โรคเบาหวานและอาหาร

อาหารแลกเปลี่ยนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

รายการอาหารแลกเปลี่ยนจัดแบ่งอาหารเป็น 6 หมวด

อาหารแต่ละชนิดในหมวดเดียวกัน จะมีคุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกัน สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ในหมวดเดียวกัน เช่นหากคุณไม่ชอบข้าวคุณสามารถเปลี่ยนข้าวเป็นก๋วยเตี๋ยว ช่วยให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้หลากหลาย

  • หมวด ก.ให้พลังงานต่ำรับประทานไม่จำกัด ผักบุ้ง ใบตั้งโอ มะเขือชนิดต่างๆ ผักคะน้า ใบขื่นช่าย มะเขือเทศสีดา ผักกวางตุ้ง แตงกวา แตงร้าน ผักกาดขาว ฟักเขียว เห็ดฟาง ผักกาดหอม บวบ ผักตำลึง ผักโขม น้ำเต้า ยอดฟักทอง สายบัว ผักชี แตงโมอ่อน ใบกระเพรา ใบโหระพา พริกหนุ่ม ต้นหอม คูน ขิงอ่อน ใบสาระแหน่ หยวกกล้วยอ่อน
  • หมวด ข. ให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนักอาหาร 100 กรัมหรือผักสดหนึ่งถ้วยตวง ผักสุขครึ่งถ้วยตวง ได้แก่ผักกะเฉด บวบ ผักบุ้ง ดอกกุ๋ยช่าย เห็ดเป๋าฮื้อ มะเขือเทศ ผักโขม ใบชะพลู ดอกมะขาม แครอท ใบขี้เหล็ก มะระ แขนงกะหล่ำ ต้นกระเทียม รากบัว ขิงแก่ ใบยอ ถั่วพลู ฟักทอง หอมหัวใหญ่ แห้ว ต้นกระเทียม มะละกอดิบ กะหล่ำปม ปล็อกเคอรี่ สะเดา หน่อไม้ เห็ดหูหนู ผักหว่าน ใบชะมวง ยอดแค มันแกว พริกหยวก ผักคะน้า ผักป่วยเล้ง ถั่วงอก กะหล่ำปลี ยอดชะอม ถั่วฝักยาว สะตอ ดอกโสน พริกหวาน มะรุม หัวผักกาด ใบกระเทียมจีน ยอดมะขามอ่อน ข้าวโพดอ่อน ใบมะขามอ่อน ยอดกระถิน ยอดและใบตำลึง
  1. หมวดผลไม้ ผลไม้ 1 ส่วนให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม ได้แก่
    • กล้วยน้ำว้า 1 ผล
    • กล้วยไข่ 1 ผล
    • กล้วยหอม ครึ่งผล
    • กล้วยหักมุก ครึ่งผล
    • ขนุน 2 ยวง
    • แคนตาลูป 15 คำ
    • เงาะ 6 ผล
    • ชมพู่ 4 ผล
    • เชอรี่ 12 ผล
    • แตงโม 10-12 คำ
    • แตงไทย 10 คำ
    • ทุเรียน 1 เม็ดกลาง
    • น้ำองุ่น 3/4ถ้วยตวง
    • น้ำส้ม ครึ่งถ้วยตวง
    • น้ำสับปะรด ครึ่งถ้วยตวง
    • ทุเรียน 1 เม็ดกลาง
    • น้อยหน่า ครึ่งผล
    • ฝรั่ง 1 ผลเล็ก
    • พลับสด 2 ผล
    • แพร์ 1 ผล
    • พุทรา 4 ผล
    • มะขามหวาน 2 ฝัก
    • มะพร้าวอ่อน ครึ่งถ้วยตวง
    • มะม่วงดิบ ครึ่งผล
    • มะม่วงสุก 6 ชิ้น
    • มะละกอ 8 คำ
    • มังคุด 4 ผล
    • ลองกอง 8-10 ผล
    • น้ำพรุน หนึ่งในสามถ้วยตวง
    • น้ำผลไม้รวม หนึ่งในสามถ้วยตวง
    • ละมุด 2 ผล
    • ลางสาด 7 ผล
    • ลำไย 6 ผล
    • ลิ้นจี่
    • ลูกตาลสด 6 ลอน
    • สตรอเบอรี 13 ผล
    • สาลี 1ผลเล็ก
    • สับปะรด 9 คำ
    • ส้มเขียวหวาน 1 ผล
    • ส้มจีน 5 ผล
    • ส้มโอ 2 กลีบ
    • แอบเปิ้ล 1 ผล
    • องุ่น 15 ผล
    • พรุน 3 ผล
    • ลูกเกด 2 ชต.
    • น้ำแอบเปิ้ล ครึ่งถ้วยตวง

    ผลไม้ที่ควรจะหลีกเลี่ยง ผลไม้เชื่อม ผลไม้กวน ผลไม้ดอง ผลไม้บรรจุกระป๋อง ผลไม้สดที่มีเครื่องจิ้ม เช่นมะม่วงน้ำปลาหวาน ผลไม้จิ้มน้ำตาลพริกเกลือ

    4. หมวดข้าว และแป้ง อาหารหนึ่งส่วนให้พลังงาน80 แคลอรีโปรตีน 3 กรัม ไขมัน 1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 15 กรัม

  • ข้าวกล้อง 1 ทัพพี
  • ข้าวซ้อมมือ 1 ทัพพี
  • ข้าวสวย 1 ทัพพี
  • ข้าวเหนียวนึ่ง 3 ชต
  • ก๋วยเตี๋ยวสุข 1/2 ถ้วยตวง
  • มักกะโรนี,สปาเกตตี้,2/3 ถ้วยตวง
  • ขนมปังกรอบจืด 3 แผ่นสี่เหลี่ยม
  • มันฝรั่งสุก 1/2 ถ้วยตวง
  • ข้าวโพดต้ม 1/2ฝัก
  • ฟักทอง 3/4 ถต.
  • ขนมปังโฮลวีท 1 แผ่น
  • วุ้นเส้นสุก 2/3 ถ้วยตวง
  • ข้าวต้ม 2 ทัพพี
  • ขนมจีน 1 1/2 จับ
  • บะหมี่ 1 ก้อน
  • ขนมปังปอนด์ 1 แผ่น
  • มันเทศหรือเผือก 1/2 ถ้วยตวง
  • มันเทศหรือเผือก 1/2 ถ้วยตวง
  • มันแกว 2 ถ้วยตวง
  • ลูกเดือยสุก 1/2 ถต.
  • ซีเรียล 1/2 ถต.
  1. หมวดเนื้อสัตว์ แบ่งเป็นเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และเนื้อสัตว์ติดมันซึ่งให้พลังงานต่างกัน
  • เนื้อสัตว์ไขมันต่ำมาก 1 ส่วน เนื้อสุก 2 ชต.ให้โปรตีน 7 กรัม ไขมัน 1 กรัม พลังงาน 35 กิโลแคลอรีไม่ติดมัน 1 ส่วนให้พลังงาน 55 กิโลแคลอรี
    • เลือดหมู 6 ชตเลือดไก่ 3 ชต
    • ปลาแห้ง 2 ชต.
    • เนื้อปลา 2 ชต.
    • ลูกชิ้นปลา 5 ลูก
    • ปลาหมึกแห้ง 1 ชต.
    • ปลาหมึก 2 ชต.
    • เนื้อปู 2 ชต
    • กุ้งขนาดกลาง 4-6 ตัว
    • กุ้งฝอย 6 ชต.
    • กุ้งแห้ง 2 ชต.
    • หอยแครง 10 ตัว
    • กุ้งขนาดกลาง 4-6 ตัว
    • กุ้งฝอย 6 ชต.
    • กุ้งแห้ง 2 ชต.
    • หอยแครง 10 ตัว
    • หอยลาย 10 ตัว
    • ปลาทูน่ากระป๋อง(นำเกลือ) 1/4 ถ้วยตวง
    • ไข่ขาว 2 ฟอง
    • ถั่วเมล็ดสุก 1/2 ถัวยตวง
    • หอยลาย 10 ตัว
    • ปลาทูน่ากระป๋อง(นำเกลือ) 1/4 ถ้วยตวง
    • ไข่ขาว 2 ฟอง ถั่วเมล็ดสุก 1/2 ถัวยตวง

