การบริหารกล้ามเนื้อ

การออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

การออกกำลังกายเพื่อเสริมกำลังของกล้ามเนื้อ หรือการบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง นอกจากกล้ามเนื้อจะแข็งแรงแล้ว ยังป้องกันโรคเรื้อรัง เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเมื่อสูงวัยสูงอายุจะป้องกันการหกล้มได้ด้วย

ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

การบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยการใช้เครื่องมือเพื่อให้เราออกแรงต้านเรียก resistance trainning โดยใช้น้ำหนักประมาณ 3-4 กิโลกรัม บริหารกล้ามเนื้อ 8-10 แบบ เช่นกล้ามเนื้อแขน หัวไหล่ หน้าอก ขา เป็นต้น

การบริหารอวัยวะแต่ละส่วนให้ทำ 10-15 ครั้ง ทำสัปดาห์ละ 2 วัน โรคที่ได้ประโยชน์ สำหรับการออกกำลังเพื่อเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อคือ

ประโยชน์ของการเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อ

  • ลดอาการปวดของโรคข้ออักเสบ จากการทดลองให้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม บริหารโดยการเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อเป็นเวลา 16 สัปดาห์พบว่า จะลดอาการเจ็บปวดได้ร้อยละ 43 กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น สุขภาพโดยรวมดีขึ้น นอกจากนั้นยังให้ผลดีกับโรคข้อหลายๆโรคเช่น rheumatoid
  • ลดการหักของกระดูก คนสูงอายุเมื่อหกล้มจะเกิดการหักของกระดูกได้ง่าย การบริหารโดยการเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อจะลดการหักของกระดูก เนื่องจากกล้ามเนื้อมีแรงเพิ่มขึ้น การยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อดีขึ้น การทรงตัวดีขึ้นซึ่งทำให้หกล้มลดลง จากการทดลองที่ประเทศนิวซีแลนด์พบว่าลดการหักของกระดูกลงได้ร้อยละ 40
  • เพิ่มความหนาแน่นของกระดูก หญิงวัยทองจะมีโรคกระดูกพรุนซึ่งหักไ้ง่าย การบริหารร่างกายเพิ่มเพิ่มกำลังจะลดอัตราการหักของกระดูก
  • ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก กล้ามเนื้อเป็นแหล่งที่ใช้พลังงานมาก การบริหารจะทำให้กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้นซึ่งจะเพิ่มอัตราการใช้พลังงาน ซึ่งทำให้คุมน้ำหนักได้ดีขึ้น
  • ช่วยในการควบคุมน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่ออกกำลังกายโดยการเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อจะทำให้ควบคุมน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้นเมื่อเทียบการใช้ยา
  • การออกกำลังกายชนิดนี้จะช่วยลดอาการเครียดเนื่องจากสุขภาพทางกายที่ดีขึ้น และการออกกำลังกายเชื่อว่าจะมีการสารสารเคมีบางชนิดมนสมองซึ่งจะลดความเครียด
  • นอนหลับได้ดีขึ้น
  • ทำให้หัวใจทำงานดีขึ้น

สำหรับท่านที่มีโรคประจำตัวเช่นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย