โรคบาดทะยักคืออะไร

โรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อที่อยู่ในดิน ในฝุ่น ในปุยชื่อ Clostridium tetani เชื้อนี้จะเข้าร่างกายทางแผลซึ่งอาจจะถูกมีดบาด หรือเข็มหรือตะปูตำเมื่อเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายจะสารสารพิษหรือ toxin ที่เรียกว่า tetanospasmin สารพิษดังกล่าวจะจับกับเส้นประสาท ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็งอยู่ตลอดเวลา

มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อหลัง

มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อกราม

เชื้อนี้มักจะเข้าทางบาดแผล แผลอาจจะเล็กมากจนไม่สัเกต แผลที่ลึก แผลที่มีเนื้อตายมากจะเกิดการติดเชื้อบาดทะยักได้ง่าย นอกจากนี้เชื้อนี้อาจจะเกิดจากการทำแท้ง ฉีดยาเสพติด แผลไฟไหม้ แผลจากแมลงกัด

หลังจากรับเชื้อกี่วันจึงเกิดอาการ

ผู้ป่วยจะเกิดอาการของบาดทะยักหลังจากได้รับเชื้อหรือเกิดแผลแล้ว 2 วันถึง 2 เดือน โดยเฉลี่ยประมาณ 14 วัน

เชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายอย่างไร

  • แผลสดที่มีสิ่งแปลกปลอมค้างเช่น ฝุ่น อุจาระ น้ำลาย
  • แผลที่มีวัถุค้างเช่น ตะปูตำ เข็มตำ หรือกิ่งไม้ตำ หรืออาจจะเกิดจากของมีคมบาด
  • แผลไฟไหม้
  • แผลบดทับทำให้เกิดเนื้อตาย
  • สัตว์กัดเช่น สุนัข แมว ค้างควา หนู
  • แผลเรื้อรังมีเนื้อตายหรือออกซิเจนเข้าไม่ถึงได้แก่ แผลเบาหวาน ฟันผุ หูชั้นกลางอักเสบ
  • เช้าเข้าผ่านทางสายสะดือ
  • ไม่ทราบสาเหตุ

อาการของโรคบาดทะยัก

โรคบาดทะยักมักจะเกิดกับกล้ามเนื้อลายและเส้นประสาท ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่เราสั่งได้ ผู้ป่วยจะเกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบแผล หลังจากนั้น1-7 วันจะเกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ผู้ป่วยจะมีการเกร็งของกล้ามเนื้อกรามทำให้อ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายลำบาก คอและหลังมีการเกร็งทำให้นอนแอ่นหลัง มีอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อช่วยหายใจไม่ทำงานเกิดภาวะหายใจลำบาก และอาจจะเสียชีวิตจากภาวะหายใจวาย อาการที่สำคัญได้แก่ lockjaw ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้จะอ้าปากลำบาก

  • ปวดศีรษะ
  • ปวดกราม
  • กล้ามเนื้อเกร็งทั่วร่างกาย
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • กลืนน้ำลายลำบาก
  • มีการกระตุกของกล้ามเนื้อ
  • ไข้เหงื่ออก
  • ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว

การรักษาโรคบาดทะยัก

ต้องนอนโรงพยาบาล ควรจะอยู่ ICU ห้องที่อยู่ควรจะเงียบ แสงสว่างไม่มาก

  • ยาปฏิชีวนะที่นิยมให้คือ penicillin
  • ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ เนื่องจากโรคนี้มีการเกร็งของกล้ามเนื้อร่างกาย
  • ให้ยา tetanus antitoxin
  • โดยการฉีดวัคซีน Toxoid
  • ทำความสะอาดแผล

ต้องรักษานานแค่ไหน

ถ้าเริ่มรักษาเร็วส่วนใหญ่ใช้เวลา 4-6 สัปดาห์

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

  • กล้ามเนื้อหดเกร็ง กล่องเสียงหดเกร็งทำให้หายใจลำบาก
  • กระดูกหัก
  • การติดเชื้อในโรงพยาบาล
  • เกิดลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ
  • ปอดบวม
  • หายใจลำบาก

การป้องกันโรคบาดทะยัก

  • โดยการฉีดวัคซีน Toxoid ตามกำหนดทุก 10 ปี

การป้องกันเมื่อเกิดแผล

  • ห้ามเลือดบริเวณแผล
  • ให้ทำความสะอาดแผลหากไม่มีน้ำเกลือก็ใช้น้ำประปาไหลผ่านแผลจนสะอาด อาจจะใช้สบู่ฟอก หากมีสิ่งแปลกปลอมให้พบแพทย์
  • ใช้ผ้าgauzeปิดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • เปลี่ยนผ้าพันแผลวันละครั้งหรือเมื่อปนเปื้อนมาก
  • และให้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม