กลุ่มที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามินเอ

การวินิจฉัย

โรคนี้จะวินิจฉัยเมื่อเกิดอาการของโรคแล้วเท่านั้น สำหรับกลุ่มเสี่ยงเช่นสงสัยว่าจะขาดสารอาหาร หรือมีโรคท้องร่วงเรื้อรัง เราอาจจะเจาะเลือดตรวจหาระดับวิตามินเอ Plasma retinol ค่าปกติอยู่ระหว่าง 20-80 µg/dL ผู้ที่มีค่าอยู่ระหว่าง 10-19 ถือว่ามีค่าต่ำ ส่วนผู้ที่มีค่าน้อยกว่า 10 µg/dL ถือว่าขาดวิตามินเอ

การป้องกัน

สำหรับกลุ่มที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามินเอให้รับประทานอาหารที่มีวิตามินเอสูงได้แก่ ไก่ ไข่ นม ตับ มะม่วง ผักใบเขียว สำหรับคนที่ขาดวิตามินเอก็ให้รับประทานวิตามิน

  • เด็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบให้วิตามินเอ 600 mcg (2000 IU)

  • เด็กอายุ 4-8 ขวบให้ 900 mcg (3000 IU)

  • เด็กอายุ 9-13 ขวบให้ 1700 mcg (5665 IU)

  • เด็กอายุ 14-18 ขวบให้ 2800 mcg (9335 IU)

  • ผู้ใหญ่ให้ 3000 mcg (10,000 IU)

ใครควรได้รับวิตามินเอเสริม

  • องค์การอนามัยโลกแนะนำให้วิตามินเอเสริมแก่เด็กที่เป็นดรคหัดที่มาจากถิ่นที่มีการขาดวิตามินเอ
  • โรค Celiac disease
  • Crohn's disease
  • โรคตับอ่อนเรื้อรังทำให้มีอาการท้องร่วง

วิตามินเอ | โรคขาดวิตามินเอ | การวินิจฉัยและการรักษาโรคขาดวิตามินเอ | ต่อหน้าที่ 2

วิตามิน

วิตามินเอ | วิตามินบี1 | วิตามินบี2 | วิตามินบี3 | วิตามินบี5 | วิตามินบี6 | วิตามินบี12 | วิตามินซี | วิตามินดี | วิตามินอี | โฟลิก |

แมกนีเซียม | สังกะสี | วิตามินเอ | วิตามินซี | วิตามินอี | แร่ธาตุ | วิตามิน