รับประทานเนยทำให้เกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้นหรือไม่
เนยทำจากนม ไขมันในเนยส่วนใหญ่เป็นไขมันอิ่มตัว ซึ่งเมื่อก่อนมีความเชื่ออาหารที่มีไขมันอิ่มตัวจะทำให้ไขมันเลว LDL cholesterol สูงซึ่งไขมันเลยนี้มีความสัมพันธ์กับการกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่จากการวิจัยใหม่พบว่าการรับประทานเนยไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

วิธีการทำเนย
เนยก็คือครีมหรือไขมันที่อยู่ในน้ำนม น้ำนมที่มาทำเนยอาจจะเป็นนมวัวนมแพะ นมวัวที่เลี้ยงด้วยหญ้า สมัยก่อนการทำเนยทำโดยการนำนมตั้งทิ้งไว้ไขมันในนมซึ่งเบากวาน้ำนมจะลอยขึ้นมา ปัจจุบันใช้การปั่นการทำเนยจะนำเอาครีมมาปั่นทำให้ไขมันจับตัวกันเป็นเนย และเหลือน้ำนมที่เรียกว่า buttermilk เนยมีหลายชนิดเช่น เนยที่ใส่เกลือ ไม่ใส่เกลือ
คุณค่าทางอาหารของเนย
เนยปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ (14 grams)จะมีคุณค่าทางอาหารดังนี้
แม้ว่าเนยจะมีปริมาณไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่ค่อนข้างสูง แต่จากการศึกษาล่าสุดพบว่าการรับประทานเนยไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจ ล่าสุดได้มีการแนะนำให้รับประทานไขมันอิ่มตัวไม่เกินร้อยละ10 โดยรับประทานไขมันอิ่มอิ่มตัวหลายตำแหน่งเพิ่ม
ไขมันในเนยเป็นไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
เนยมีไขมันอิ่มตัวที่มีประโยชน์
เนยมีไขมันอิ่มตัวชนิดโว่สั้นและความยาวปานกลาง ไขมันนี้จะช่วยลดน้ำหนัก เพิ่มไขมันชนิดดีคือ ไขมัน HDL นอกจากนั้นไขมั LDL ที่เพิ่มก็เป็นไขมัที่มีขนาดใหญ่ซึ่งไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
เนยเป็นแหล่งกรดไขมัน Butyrate
จากการทดลองพบว่ากรดไขมัน Butyrate จะป้องกันการเพิ่มของน้ำหนักในหนูทดลอง กรดไขมันนี้จะทำให้เบื่ออาหารและเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน และยังทำให้ไขมัน triglyceride และ insulin ลดลง สำหรับในคนพบว่ากรดไขมันนี้จะมีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยเฉพาะในลำไส้ทำให้ดูดซึมน้ำและเกลือแร่เป็นปกติ นอกจากนั้นยังลดอาการปวดท้อง แน่นท้อง ทัองผูก และถ่ายเหลวในโรคคลำไส้แปรปรวน ในสัตว์ทดลองพบว่าไขมัน Butyrate จะเพิ่มการตอบสนองของร่างกายต่ออินซูลิน
เนยอุดมไปด้วย Conjugated Linoleic Acid ( CLA )
กรดไขมัน Conjugated Linoleic Acid ( CLA ) จะมีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งจากการทดลองพบว่ากรดไขมันนี้จะลดการโตของเซลล์มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลุกหมาก มะเร็งตับ และลดปริมาณไขมันในร่างกาย และได้ถูกนำมาจำหน่ายเพื่อลดน้ำหนัก
เนยอุดมไปด้วยวิตามินที่ละลายในไขมัน
เนย หนึ่งช้อนโต๊ะมีตามิน่
มีกรด amino acid ที่จำเป็นสำหรับร่างกาย
เนยมีกรอ amino acid เช่น lauric acid ซึ่งจะป้องกันการติดเชื้อรา candida มีสาร lecithin ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญคอเรสเตอรอล
การรับประทานเนยจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจต่ำกว่าการรับประทานมาการีน
จากการศึกษาพบว่าการรับประทานมาการีนจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนั้นยังศึกษาพบว่าการรับประทานผลิตภัณฑ์ของนมจะไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และยังอาจจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
เนยช่วยลดน้ำหนัก
เมื่อต้องการลดน้ำหนักจะได้รับคำแนะนำว่าให้รับประทานอาหารไขมันต่ำ แต่จากข้อเท็จของการศึกษาเมื่อปี คศ2012 พบว่าเมื่อรับประทานอาหารผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูง(รับประทานตามหลักโภขนาการ) พบว่าช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคทาง metabolic และไม่ทำให้เกิดน้ำหนักเกิน
การรับประทานเนยในปริมาณที่พอเหมาะจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ หากรับประทานมากเกินไปก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
เนยที่ทำจากนมวัวที่เลี้ยงด็วยหญ้าดีกว่าเนยที่ทำจากนมวัวที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดหรือไม่
นมวัวที่เลี้ยงด้วยหญ้าจะมีสารอาหารมากกว่านมวัวที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดโดยเฉพาะ omega-3 fatty acids , CLA และ carotenoids and tocopherols
ผลการวิจัยเกี่ยวกับไขมันอิ่มตัว และความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
มีการทบทวนเมื่อปี2014 เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการเกิดโรคหัวใจและไขมันอิ่มตัว พบว่าไขมันอิ่มตัวไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจโดยพบว่าอัตราส่วนระหว่าง LDL/HDL มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับการเกิดโรคหัวใจมากกว่าค่าไขมัน Cholesterol หรือระดับ LDL แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถรับประทานไขมันได้ตามใจ สมาคมโรคหัวใจอเมริกาแนะนำว่าให้รับประทานไขมันอิ่มตัวได้ไม่เกิดร้อยละ5-6ของพลังงานทั้งหมด และแนะนำให้ให้ทดแทนเนยด้วยไขมันจากพืช
คอเลสเตอรอลอยู่ในเนยมากแค่ไหน?
