โรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด STEMI.


โรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด STEMI ที่สำคัญได้แก่

หัวใจวาย CHF

กล้ามเนื้อหัวใจที่เสียหายไม่สามารถบีบตัวได้อย่างเพียงพอทำให้เกิด โรคหัวใจวาย โดยมีข้อเท็จจริงดังนี้

  • หัวใจวายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด STEMI. ในขณะอยู่ในโรงพยาบาล
  • หัวใจวายจะมากหรือน้อยขึ้นกับพื้นที่ของหัวใจที่ได้รับความเสียหายจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • การประเมินความรุนแรงของหัวใจวายจะประเมินแบบ Killip class
    • Class I: ไม่มีอาการ และตรวจไม่พบหลักฐานว่ามีหัวใจวาย
    • Class II:หัวใจวายปานกลางตรวจร่างกายจะพบว่า หายใจเร็ว ชีพขจรเต้นเร็ว ตับโต หลอดเลือดคอโป่งพอง มีน้ำที่ชายปอด
    • Class III: ผู้ป่วยจะหายใจหอบหัวใจเต้นเร็วมีน้ำท่วมปอด
    • Class IV:เกิดภาวะ shock โดยมีความดัน systolic < 90 mmHg มีการหดเกร็งของหลอดเลือดส่วนปลายโดยมีอาการมือเท้าเย็น เหงื่ออก มีสีม่วง ซึม ปัสสาวะออกน้อย

การรักษาหัวใจวาย

หัวใจโต

  • เมื่ออยู่ในโรงพยาบาลแพทย์จะให้ออกซิเจน นอนพักบนเตียง งดอาหารเค็ม ให้นอนหัวสูง
  • ยาที่ใช้รักษาได้แ
    • ยาขยายหลอดเลือดกลุ่ม Nitratesข้อควรระวังเรื่องความดันโลหิตต่ำ
    • ยาขับปัสสาวะกลุ่ม Loop diuretics เพื่อขับน้ำและเกลือแร่ส่วนเกินออกไป ต้องระวังความดันโลหิตต่ำ และความสมดุลของเกลือแร่ อ่านเรื่องยาขับปัสสาวะ
    • ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACE inhibitors
    • สำหรับยา digoxin ได้ผลไม่ชัดเจน



ภาวะช็อคเนื่องจากหัวใจ Cardiogenic shock

ภาวะช็อคเนื่องจากหัวใจหมายถึงหัวใจไม่สามารถบีบตัวเพื่อเพิ่มความดันโลหิต systolic ให้มากกว่า 90 mmHg

  • พบอุบัติการณืร้อยละ 7 สำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดนี้
  • ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีหลอดเลือดหัวใจตีบหลายเส้น
  • พบภาวะช็อคจากหัวใจได้ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยเมื่อมาถึงโรงพยาบาล ส่วนที่เหลือเกิดขึ้นขณะนอนโรงพยาบาล
  • อัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 60%.
  • การรักษาจะต้องทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจทันทีซึ่งการใส่สายสวนหัวใจ การผ่าตัดน่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด การให้ยาละลายลิ่มเลือด เป็นทางเลือกหากไม่สามารถรักษาสองแบบข้างต้น

ภาวะช็อคจากขาดน้ำ Hypovolemia

  • สาเหตุของการขาดน้ำได้แก่
    • การใช้ยาขับปัสสาวะก่อนป่วยด้วยโรคนี้
    • ดื่มน้ำไม่เพียงพอในขณะป่วยด้วยโรคนี้
    • มีอาการอาเจียนจากโรค และจากยาที่รับประทาน
  • หากร่างกายขาดน้ำจะทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่พอ จำเป็นต้องแก้ภาวะขาดน้ำนี้ก่อนที่จะให้การรักษาอย่างอื่น การประเมินว่าร่างกายได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอเป็นเรื่องยาก อาจจะจำเป็นต้องใส่สายเข้าหัวใจผ่านทางหลอดเลือดดำเพื่อวัดปริมาณน้ำของร่างกาย เพราะหากให้มากไปจะเกิดภาวะน้ำท่วมปอด หากให้น้อยเกิดความดันโลหิตต่ำ

หัวใจเต้นผิดปรกติ Arrhythmias

สาเหตุของหัวใจเต้นผิดปรกติได้แก่

  • การเสียสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ
  • เกลือแร่ในร่างกายเสียสมดุล Electrolyte disturbances
  • กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • ระบบการนำไฟฟ้าของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปรกติ

ผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายในไม่กี่ชั่วโมงจากภาวะหัวใจเต้นผิดปรกติ การรักษาที่รวดเร็วโดยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมจะช่วยชีวิตผู้ป่วย ชนิดของการเต้นผิดปรกติที่พบได้แก่

หัวใจผิดปรกติ Primary ventricular fibrillation (VF)

ภาวะนี้เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดโดยไม่มีปัจจัยชักนำเช่นหัวใจวาย หรือ ventricular aneurysm ภาวะนี้มักจะเกิดภายใน 48 ชั่วโมง แม้ว่าอัตราการเสียชิตในโรงพยาบาลจะสูง แต่หากรักษาได้ทันพบว่าผู้ป่วยจะมีอัตราการรอดชีวิตสูงในระยะยาว

หัวใจเต้นผิดปรกติ ventricular fibrillation เนื่องจากหัวใจวาย

  • มักจะเกิดในโรงพยาบาลหลังจากนอนโรงพยาบาลไปแล้ว 48 ชั่วโมง พบว่าอัตราการเสียชีวิตสูงทั้งขณะอยู่ในโรงพยาบาลและระยะยาว
  • การป้องกันการเสียชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

หัวใจเต้นผิดปรกติ Accelerated idioventricular rhythm (AIVR)

  • ภาวะนี้จะเกิดขึ้นขณะที่เลือดได้ไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดหลังจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือการใส่สายสวนหัวใจ
  • ภาวะนี้จะเกิดชั่วคราว และไม่ชักนำให้เกิดการเต้นของหัวใจที่อันตราย
  • ให้ติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดโดยไม่จำเป็นต้องให้ยา

ภาวะ AV block

เป็นภาวะที่กระแสไฟฟ้าไม่สามารถส่งผ่านจากหัวใจห้องบนมายังห้องล่างโดยมีการกั้นที่ตรงตำแหน่งเชื่อมต่อระหว่างหัวใจห้องบน และห้องล่าง อัตราการเสียชีวิตจะขึ้นกับหลอดเลือดที่อุดตัน หากการอุดตันเกิดที่หลอดเลือด anterior coronary จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่า inferior coronary artery ทั้งนี้เนื่องจากจะสัมพันธ์กับพื้นที่เสียหายจากการขาดเลือด

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ Pericarditis

ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักจะเกิดในผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อหัวใจเสียหายทุกชั้น transmural STEMI จะมีอาการเจ็บกล้ามเนื้อ trapezius muscle ซึ่งอยู่ด้านหลัง ซึ่งจะแตกต่างจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซึ่งมักจะเจ็บด้านหน้า การรักษาภาวะนี้ใช้เพียงยาแก้ปวด aspirin วันละ 3-4 ครั้งบรรเทาอาการปวด หากเกิดโรคแทรกซ้อนนี้การให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน

ลิ่มเลือดในหัวใจThromboembolism

ผู้ป่วยที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและมีหัวใจวายจะพบว่าประมาณร้อยละ10 จะเกิดอาการของลิ่มเลือด แต่จากการตรวจศพผู้เสียชีวิตจะพบลิ่มเลือดร้อยละ 20 ของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 25 ของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ควรจะให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดประมาณ 3-6 เดือนในราย

  • ที่ตรวจพบลิ่มเลือดในหัวใจ หรือ
  • พื้นที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นบริเวณใหญ่

ผนังหัวใจโป่งพอง Ventricular aneurysm

  • เป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดหลังจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ไปแล้วเป็นเวลาสัปดาห์หรือเดือน
  • เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ตายอ่อนแรง แรงดันเลือดจึงทำให้กล้ามเนื้อนี้โป่งพองออก มักจะเกิดบริเวณปลายของหัวใจ
  • โรคแทรกซ้อนของผนังหัวใจโป่งพองคือการเกิดลิ่มเลือด และหัวใจเต้นผิดปรกติ การวินิจฉัยจะทำคลื่นเสียงความถี่สูง
  • การรักษาหากมีลิ่มเลือดจะต้องให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และหากมีอาการหัวใจวายจะต้องผ่าตัดส่วนที่โป่งพองทิ้ง

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซ้ำ Recurrent angina

  • ผู้ที่ป่วยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะมีโอกาศเป็นซ้ำได้ร้อยละประมาณ 25 มักจะเกิดภายในสองสัปดาห์หลังจากเกิดอาการครั้งแรก
  • ตำแหน่งที่เป็นอาจจะเป็นตำแหน่งเดิมที่เคยรักษา หรือเป็นตำแหน่งใหม่
  • ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรจะได้รับการฉีดสีเพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษา

ลิ้วหัวใจรั่วเฉียบพลัน Mitral regurgitation

ผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีโอกาศที่จะเกิดลิ้นหัวใจรั่วเฉียบพลัน มักจะเกิดในวันแรก ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยเฉียบพลัน มีน้ำท่วมปอด หัวใจวายและความดันโลหิตต่ำ การวินิจฉัยให้ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง การรักษาต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การรักษากล้ามเนื้อหัวใจตาย STEMI การป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตาย STEMI