ตะคริว

อาการตะคริวเป็นอาการที่กล้ามเนื้อมีการหดตัวอย่างรุนแรง ทำให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยมากเป็นตะคริวไม่เกิน 10นาที มักจะเกิดกับกล้ามเนื้อขา เป็นอาการที่พบได้บ่อยๆ ส่วนใหญ่จะเกิดขณะ หรือ หลังการออกกำลังกาย บางคนเกิดขณะว่ายน้ำ หรือ บางคนเกิดขณะนอน ตะคริวเป็นการที่กล้ามเนื้อ มีการเกร็งทำให้เกิดอาการปวด มักจะเป็นชั่วครู่ก็หาย แต่บางคนก็อาจจะปวดนานหรือเป็นซ้ำๆ กล้ามเนื้อที่มักจะเกิดตะคริวได้แก่กล้ามเนื้อน่อง ต้นขา แต่อาจจะเกิดกับกล้ามเนื้ออื่นๆก็ได้|

สาเหตุของการเกิดตะคริว | ก่อนไปหาแพทย์ท่านต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง | ยาที่ทำให้เกิดตะคริว | การดูแลเรื่องตะคริว | การป้องกันตะคริว | การใช้ยารักษาตะคริว


ตะคริว

สาเหตุของการเกิดตะคริวได้แก่

  1. การขาดน้ำ จากการศึกษาพบว่า การขาดน้ำจะทำให้เกิดตะคริวและเป็นรุนแรง
  2. ภาวะเกลือแร่ไม่สมดุลโดยเฉพาะ sodium และ potassium ภาวะที่ทำให้เกลือแร่เสียสมดุลได้แก่ ท้องร่วง อาเจียน เสียเหงื่อ หรือรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล
  3. กล้ามเนื้ออ่อนร้าหรือได้รับบาดเจ็บ เพื่อป้องกันการได้รับบาดเจ็บ
  4. แร่ธาตุเสียสมดุลโดยเฉพาะเกลือแคลเซียม แมกนีเซียม อาหารที่แร่ธาตุสองตัวไม่สมดุลจะทำให้เกิดตะคริว
  5. กล้ามเนื้อขาดการยืดหยุ่น กล้ามเนื้อที่ตึงจะเกิดตะคริวได้บ่อย
  6. กล้ามเนื้อที่อ่อนแรงหากต้องทำงานหนักจะเกิดตะคริวได้บ่อย
  7. กล้ามเนื้อขาดเลือด หากท่านออกกกำลังกายอย่างหนักโดยที่ไม่ได้ warm up จะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่พอจะเกิดตะคริว

กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดตะคริว

  • กลุ่มผู้สูงอายุ
  • คนตั้งครรภ์
  • เด็กอายุมากกว่า 12 ปี ช่วงสูงสุดที่เกิด 16-18 ปี
  • มีโรคประจำตัว เช่นไตวาย ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย
  • นักกีฬาในสภาพที่มีอากาศร้อน

ก่อนไปหาแพทย์ท่านต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้า



  • อาการตะคริวเกิดที่ไหน เกิดเมื่อไร เกิดบ่อยแค่ไหน
  • เป็นแต่ละครั้งนานแค่ไหน
  • ประวัติโรคประจำตัว
  • รับประทานยาเหล่านี้บ้างหรือไม่  diuretics, salbutamol, nifedipine.
  • ประวัติการดื่มสุรา
  • ประวัติการออกกำลังกาย

กล้ามเนื้อที่มักจะเกิดตะคริวได้แก่กล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อต้นขา และกล้ามเนื้อของนิ้วเท้า มักจะเกิดข้างใดข้างหนึ่ง ตะคริวที่เกิดขณะพักมักจะเกิดในเวลากลางคืน อาการตะคริวมักจะเป็นไม่กี่นาที แต่อาจจะปวดได้ถึง 1 วัน


ชนิดของตะคริว

ตะคริวที่เกิดจาก Paraphysiological cramps

เป็นตะคริวที่เกิดเมื่อมีสิ่งที่มากระตุ้นซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการออกกำลังกาย

  • มักจะเกิดจากการออกกำลังที่ไม่คุ้นเคย หรือออกกำลังมากเกินไป
  • เชื่อว่าเกิดจากความไม่สมดุลของน้ำและเกลือแร่ของกล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานมานาน
  • เชื่อว่าเกิดจากเกลือแมกนีเซี่ยมและเกลือแร่อื่นๆที่ต่ำ
  • มักเกิดในคนท้อง สาเหตุไม่ทราบ
  • ในคนปกติที่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นระยะเวลานาน

ตะคริวที่เกิดจากโรคประจำตัว Symptomatic cramps




ยาที่ทำให้เกิดตะคริว

  • ยาขยายหลอดลม Salbutamol และ terbutaline
  • Raloxifene
  • ยาขับปัสสาวะทำให้ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่
  • ยาลดความดันโลหิต Nifedipine
  • ยา Phenothiazines
  • ยา Penicillamine
  • ยา Nicotinic acid
  • ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม Statins

