การป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ

สูบบุหรี่ | ความดันโลหิตสูง | ไขมันในเลือด | การออกกำลังกาย | การคุมน้ำหนัก | รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ | โรคเบาหวาน | การตรวจร่างกายประจำปี | การจัดการเรื่องความเครียด | การดื่มสุรา |

การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ท่านผู้อ่านลองสำรวจดูว่าตัวท่านรวมทั้งคนที่รู้จัก มีใครบ้างที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง หากพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงแนะนำว่าให้ปฏิบัติตามเป้าหมายที่แนะนำ การป้องกันโรคย่อมดีกว่าการรักษาเนื่องจากประหยัดค่าใช้จ่าย ผู้ป่วยก็ไม่เกิดความพิการ คุณภาพชีวิตทั้งตัวผู้ป่วยและญาติดีขึ้น  เนื่องจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคอัมพาตมีปัจจัยเสี่ยงใกล้เคียงกันจึงขอกล่าวรวมกัน เนื่องจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง Atherosclerosis เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจและโรคอัมพาต หลอดเลือดแดงแข็งเริ่มเกิดตั้งแต่วัยรุ่นและเกิดอาการหรือเกิดโรคตอนวัยกลางคน ดังนั้นการให้ความรู้และเปลี่ยนพฤติกรรมควรเริ่มตั้งแต่วัยรุ่น

การป้องกันโรคแบ่งเป็น

การป้องกันปฐมภูมิ คือการป้องกันตั้งแต่ยังไม่เกิดโรค

การป้องกันทุติยภูมิ คือการป้องกันมิให้เกิดโรคซ้ำ การป้องกันปฐมภูมิจะเน้นเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากกว่าการใช้ยา แต่หากคุณมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก็จำเป็นต้องใช้ยา สำหรับผู้ที่เกิดโรคแล้วการใช้ยาเพื่อทำให้หลอดเลือดแข็งแรงขึ้น และลดการเกิดหลอดเลือดแข็ง

การป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบปฐมภูมิ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  1. สูบบุหรี่ Smoking
  • สนับสนุนให้ผู้ป่วยและญาติหยุดสูบบุหรี่
  • ถ้าหยุดเองไม่ได้แนะนำให้ปรึกษาศุนย์อดบุหรี่
  • การตรวจร่างกายประจำปีให้ถามเรื่องการสูบบุหรี่ และแนะนำให้เลิกบุหรี่
  1. ความดันโลหิตสูง Blood pressure control 
      ดัชนีมวลกาย
      พลังงานสำหรับออกกำลังกาย
      พลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน

เป้าหมาย (Goal) ความดันโลหิตน้อยกว่า 130/85 มม.ปรอท

ข้อแนะนำ (Recommendations) 

  • ให้วัดความดันทุก 2 ปีสำหรับผู้ใหญ่
  • ให้เปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชิวิต เพื่อป้องกันความดันโลหิต
  • ถ้าความดันมากกว่า 140/90 มม.ปรอทเป็นเวลา 6 เดือน หรือความดันโลหิตมากกว่า160/90 มม.ปรอท ก็เริ่มให้ยาลดความดันโลหิต
  1. ไขมันในเลือด Cholesterol management

เป้าหมาย (Goal)

  • ปัจัยเสี่ยงน้อยกว่า 1 ข้อ,LDL<160 mg%
  • ปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่า 2 ข้อ,LDL<130 mg%
  • HDL>35 mg%
  • Triglyceride<200 mg%

ข้อแนะนำ (Recommendations)

  1. การออกกำลังกาย Physical activit

เป้าหมาย (Goal)  ออกกำลังกายสัปดาห์ละ3-6วันวันละ30 นาทีโดยได้อัตราเต้นของหัวใจ 60-80%ของอัตราเต้นเป้าหมาย

ข้อแนะนำ (Recommendations)