เนยจืดหนึ่งช้อนโต๊ะมีคอเลสเตอรอล 31 มิลลิกรัม (มก.) คำแนะนำก่อนหน้านี้ของกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาคือการบริโภคคอเลสเตอรอลระหว่าง 100 – 300 มก. ต่อวัน อย่างไรก็ตาม หลักฐานไม่สนับสนุนว่าคอเลสเตอรอลในอาหารมีบทบาทสำคัญในระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
สารทดแทนเนย
คุณสามารถช่วยลดความเสี่ยงของคอเลสเตอรอลสูงได้โดยการแทนเนยธรรมดาด้วยเนยที่มีที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำกว่า หรือได้รับการพิสูจน์ว่ามีผลกระทบต่อความเสี่ยงโรคหัวใจน้อยลง เช่น:
- เนยที่ทำจากวัวเลี้ยงด้วยหญ้า
- อะโวคาโด
- น้ำมันมะพร้าว
- น้ำมันมะกอก
- โยเกิร์ต
บางรายการสามารถเปลี่ยนเป็นเนยได้โดยใช้การวัดแบบเดียวกัน ตัวอย่างเช่น การปันส่วน 1 ต่อ 1 หมายความว่าถ้าคุณต้องการเนย 1 ช้อนโต๊ะ คุณสามารถใช้เนยที่เลี้ยงด้วยหญ้า 1 ช้อนโต๊ะแทนได้ สิ่งทดแทนอื่นๆ จะต้องใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์บางอย่างเพื่อกำหนดปันส่วนที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น หากสูตรต้องใช้เนย 1 ช้อนโต๊ะ คุณสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำมันอะโวคาโดหรือน้ำมันมะกอก ½ ช้อนโต๊ะ
grass-fed butter | 1 to 1 |
Earth Balance spread | 1 to 1 |
applesauce | 1 to 1, but in baked goods, only replace up to half of the fat with applesauce |
banana | 1 to 1, but in baked goods, only replace up to half of the fat with mashed banana |
coconut oil | 1 to 1 |
avocado oil | half |
olive oil | half |
โยเกิร์ตไขมันต่ำยังใช้ทดแทนเนย หรือใช้ครีมเปรี้ยวทาบนมันฝรั่งอบ หรือใช้สเปรย์บัตเตอร์ช่วยเพิ่มรสเนยให้กับผักและข้าวโพดคั่ว
การใช้เนยเป็นตัวเลือกอาหาร่ดีกว่าการใช้มาการีนที่เติมไฮโดรเจน เนื่องจากมีไขมันทรานส์น้อยกว่า อย่างไรก็ตาม American Heart AssociationTrusted Source (AHA) ระบุว่าทั้งเนยและมาการีนสามารถเพิ่มคอเลสเตอรอล LDL ได้ แต่มาการีนนั้นมากกว่า
คุณอาจต้องการจำกัดการบริโภคอาหารอื่นๆ ที่อาจส่งผลเสียต่อคอเลสเตอรอลของคุณ อาหารเหล่านี้อาจเพิ่ม LDL ของคุณและส่งผลเสียต่อ HDL ของคุณ ซึ่งหมายความว่าคุณควรจำกัดการบริโภคของเหล่านี้
- อาหารทอดที่
- น้ำมันที่ผ่านขบวนการผลิต
- ขนมอบ
- มาการีนเติมไฮโดรเจน(มาการีนแข็ง)
- แอลกอฮอล์
อาการและภาวะแทรกซ้อนของคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
การวินิจฉัยคอเลสเตอรอลสูงทำได้โดยการเจาะเลือด เนื่องจากคอเลสเตอรอลสูงที่ไม่มีอาการ การมีคอเลสเตอรอลสูงทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรค
- เส้นเลือดหัวใจตีบมีอาการเจ็บหน้าอก
- หัวใจวาย
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
- โรคไตเรื้อรัง
- โรคหลอดเลือดแดง carotid