การรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่1จะมีความดันโลหิตสูง (มากกว่า140/90) ถึงร้อยละ 10-30 หากพบว่าความดันโลหิตสูงจะหมายถึงว่าไตเริ่มเสื่อม

ส่วนเบาหวานชนิดที่2 จะพบว่าความดันโลหิตสูงประมาณร้อยละ 30-50 การเกิดโรคความดันสูงขึ้นกับระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน ความอ้วน เชื้อชาติ อายุ เพศ โรคไตเสื่อม และการควบคุมเบาหวาน

โรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เจ็บหน้าอก โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ โรคไต โรคความดันโลหิตสูงจะทำให้อัตราตายจากโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น การทำงานของไตเสื่อมเร็วขึ้น 2-3 เท่า การเสื่อมของประสาทตาเพิ่มมากขึ้นดังนั้นจะเห็นได้ว่าการคุมความดันโลหิตสูงให้ดี จะสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวานและความดันได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต โรคจอประสาทตาเสื่อม


ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง

หลักฐานว่าความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน

  • พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จะมีอัตราโรคแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือด เป็นสองเท่าของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่เป็นเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูงจะมีโรคแทรกซ้อนเช่น ตา ไต สมองเพิ่มขึ้น
  • พบว่าความดันโลหิตทุก 10 มม ปรอทที่ลดลงจะชลออัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนลงได้ร้อยละ 12 ลดอัตราการเสียชีวิตลงร้อยละ 15 ลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ร้อยละ 11 และลดการเกิดโรคไตได้ร้อยละ13

ผู้ป่วยโรคเบาหวานหากพบว่ามีความดันโลหิตสูงต้องทำอะไรบ้าง

  • ผู้ป่วยเบาหวานที่วัดความดันโลหิตแล้วพบว่าเกิน 140/90 มิลิเมตรปรอท จะต้องวัดความดันซ้ำภายในสามสิบวันเพื่อยืนยันว่าเป็นความดันโลหิตสูง หากวัดเองที่บ้านจะถือว่าความดันโลหิตมากกว่า 130/85 มิลิเมตรปรอทจะถือว่าเป็นความดันโลหิตสูง
  • ควรจะวัดความดันที่บ้านด้วย
  • ควรจะวัดความดันโลหิตท่านอนและท่ายืนในการวินิจฉัยความดันโลหิตสูงครั้งแรก และควรจะวัดทุกครั้งที่มีอาการหน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่า

เมื่อพบว่าความดันโลหิตสูงจะต้องทำอย่างไรบ้าง

  1. สำหรับผู้ที่วัดความดันโลหิตด้วยตัวเองความดันโลหิตที่สูงกว่า 130/85 มม.ปรอทจะถือว่าความดันโลหิตสูง จะต้องวัดความดันโลหิตให้ถูกวิธี ตรวจวัดความดันโลหิตทั้งสองแขน ท่านอน ท่านั่ง และท่ายืน วัดท่าละสองครั้งหรือมากกว่า ควรจะพักห้านาที ให้วันความดัน 1-3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน1นาทีแล้วใช้ค่าเฉลี่ย สำหรับผู้ที่ใช้เครื่องวัดความดันวัดเองที่บ้านจะต้องวัดสามถึงห้าครั้งห่างกัน1-2 นาทีแล้วใช้ค่าเฉลี่ย โดยปกติค่าความดันโลหิตที่วัดได้จะต่ำกว่าค่าความดันโลหิตที่วัดโดยแพทย์ประมาณ 5-10 มิลิเมตรปรอท
  2. เมื่อพบว่ามีความดันโลหิตสูงจะต้องตรวจดูว่ามีโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง เช่นทางหัวใจและหลอดเลือด ไต ต้องตรวจจอประสาทตา ชีพขจรที่คอที่ขา ตรวจปัสสาวะเพื่อหาปริมาณโปรตีน ตรวจเลือดหาการทำงานของไต
  3. ตรวจหาความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่นประวัติการสูบบุหรี่ ไขมันในเลือด โรคอ้วน ตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเพื่อวัดระดับดัชนีมวลกาย
  4. ปัจจัยที่จะทำให้เปลี่ยนแปลงการรักษา เช่น ระบบประสาทอัตตโนมัติเสื่อม การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

เป้าหมายระดับความดันโลหิต

  • เป้าหมายระดับความดันโลหิตให้ปรับตามสภาพผู้ป่วยขึ้นกับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และผลข้างเคียงของยา
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานและมีความดันโลหิตสูง และมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง (โอการสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าร้อยละ15ในเวลา10ปี) ระดับความดันโลหิตไม่เกิน 130/80 มิลิเมตรปรอท
  • ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำ (โอการสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อยกว่าร้อยละ15ในเวลา10ปี) ระดับความดันโลหิตไม่เกิน 140/90 มิลิเมตรปรอท
  • ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงหากตั้งครรภ์จะคุมความดันโลหิตไม่เกิน 130/85 มิลิเมตรปรอท

การรักษาความดันโลหิตอาจจะใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเดียวหรือร่วมกับยาลดความดันโลหิต

การแบ่งระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง

Category

systolic

diastolic

Optimal

<120

<80

Normal

<130

<85

High-normal

130-139

85-89

Grade 1 hypertension [mild]

140-159

90-99

Subgroup:borderline

140-149

90-94

Grade 2 hypertension [moderate]

160-179

100-109

Grade 3 hypertension[severe]

>180

>110

Isolated systolic hypertension

>140

<90

subgroup:borderline

140-149

<90

การรักษาความดันโลหิตโดยไม่ต้องใช้ยา

  • ผู้ที่มีความดันโลหิตมากกว่า 120/80 มม ปรอทจะต้องให้การดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ลดเกลือโซเดี่ยม เพิ่มเกลือโปแตสเซี่ยม ลดการดื่มสุรา และให้ออกกำลังกาย
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มม ปรอท จะให้ให้การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเริ่มต้นให้ยาลดความดันโลหิต
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตมากกว่า160/100 มิลิเมตรปรอทควรจะได้รับยาลดความดันโลหิตสองชนิด
  • ยาลดความดันโลหิตควรจะใช้ยาในกลุ่ม (ACE inhibitors, angiotensin receptor blockers, thiazide-like diuretics, or dihydropyridine calcium channel blockers
  • สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีไข่ขาวในปัสสาวะ albumin-to-creatinine ratio ≥300 mg/g creatinine หรือ 30–299 mg/g creatinine ควรจะใช้ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACE inhibitor หรือ angiotensin receptor blocker
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประกอบไปด้วย
  • ยาลดความดันโลหิตได้แก่ ACE Inhibitor หรือ Angiotensin receptor blocker ตัวใดตัวหนึ่ง
  • อาจจะจำเป็นต้องให้ยามากกว่า 2 ชนิดเพื่อควบคุมความดันโลหิต
  • ควรจะให้ยา 1-2 ชนิดก่อนนอน
  • หากให้ยา ACE Inhibitor หรือ Angiotensin receptor blocker และยาขับปัสสาวะจะต้องติดตามการทำงานของไต และเกลือโพแทสเซี่ยม
  • งดบุหรี่ อ่านที่นี่

การควบคุมดังกล่าวใช้เวลา 3 เดือนจะลดลงได้ 11/8 มม.ปรอท

โรคแทรกซ้อนหัวใจและหลอดเลือด | ความดันโลหิตสูง | การใช้ยารักษาความดันโลหิตสูง

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน  

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

โรคแทรกซ้อน | ภาวะฉุกเฉิน | โรคหัวใจ | โรคความดันโลหิตสูง โรคไต  โรคตา  โรคปลายประสาทอักเสบ โรคเบาหวานกับเท้า