โรคเบาหวานกับโรคตา
โรคเบาหวานสามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางตาได้ แม้ว่าการมองเห็นจะปกติ ความผิดปกติสามารถทำให้เกิดตอกระจกตา ต้อหินและทำลายเส้นเลือดในตา ดังนั้นการตรวจตาเป็นประจำจะช่วยให้การวินิจฉัย และการรักษาเร็วขึ้น หากท่านผู้อ่านที่เป็นเบาหวาน มีปัญหาเกี่ยวกับการอ่านหนังสือตามัวลง เห็นดวงไฟเป็นดวงเห็นเป็นจุดดำ ควรจะปรึกษาแพทย์ถ้าหากมีอาการเหล่านี้
โครงสร้างตา
ประกอบไปด้วย
- กล้ามเนื้อตามีหน้าที่ดึงลูกตาให้เคลื่อนไหว
- กระจกตา(cornea) เป็นส่วนใสที่อยู่ส่วนหน้าของลูกตา เป็นทางให้แสงเข้า
- ม่านตา(Iris)มีหน้าที่ปิดเปิดม่านตา
- เลนซ์[Lens]ทำให้ที่โฟกัสแสงที่ผ่านเข้ามาตกที่จอตา
- น้ำวุ้นใส[vitreous]อยู่หลังเลนซ์กับจอตา
- จอตา[retina]ทำหน้าที่รับ และส่งสิ่งที่เห็นไปยังเส้นประสาทตา
- มาคูลาบริเวณเล็กๆบนจอตาเป็นจุดที่มองชัดที่สุด
- เส้นประสาท (optic nerve)รับสัญญาณจากจอรับภาพ เพื่อส่งไปยังสมอง
โรคเบาหวานทำให้เกิดโรคที่ตาได้อย่างไร
โรคเบาหวานทำให้เกิดโรคที่จอรับภาพ น้ำตาลในเลือดที่สูง ร่วมกับความดันที่สูง จะทำลายหลอดเลือดจอรับภาพ เริ่มแรกหลอดเลือดแดงจะบวมทำให้เลือดไปเลี้ยงจอรับภาพไม่พอช่วงนี้ยังมองเห็นปกติหากไม่ควบคุมเบาหวานให้ดีพอ หลอดเลือดจะถูกทำลายมากขึ้น และมีการสร้างหลอดเลือดขึ้นใหม่และมีน้ำเหลืองไหลออกจากหลอดเลือด ระยะนี้ของโรคคุณอาจจะเห็นเส้นเล็กรอยไป และอาจจะเห็นแสงแสว่างแปล๊บๆ อาจจะเกิดตาบอดเฉียบพลันได้เนื่องจากมีการลอกของจอรับภาพออกจากเส้นประสาทตา
กลไกที่ทำให้เกิดการมองเห็นที่ผิดปกติคือ
- เกิดจากเลือดไปเลี้ยงจอรับภาพไม่พอโดยเฉพาะส่วน macular
- เกิดจากการที่มีหลอดเลือดใหม่ที่จอรับภาพทำให้จอรับภาพมีพังผืด จอรับภาพอาจจะหลุดจากเส้นประสาททำให้ตาบอด
- เส้นที่ใหม่แตกทำให้มีเลือดออกในตา
แสดงภาพจอรับภาพคนปกติและคนที่เป็นโรคเบาหวาน | |
![]() จอรับภาพของคนปกติ |
![]() จอรับภาพของผู้ป่วยเบาหวาน |
ใครที่เสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนทางตา
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานทุกคนจะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน ยิ่งเป็นนานยิ่งเกิดโรคแทรกซ้อนได้มาก
แนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรคแทรกซ้อนทางตา
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เมื่อเริ่มเป็น 3-5 ปีมักจะไม่มีปัญหาโรคแทรกซ้อนทางตาแต่เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไปผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีความผิดปกติที่จอรับภาพ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่ามีความผิดปกติที่จอรับภาพร้อยละ 21 เมื่อได้รับการวินิจฉัย
- ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่งให้ตรวจตาหลังจากเป็นเบาหวาน3-5 ปี หรือผู้ป่วยเบาหวานชนิด 1 ที่อายุมากกว่า 10 ปี
- ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองให้ตรวจตาหลังจากวินิจฉัยได้
- ให้ตรวจตาทุกปีถ้าปกติ ถ้าผิดปกติให้ตรวจถี่ขึ้น
- ผู้ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์หรือมีแผนจะตั้งครรภ์ต้องตรวจตาอย่างสม่ำเสมอ ควรตรวจทุก 3 เดือน แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาขณะตั้งครรภ์ไม่จำเป็นต้องตรวจเนื่องจากกลุ่มนี้มีโรคแทรกซ้อนทางตาน้อย
- ผู้ป่วยเบาหวานที่เริ่มโตเป็นหนุ่มสาว
- ผู้ป่วยที่เป็น severe proliferative ,macular edema ,proliferate retinopathy ควรปรึกษาจักษุแพทย์ให้ดูแลรักษา
ผู้ป่วยควรควรพบจักษุแพทย์หากมีอาการเหล่านี้
การมองเห็นของคนปกติและคนที่เป็นโรคเบาหวาน |
|
การมองเห็นของคนปกติ |
การมองเห็นของคนเป็นเบาหวาน |
- ตามัวลง1-2วันโดยที่ตามัวไม่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด
- ตาบอดเฉียบพลัน
- เป็นจุดดำ เห็นแสงไฟแลบ หรือเห็นเป็นใยแมลงมุม
- ปวดตา
- มองเห็นได้เพียงด้านหนึ่งของตา
- อ่านหนังสือลำบาก
- เห็นภาพซ้อน
การรักษาและการป้องกัน
- รักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงคนปกติ
- ควบคุมความดันให้ต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท
- หยุดสูบบุหรี่
- ตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง
- ปรึกษาแพทย์ถ้าหากจะออกกำลังกาย
โรคแทรกซ้อนทางตา |
โรคแทรกซ้อนทางตา
โรคแทรกซ้อนทางตา | โรคเบาหวานขึ้นจอรับภาพ | เบาหวานขึ้นตา | การดูแล | การป้องกัน
โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน
โรคแทรกซ้อน | ภาวะฉุกเฉิน | โรคหัวใจ | โรคความดันโลหิตสูง| โรคไต |โรคตา |โรคปลายประสาทอักเสบ |โรคเบาหวานกับเท้า