  • แนะนำให้ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำสัปดาห์ละ3-6วันวันละ30 -60นาทีโดยได้อัตราเต้นของหัวใจ 60-80%ของอัตราเต้นเป้าหมาย
  • แนะนำให้เปลี่ยนพฤติกรรมการดำดงชีวิต เช่น เดินให้มาก ทำงานบ้าน ใช้จักรยานแทนรถ
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย
  1. การคุมน้ำหนัก Weight managemen

เป้าหมาย (Goal) ดัชนีมวลกายให้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 กก/ตารางเมตร สำหรับคนที่อ้วนลงพุงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เบาหวานและไขมันในเลือด การคำนวณดัชนีมวลกายอ่านที่นี่

ข้อแนะนำ (Recommendations)

  • วัดส่วนสูงและชั่งน้ำหนักรวมทั้งวัดรอบเอวและรอบสะโพกทุกปี
  • ดัชนีมวลกายมากกว่า 27 กก/ตารางเมตร หรือรอบเอวมากกว่า 90 ซม.สำหรับผู้ชาย80 ซม.สำหรับผู้หญิง ต้องให้การรักษา
  1. รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด องค์ประกอบของอาหารเพื่อสุขภาพคือ
  1. โรคเบาหวาน การควบคุมโรคเบาหวานมิใช่เพียงแค่ค่าน้ำตาลอย่างเดียงจะต้องควบคุมปัจัยอย่างอื่น
  • ค่าน้ำตาลเฉลี่ย HbA1c ต้องไม่เกิน7
  • ระดับความดันโลหิตต้องไม่เกิน 130/ 80 มิลิเมตรปรอท
  • ระดับไขมันเลว LDL<100 mg%
  • ต้องไม่อ้วน
  • ออกกำลังกายวันละ30นาที
  • การควบคุมโรคเบาหวาน
  1. การได้รับยาคุมกำเนิด

อาจจะให้ในหญิงวัยทองที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหลายประการ เช่น LDLที่สูง

  1. การตรวจร่างกายประจำปี

การตรวจร่างกายประจำปีมีความสำคัญโดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงบางอย่างจะไม่มีอาการ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การตรวจร่างกายประจำปีจะทำให้เราทราบปัจจัยเสี่ยงของเรา

  1. การรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ

การรับประทานอาหารที่มีคุณภาพต้องประกอบไปด้วยปริมาณพลังงานที่ไม่มากเกินไป มีแร่ฐาตครบถ้วน ครบห้าหมู่ หลีกเลี่ยงอาหารมัน เค็ม หรือหวาน อ่านเรื่องอาหารคุณภาพที่นี่

  1. การจัดการเรื่องความเครียด

ความเครียดมักจะเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคหัวใจ การมองโลกในแง่ดีหรือเชิงบวกจะช่วยลดความเครียดได้ อ่านเรื่องการจัดการเกี่ยวกับความเครียด

  1. การดื่มสุรา

การดื่มสุราพอเหมาะจะช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หากดื่มมากเกินไปจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

การป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบโดยการใช้ยา

หากคุณตรวจร่างกายแล้วพบว่าเป็นโรค การใช้ยาควบคุมโรคจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจยาที่นิยมใช้คือ

  1. ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด Antiplatelet drug
  • ตัวแรกที่นิยมให้คือ Aspirin
  • ตัวที่สองคือ plavix เป็นยาที่นิยมใช้ในคนไข้ที่ทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจและใส่ขดรวดในหลอดเลือดหัวใจ
  1. ยาปิดกันเบต้า Betablock ยานี้จะลดความดันโลหิต ลดการเต้นของหัวใจ และลดการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ
  2. Angiotensin-converting enzyme inhibitor ยานควรจะให้ภายใน 24-48ชั่วโมง จะใช้ได้ดีในรายที่หัวใจทำงานไม่ดี ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
  3. ยาลดไขมัน Statin การใช้ยาลดไขมันจะช่วยการตีบของหลอดเลือดหัวใจ
  4. Omega-3 fatty acids,ซึ่งมีรายงานว่าลดอัตราการเสียชีวิตลงได้

การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบซ้ำ

เพิ่มเพื่อน

 

การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด