โรคคอตีบ diphtheria


คอตีบ

โรคคอตีบหรือ Diphtheria เป็นโรคติดต่อร้ายแรงเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูก คอ และหลอดลม เชื้อนี้ทำให้เกิดเยื่ออุดหลอดลม เชื้อยังสารสาร Toxin ซึ่งจะทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ

เชื้อที่เป็นสาเหตโรคคอตีบ

เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Corynebacterium diphtheriae


อาการของโรคคอตีบ

อาการของโรคคอตีบมีดังต่อไปนี้

  • น้ำมูกไหล
  • เจ็บคอ
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • มีไข้
  • ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
  • มีเยื่อที่คอ
  • หายใจลำบาก
  • กลืนลำบาก

การติดเชื้อที่ผิวหนัง

เชื้อนี้จะทำให้เกิดแผลที่ผิวหนังทำให้เกิดอาการเจ็บปวด แผลมีการอักเสบ และมีหนองเขียวที่แผล

การติดต่อโรคคอตีบ

โรคคอตีบติดต่อโดยการกิน หรือหายใจเอาน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วยเข้าไป อาการจะเกิดหลังจากได้รับเชื้อ 2- 10วัน ที่สำคัญผู้ป่วยบางคนมีเชื้อนี้แต่มีอาการน้อยซึ่งอาจจะทำให้เชื้อแพร่กระจาย การติดต่อมี 3 ทาง

  • เมื่อผู้ป่วยจามหรือไอเชื้อโรคจะไปกับน้ำลายและเสมหะ คนปกติเมื่อสูดดมเข้าไปก็จะเกิดโรคโดยเฉพาะในที่ระบายอากาศไม่ดี
  • คนปกติได้รับเชื้อจากรับประทานโดยมีการปนเปื้อนน้ำลายหรือเสมหะผู้ป่วย เช่นน้ำดื่ม อาหาร แว่นตา
  • ติดต่อจากเครื่องใช้ในครัวเรือนร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว ของเล่น

กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคคอตีบ

  • ผู้ที่สัมผัสกับคนที่ป่วยเป็นโรคนี้
  • ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่มีภูมิบกพร่อง
  • ผู้ที่อาศัยในพื้นที่สุขอนามัยไม่ดี
  • นักท่องเที่ยวไปยังแหล่งระบาด

การตรวจร่างกาย



ระบบหายใจ

  • ผู้ป่วยจะมีไข้
  • เมื่อตรวจคอจะพบฝ้าขาว ที่คอต่อมทอนซิล
  • ที่คอจะพบต่อมน้ำเหลือที่คอ ใต้หู
  • ฟังปอดอาจจะได้เสียงหลอดลมตีบ stridor

ระบบหัวใจและหลอดเลือด

ทางระบบประสาท

  • อาจจะทำให้เส้นประสาทสมองเป็นอัมพาตเกิดอาการปากเบี้ยว ม่านตาโต ตาเข
  • มีปลายมือปลายเท้าชา
  • มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง

การวินิจฉัยโรคคอตีบ

  • จากประวัติการเจ็บป่วย
  • จากประวัติไปท่องเที่ยวยังแหล่งระบาด
  • ตรวจร่างกายพบแผ่นฝ้าขาวในคอ
  • เพาะเชื้อจากแผ่นฝ้าขาว

การรักษาโรคคอตีบ

เมื่อสงสัยว่าจะเป็นโรคคอตีบจะต้องให้การรักษาโดยที่ไม่รอผลการตรวจ

  • ให้นอนโรงพยาบาล และนอนห้องแยกโรคเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย
  • เฝ้าระวังเรื่องระบบหายใจอย่างใกล้ชิดเนื่องจากอาจจะมีการอุดทางเดินหายใจ
  • เฝ้าระวังระบบไหลเวียนเนื่องจากโรคคอตีบอาจจะทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดหัวใจล้มเหลวหรือความดันโลหิตต่ำ
  • ยาปฏิชีวนะเช่น penicillinหรือ Erythromycin รักษาทั้งผู้ป่วย และผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ระยะเวลารักษา 14 วันเพื่อฆ่าเชื้อโรค
  • ให้ Diphtheria antitoxin ทันทีที่สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้
  • ยาอื่นๆรักษาตามอาการ
  • การผ่าตัดเอาแผ่นฝ้าขาวออกหากมีการอุดหลอดลม
  • รักษาโรคแทรกซ้อน
  • ให้พักผ่อน

การป้องกันโรคคอตีบ

ป้องกันโดยการให้วัคซีนป้องกันคอตีบ

โรคแทรกซ้อนของโรคคอตีบ

  • เยื่อที่แบคทีเรียสร้างอุดหลอดลมทำให้หายใจลำบาก
  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเกิดหัวใจล้มเหลว
  • ไตเสื่อม
  • มีการทำลายระบบประสาท