การดูแลเรื่องตะคริว

โดยทั่วไปอาการตะคริวมักจะไม่รุนแรง และหายได้เอง การรักษาแบ่งเป็นชนิดไม่ต้องใช้ยา และใช้ยา

การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา

1การยืดกล้ามเนื้อ

ขณะที่ปวดกล้ามเนื้อจะหดตัวทำให้เกิดอาการปวดมาก การแก้ไขเบื้องต้นจะต้องทำการยืดกล้ามเนื้อ ซึ่งต้องยืดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว

กล้ามเนื้อน่อง

เมื่อมีอาการตะคิวให้ยืดกล้ามเนื้อน่องซึ่งอาจจะยืดด้วยตัวเอง หรือให้คนอื่นช่วยยืดก็ได้ ท่าที่ใช้ยืดกล้ามเนื้อดังข้างล่าง

ยืดกล้ามเนื้อน่อง

ยืดกล้ามเนื้อน่อง

นั่งเหยียดเท้าที่เป็นตะคริวไปข้างหน้า หรืออาจจะเหยียดทั้งสองเท้าก็ได้ ใช้มือจับที่ปลายเท้า หรืออาจจะใช้เข็มขัดรั้งที่ปลายเท้าก็ได้ เหยียดจนหายตะคริว หากมีตะคริวบ่อยให้ยืดเส้นครั้งละ 5 นาทีวันละ 3 ครั้ง และก่อนนอน

กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าหรือ Quadricep stretch

จะยืดกล้ามเนื้อท่ายืนหรือท่านอนก็ได้ ยืดจนหายปวดแล้วจึงหยุดการยืด

กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง Hamstrings stretch

จะทำท่านอนหรือนั่งก็ได้ ในกรณีที่อยู่คนเดียวให้นอน แล้วใช้มือประคองต้นขาด้านหลัง ดึงเข้าหาหน้าอก หรืออาจะใช้คนช่วยดังรูป หรือจะทำท่านั่งก็ได้โดยนั่งเก้าอี้ เท้าที่เป็นเหยีดตรง กระดกปลายเท้ามาที่เข่า เกร็งไว้จนหายเป็นตะคริว

2นวดกล้ามเนื้อ

เมื่อกล้ามเนื้อหายเกร็งแล้วให้นวดกล้ามเนื้อ อาจจะทายานวด หากไม่มีก็นวดกล้ามเนื้อให้กล้ามเนื้อคลายตัว

3ให้อาบน้ำอุ่นหรือประคบอุ่น

4ให้เดินไปมาเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว


การป้องกันตะคริว

  1. ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ อาจจะดื่มน้ำธรรมดาหรือน้ำแร่ก็ได้
  2. ปรับกล้ามเนื้อโดยการบริหารให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีความยืดหยุ่นสูงจะป้องกันตะคริว
  3. รับประทานอาหารที่มีเกลือแรโปแทสเซียมสูง เช่นกล้วย ผลไม้ผัก
  4. การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อและร่างกายแข็งแรง
  5. ก่อนออกกำลังกายให้ warm up ทุกครั้ง
  6. ให้ยืดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว กล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง
  7. อาหารป้องกันตะคริว

การใช้ยารักษาตะคริว

  • Quinine sulphate เป็นยาที่ใช้การแพร่หลายในการรักษาตะคริวที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ และรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล แต่เนื่องจากยานี้มีผลข้างเคียงจึงไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในการรักษาตะคริว

    • ให้ขนาดยา 200–300 mg เป็นเวลา 4–6สัปดาห์
    • หากมีความจำเป็นต้องให้ยานี้รักษาเป็นเวลานานจะต้องมีการประเมินทุก 3-6 เดือน
  • ยาอื่นที่นำมาใช้ได้คือ  verapamil  และ  gabapentin 
  • ไม่ควรให้ quinine ในคนท้อง

อาหารป้องกันตะคริว

อาหารที่มีโพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม และแมกนีเซียม และน้ำจะช่วยป้องกันอาการตะคริว อาหารป้องกันตะคริว

การออกกำลัง | เมื่อไร่ต้องปรึกษาแพทย์ | ตะคริว | คำนิยาม | ออกกำลังแค่ไหนถึงพอ | ออกกำลังอย่างปลอดภัย | วิธีออกกำลัง | การประเมินการออกกำลัง | จะออกกำลังนานแค่ไหน | การอุ่นร่างกาย | ทำไมต้องออกกำลัง | การดื่มน้ำก่อนออกกำลังกาย | ออกกำลังกายมากไป | อาหารป้องกันตะคริว

เพิ่มเพื่อน