jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

คลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด


การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดต้องอาศัย ประวัติการเจ็บหน้าอก ผลเลือดที่บ่งบอกว่ามีการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจ และการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจขึ้นกับกลไกการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควรจะตรวจให้ครบทั้ง 12 leads ถึงแม้ว่าผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะปกติในการตรวจครั้งแรก เราก็ยังไม่สามารถบอกว่าไม่มีเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งอาจจะต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจซ้ำหรืออาจจะต้องทำการตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม การตรวจคลื่นไฟฟ้าหนึ่งโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงชนิด ST segment elevation

ผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันอย่างเฉียบพลัน และกล้ามเนื้อหัวใจตายตลอดความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจ (tranmural mi)ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจส่วนที่เรียกว่า ST segment (อ่านเรื่องคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่นี่) มีการยกตัวสูงขึ้น 1 mm การเปลี่ยนแปลงนี้มักจะเกิดหลังจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด


คลื่นไฟฟ้าหัวใจ

คลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ส่วนที่ระบายสีเหลืองคือ ST segment elevationที่ยกตัวสูงสีฟ้าคือ ST segment depression


มีการลดของระดับ ST segment depression

หากกล้ามเนื้อหัวใจมีการขาดเลือดโดยที่กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนยังไม่ตายก ็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบนี้

การเกิดคลื่นไฟฟ้าชนิด Q weave

การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดหลังจากที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปแล้วหลายวัน เป็นการแสดงว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นมานานแล้ว


กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การตรวจคลื่นไฟฟ้านอกจากจะบอกว่ากล้ามเนื้อใจขาดเลือดยังบอกว่าเป็นเฉียบพลันหรือเป็นมาหลายวัน นอกจากนี้คลื่นไฟฟ้าหัวใจยังสามารถบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจส่วนไหนที่ขาดเลือด

การบอกตำแหน่งของหัวใจที่ขาดเลือด

หัวใจของคนปกติจะมีเส้นเลือดที่มาเลี้ยงได้แก่


หลอดเลือดหัวใจ



ดังนั้นการจะบอกตำแหน่งของกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดเราได้จากการดูว่าการแปลงแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ผนังหัวใจที่ขาดเลือด ตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าST Segment Elevation เส้นเลือดหัวใจที่อุด
Septal V1, V2 Left Anterior Descending (LAD)
Anterior V3, V4 Left Anterior Descending (LAD)
Anteroseptal V1, V2, V3, V4 Left Anterior Descending (LAD)
Anterolateral V3, V4, V5, V6, I, aVL Left Anterior Descending (LAD), Circumflex (LCX), or Obtuse Marginal
Extensive anterior (Sometimes called Anteroseptal with Lateral extension) V1,V2,V3, V4, V5, V6, I, aVL Left main coronary artery (LCA)
Inferior II, III, aVF Right Coronary Artery (RCA) or Circumflex (LCX)
Lateral I, aVL, V5, V6 Circumflex (LCX) or Obtuse Marginal
Posterior (Usually associated with Inferior or Lateral but can be isolated) V7, V8, V9 Posterior Descending (PDA) (branch of the RCA or Circumflex (LCX))
Right ventricular (Usually associated with Inferior) II, III, aVF, V1, V4R Right Coronary Artery (RCA)

การที่ต้องทราบตำแหน่งของกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดจะทำให้สามารถเลือกการรักษาที่ถูกต้อง และประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยได้ ผู้ที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากเส้นเลือด Left main coronary artery (LCA) มักจะมีอาการที่รุนแรงกว่าเส้นเลือดอื่น

การวินิจฉัยโรค การตรวจเลือด

เพิ่มเพื่อน