วัคซีนป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก Diphtheria and tetanus toxoids (DT) vaccine

วัคซีนนี้ใช้สำหรับฉีดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคคอตีบและบาดทะยักสำหรับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนถึง 7 ปี วัคซีนผสมของคอตีบและบาดทะยัก วัคซีนกลุ่มนี้มี 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีน DT และวัคซีน dT ซึ่งแตกต่างกันที่ปริมาณของทอกซอยด์คอตีบ โดยทอกซอยด์คอตีบที่ใช้ในเด็กต่ำกว่า 7 ปีจะมีปริมาณสูงถึง 30 Lf (DT) ส่วนวัคซีนที่มีปริมาณทอกซอยด์คอตีบต่ำอยู่ที่ 10 Lf (dT) ใช้สำหรับผู้ใหญ่หรือเด็กที่อายุมากกว่า 7 ปีขึ้นไป

ข้อห้ามใช้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก

  • ผู้ที่แพ้ต่อส่วนผสมของวัคซีนป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก
  • ผู้ที่มีปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อยานี้รุนแรงเช่น ลมพิษ คัน หายใจลำบาก แน่นหน้าอก แพ้แบบ anaphylaxis

ต้องแจ้งแพทย์เรื่องอะไรบ้างก่อนจะฉีดวัคซีน

มีโรคหรือบางภาวะที่จะมีผลต่อการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก ท่านจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง

  • แจ้งให้แพทย์ทราบว่ากำลังรับประทานยา วิตามิน สมุนไพร หรืออาหารเสริม
  • การแพ้ยา หรือสารเคมี
  • กำลังมีไข้ หรือป่วยเป็นโรค
  • ผู้ป่วยกำลังได้รับเคมีบำบัด หรือรังสีรักษา
  • เคยเป็นโรค
  • กำลังได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด( warfarin)

ยาบางชนิดมีผลต่อการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยักได้แก่

  • ยาที่กดภูมิคุ้มกันเช่น ยา steroid (corticosteroids เช่น prednisone),ยารักษามะเร็ง เป็นต้น

การใช้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยักDiphtheria and tetanus toxoids (DT)

  • ก่อนฉีดต้องถามข้อดี ข้อเสียของการฉีดวัคซีน รวมทั้งผลข้างเคียงของวัคซีน
  • วัคซีนนี้จะเริ่มฉีดเมื่อเด็กอายุประมาณ 6 สัปดาห์- 2 เดือน และฉีดให้ครบก่อนอายุ 7 ปี
  • ควรจะฉีดวัคซีนให้ครบ และลงบันทึกในสมุดให้เรียบร้อย
  • หากลืมหรือผิดนัดให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแล

ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย

  • หากมีไข้หรือมีการติดเชื้อควรจะเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไป
  • ตรวจเอกสารว่าได้บันทึกการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว
  • เด็กทุกคนควรจะได้รับการฉีดวัคซีนให้ครบตามกำหนด
  • แจ้งแพทย์หากเด็กได้รับวัคซีนชนิดอื่นๆ
  • วัคซีนนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 7 ปี นอกเหนือจากนี้ยังไม่ได้มีการยืนยันประสิทธิภาพ
  • ระวังในคนท้องและมารดาที่กำลังให้นมบุตร

ผลข้างเคียงของวัคซีนป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยักDiphtheria and tetanus toxoids (DT)

ผลข้างเคียงของวัคซีนที่พบบ่อยได้แก่ เบื่ออาหาร ไข้ต่ำๆ ปวดบวมแดวบริเวณที่ฉีด มีก้อนบริเวณที่ฉีด

หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้แจ้งแพทย์

  • มีอาการแพ้แบบรุนแรง
  • หน้ามืดเป็นลม
  • ชัก
  • ปวดบวมแดงร้อนบริเวณที่ฉีดไม่หาย
  • ต่อน้ำเหลืองโต
  • ชาหรืออ่อนแรงแขนขา

วัคซีนป้องกันบาดทะยักชนิดอื่นๆ

 

 

เพิ่มเพื่อน