  • เนื้อสัตว์มีไขมันต่ำ 1 ส่วนเท่ากับเนื้อสุก 2 ช้อนโต๊ะให้โปรตีน 7 กรัม ไขมัน 3 กรัม พลังงาน 55 กิโลแคลอรี
    • เนื้ออกไก่ 2 ชต
    • เนื้อห่านไม่ติดหนังมัน 2 ชต.
    • ลูกชิ้นไก่ หมู 5-6 ลูก
    • ปลาซัลมอน 2 ชต.
    • ปลาทูน่า(ในน้ำมัน) 2 ชต
    • ปลาจาระเม็ดขาว 2 ชต.
    • หอยนางรม 6 ตัวกลาง
    • เนื้อเป็ดไม่ติดหนังมัน 2 ชต
    • หมูเนื้อแดง 2 ชต.
    • เนื้อสะโพก น่อง 2 ชต.
    • เครื่องในสัตว์ 2 ชต.
    • ปลาซาร์ดีน 2 ตัวกลาง
    • ปลาหมอ 2 ชต.
    • แฮม 1 ชิ้น
  • เนื้อสัตว์มีไขมันปานกลาง 1 ส่วนคือเนื้อสุก 2 ช้อนโต๊ะ ให้โปรตีน 7 กรัม ไขมัน 5 กรัม พลังงาน 75 กิโลแคลอรี
    • เนื้อบดไม่ติดมัน 2 ชต
    • หมูติดมัน 2 ชต.
    • ไก่ทอดมีหนัง 2 ชต.
    • เนื้อเป็ดติดหนัง 2 ชต.
    • แคบหมูไม่ติดมัน 1/2 ถต.
    • เนื้อปลาทอด 2 ชต.
    • นมถั่วเหลือง 1 ถต.
    • เต้าหู้อ่อน 3/4 หลอด
    • ซี่โครงหมูติดมัน 2 ชต.
    • หมูย่าง 2 ชต.
    • เนื้อไก่ติดหนัง 2 ชต
    • เป็ดย่างไม่มีหนัง 2 ชต
    • ตับเป็ด 2 ชต.
    • เขยแข็ง 1 แผ่น
    • ไข่ 1 ฟอง
    • เต้าหู้เหลือง 1/2 แผ่น
  • เนื้อสัตว์ไขมันสูง 1 ส่วน ให้โปรตีน 8 กรัม ไขมัน 8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12 กรัม พลังงาน 150 กิโลแคลอรี

    • ซี่โครงหมูติดมัน 2 ชต.
    • หมูปนมัน 2 ชต.
    • ไส้กรอกอิสาน 1 แท่ง
    • หมูยอ 2 ชต.
    • หมูบดปนมัน 2 ชต.
    • กุนเชียง 2 ชต.
    • ไส้กรอกหมู 1 แท่ง
    • คอหมู 2 ชต.
    • เบคอน 3 ชิ้น

สีแดงหมายถึงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง สีม่วงหมายถึงอาหารที่มีเกลือสูง

  1. ไขมันหรือน้ำมัน 1 ส่วน ให้ไขมัน 5 กรัมพลังงาน 45 กิโลแคลอรีแบ่งออกเป็น
  • ไขมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง Saturated fat ได้แก่ น้ำมันหมู,ไก่ 1 ชช. เนยสด 1 ชช. เบคอนทอด 1 ชิ้น กะทิ 1 ชต. ครีมนมสด 2 ชต.

  • ไขมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง Polyunsaturated fatได้แก่น้ำมันพืช (ถั่วเหลือง รำข้าว ข้าวโพด) 1ชช. เนยเทียม 1 ชช มายองเนส 1 ชช น้ำสลัด 1 ชต. เมล็ดดอกทานตะวัน 1 ชต.

  • ไขมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว Monounsaturated fat ได้แก่ น้ำมันถั่วลิสง,น้ำมันมะกอก 1 ชช. มะกอก 8-10 ผล ถั่วอัลมอน,เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ 6 เมล็ด ถั่วลิสง 10 เมล็ด เนยถั่ว 2 ชช งา 1 ชต

ไขมันซึ่งไม่ควรรับประทาน ได้แก่ไขมันชนิดอิ่มตัวสูง ซึ่งทำให้มีการเพิ่มของคอเลสเตอรอลได้แก่ กะทิ น้ำมันปาลม์ ไขมันสัตว์ น้ำมันมะพร้าว

แนวทางการรับประทานอาหาร

การคำนวณปริมาณพลังงาน ปริมาณอาหารที่รับประทานได้ในแต่ละวัน ตารางหมวดอาหารแลกเปลี่ยน ดัชนีน้ำตาล แนวทางการรับประทานอาหาร

การควบคุมอาหาร

การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง