การตรวจเลือดเพื่อบอกว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด


 

ในการวินิจฉัยว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนอกจากจะอาศัยประวัติการเจ็บหน้าอก การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้ว ยังต้องอาศัยผลการตรวจเลือดเพื่อที่จะบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายไป การตรวจเลือดที่สำคัญได้แก่

CPK-MB

ชื่อเต็มคือ Creatinin kinase -MB เป็นโปรตีนที่พบในกล้ามเนื้อหัวใจ และพบได้น้อยในกล้ามเนื้อปกติ เมื่อมีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ ก็จะมีการหลั่งสารนี้เข้ามาในกระแสเลือด การตรวจด้วยวิธีนี้เป็นที่นิยมกันในอดีต แต่ปัจจุบันได้รับความนิยมลดลง เนื่องจากว่าเราสามารถตรวจพบสารนี้ในคนปกติ และในคนที่กล้ามเนื้อปกติได้รับบาดเจ็บ นอกจากนั้นสารตัวนี้ยังมีความไว sensitivityละความจำเพาะspecific ต่อโรคต่ำด้วย ปัจจุบันการเจาะเลือดนี้ใช้ในการวินิจฉัยว่ากล้ามเนื้อหัวใจยังคงมีการขาดเลือดอยู่ หรือมีกล้ามเนื้อหัวใจมีการขาดเลือดซ้ำ

Troponin

Myoglobin

เป็นโปรตีนที่พบได้ในกล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อทั่วๆไป เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายโปรตีนตัวนี้จะถูกหลั่งออกมาอย่างรวดเร็วภายใน 2 ชมและกลับสู่ปกติภายใน 4 ชมดังนั้นจึงอาจจะไม่ช่วยในการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด




สรุปข้อดีและข้อเสียของสารแต่ละตัว

เลือดที่เจาะ ข้อดี ข้อเสีย
Troponin T
  1. ใช้เป็นตัวชี้วัดถึงความเสี่ยง
  2. มีความไวและความแม่นยำมากกว่า CPK-MB
  3. สามารถตรวจพบว่าเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด นานถึง 2 สัปดาห์หลังจากเกิดอาการแน่นหน้าอก
  4. ช่วยวางแผนในการรักษา
  5. เป็นตัวที่บ่งบอกว่าเลือดได้กลับไปเลี้ยงหัวใจหลังการรักษา
  1. ในระยะแรกของโรคอาจจะตรวจไม่พบ ต้องเจาะซ้ำอีก 6-8 ชม
  2. ไม่สามารถตรวจว่าเกิดการขาดเลือดซ้ำ
CPK-MB
  1. สามารถตรวจได้รวดเร็ว ประหยัด
  2. สามารถบอกว่าเกิดการขาดเลือดซ้ำของกล้ามเนื้อหัวใจ
  1. ไม่เฉพาะสำหรับโรคหัวใจ
  2. ในระยะแรกๆอาจจะตรวจเลือดไม่พบ
Myoglobin
  1. มีความไวสูงมาก
  2. ประโยชน์ในการวินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ในระยะแรก
  3. ช่วยบอกว่าเลือดกลับไปเลี้ยงหัวใจหลังการรักษา
  4. ใช้ในการแยกโรค
  1. มีความจำเพาะต่ำ เพราะพบได้ทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อทั่วๆไป
  2. ผลเลือดกลับสู่ปกติเร็วมาก
การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ชนิดของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด