาหาร
  3. น้ำมันมะพร้าวมาใช้ดูแลเส้นผมทำให้ผมเงางาม ลดการเกิดรังแค
  4. มีผลดีต่อหัวใจ เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีไขมันอิ่มตัวมากจึงเชื่อว่าน้ำมันมะพร้าวทำให้เกิดโรคหัวใจ แต่ไขมันอิ่มตัวในน้ำมันมะพร้าวเป็นชนิด lauric acid ซึ่งจะทำให้มีการเพิ่มของ HDL และระดับ LDL ลดลงซึ่งจะป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง
  5. น้ำมันมะพร้าวทำให้ภูมิร่างกายดีขึ้นเนื่องจากไขมันในน้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

การหายของแผลและการติดเชื้อ

เมื่อเราใช้น้ำมันมะพร้าวทาที่ผิวหนังน้ำมันมะพร้าวจะเคลือบบนผิวหนังป้องกันฝุ่น เชื้อราป้องกันราบนเชื้อรา ฮ่องกงฟุคเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนั้นแผลพกช้ำเมื่อใช้น้ำมันมะพร้าวทาจะทำให้หายเร็วขึ้น

น้ำมันมะพร้าวได้มีการใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ แต่ประชาชนในประเทศดังกล่าวก็ไม่มีอุบัติการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าประเทศอื่น

น้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัวซึ่งทนต่อความร้อนจึงเหมาะสำหรับการทอดอาหาร

น้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวชนิดที่มีคาร์บอน 12 ตัวที่เรียกว่า Lauric Acid เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสลายได้สาร monolaurin ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย

น้ำมันมะพร้าวกับโรคหัวใจ

ก่อนหน้านี้มีหลักฐานชัดเจนว่าหากไขมันเลว ในเลือดสูงจะทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่ม และเชื่อว่าอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้เกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น น้ำมันมะพร้าวซึ่งมีไขมันอิ่มตัวสูงก็ถูกห้ามรับประทานจนมีคำถามเรื่องหลักฐานของการเกิดโรคหัวใจเพิ่มจริงหรือเปล่า หลายประเทศที่มีการใช้น้ำมันมะพร้าวกันอย่างแพร่หลายอัตราการเกิดโรคหัวใจก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น มีการวิจัยในหนูพบว่าน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สามารถลดไขมันเลว LDL cholesterol ไตรกลีเซอร์ไรด์ และคอเลสเตอรอลในเลือด และมีการเพิ่มขึ้นของไขมันดี HDL (the good) cholesterol และมีการศึกษาในสตรีที่อ้วนลงพุงพบว่าว่าน้ำมันมะพร้าวเพิ่มไขมันดี และลดไขมันเลวในเลือด ในขณะที่น้ำมันถั่วเหลืองเพิ่มไขมันเลวและลดไขมันดี

ข้อคิดเห็น หากจะใช้น้ำมันมะพร้าวต้องเป็นชนิดสกัดเย็น เป็นน้ำมันมะพร้าวที่ไม่ผ่านขบวนการผลิต

Google
 

เพิ่มเพื่อน

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Marten B, Pfeuffer M, Schrezenmeir Jr. Medium-chain triglycerides. International Dairy Journal. 2006;16(11):1374-82.
  2. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. มะพร้าว. วารสารพืชปลูกพื้นเมืองไทย. 2548 กรกฎาคม;1(3).
  3. Assuncao ML, Ferreira HS, dos Santos AF, Cabral CR, Jr., Florencio TM. Effects of dietary coconut oil on the biochemical and anthropometric profiles of women presenting abdominal obesity. Lipids. 2009Jul;44(7):593-601.
  4. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21669587
  5. Quealy, K. and Sanger-Katz, M. Is Sushi ‘Healthy’? What About Granola? Where Americans and Nutritionists Disagree. New York Times. July 5, 2016.
  6. Eyres L, Eyres MF, Chisholm A, Brown RC. Coconut oil consumption and cardiovascular risk factors in humans. Nutrition reviews. 2016 Apr 1;74(4):267-80.
  7. Sacks FM, Lichtenstein AH, Wu JH, Appel LJ, Creager MA, Kris-Etherton PM, Miller M, Rimm EB, Rudel LL, Robinson JG, Stone NJ. Dietary fats and cardiovascular disease: a presidential advisory from the American Heart Association. Circulation. 2017 Jan 1:CIR-0000000000000510.