การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด STEMI

การวินิจฉัยโรคจะอาศัย ประวัติการเจ็บป่วย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผลเลือด เนื่องจากโรคนี้จะต้องให้การรักษาโดยรีบด่วนดังนั้น ตัวผู้ป่วย ญาติ จะต้องรู้จักโรคนี้และนำส่งโรงพยาบาลทันทีที่เกิดสงสัย

ประวัติการเจ็บป่วย

ประวัติการเจ็บป่วยที่สำคัญได้แก่

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก/แน่นหน้าอก ที่มีอาการเหมือนโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดควรจะได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทันที หากอาการของผู้ป่วยเหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดควรจะตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอีกครั้ง แม้ว่าครั้งแรกยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ



การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ผู้ป่วยบางรายมาโรงพยาบาลเร็วผลเลือดที่ตรวจครั้งแรกอาจจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในกรณีที่จะประเมินความรุนแรงควรจะเจาะซ้ำอีกครั้งหลังจากเจาะครั้งแรก 6-8 ชั่วโมง สำหรับในรายที่ผลเลือดไม่เปลี่ยนแปลงแต่ยังสงสัยว่าจะเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดให้เจาะซ้ำ 6-8 ชั่วโมง และ 12-24 ชั่วโมงหลังจากเจาะครั้งแรก เลือดที่เจาะมีดังนี้

Troponin T,I

ค่าที่ได้มีความจำเพาะกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่อาจจะพบพบได้ในผู้ป่วยที่หัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หัวใจเต้นผิดปรกติแต่ค่าจะไม่สูงเท่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ค่าผลเลือดจะสูงอยู่นาน 7-10 วัน อ่าน Troponin T ที่นี่

MB isoenzyme of creatine kinase (CK)

  • ค่านี้จะขึ้นใน 4-8 ชั่วโมงสูงสุดใน 24 ชั่วโมง และกลับสู่ปรกติใน 48-72 ชั่วโมง
  • หากมีการรักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือการสวนหัวใจค่านี้จะสูงสุดในเวลา 8 ชั่วโมง และกลับสู่ค่าปรกติใน 48 ชั่วโมง
  • ค่านี้อาจจะสูงได้ในภาวะอื่น เช่น การผ่าตัดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  • อัตราส่วนของ CK-MB mass to CK activity ≥ 2.5 ก็ให้สงสัยว่าจะเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

Myoglobin

ค่าผลเลือดนี้จะเป็นตัวแรกที่ขึ้น และลดลงสู่ปรกติใน 24 ชั่วโมง แต่ค่านี้ไม่จำเพาะสำหรับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การตรวจพิเศษ

การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง 2-dimensional echocardiography (อ่านคลื่นเสียงความถี่สูงที่นี่)

  • จะตรวจพบว่าผนังของหัวใจบีบตัวน้อยหรือไม่บีบตัว
  • ข้อเสียคือแยกไม่ได้ว่าผนังที่บีบตัวน้อยเป็นของที่เกดใหม่หรือเป็นโรคที่เป็นอยู่เก่า
  • ประเมินการทำบีบตัวของหัวใจ ejection fraction
  • นอกจากนั้นยังตรวจหาว่ากล้ามเนื้อหัวใจห้องขวาขาดเลือด หรือโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

Doppler echocardiography

  • เป็นการตรวจว่าผนัง หรือลิ้นหัวใจรั่วหรือไม่

Myocardial perfusion imaging (201thallium or 99mtechnetium sestamibi)

เป็นการตรวจว่ากล้ามเนื้อหัวใจมีเลือดไปเลี้ยงหรือไม่ แต่ไม่สามารถแยกว่าเกิดใหม่หรือเป็นโรคเก่า

Cardiac magnetic resonance imaging

เป็นการตรวจบริเวณที่กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด

การตรวจพิเศษโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

อาการและการตรวจร่างกาย การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน