การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography)

 

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ เป็นการตรวจที่มีมานานและมีประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัยโรค ปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปมากสามารถสร้างภาพหัวใจแบบสามมิติ และยังใช้ความเร็วของกระแสเลือดมาวัดการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ

หลักของการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ

คลื่นเสียงที่มีความถี่เกินกว่า 20000 รอบต่อวินาทีเป็นความถี่ที่เราไม่ได้ยิน คลื่นความถี่ 2-3 ล้านรอบจะเดินทางเป็นเส้นตรงมีการหักเหน้อย และมีการสะท้อนเหมือนคลื่นแสง เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับผิววัตถุก็จะสะท้อนกลับ และมีคลื่นบางส่วนทะลุไป การเคลื่อนที่ของเสียงในเนื้อเยื่อเดียวกันจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากัน ทำให้เราสามารถบอกความหน้าของกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนั้นเคลื่องมือยังสามารถติดตามการทำงานของหัวใจแบบ real time ปลายเครื่องจากมีสารผลึก Piezo-electric crystal ซึ่งจะหดและขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็นตัวทำให้เกิดคลื่น และรับคลื่นเสียงด้วย คลื่นเสียงที่สะท้อนกลับจะแปลงเป็นไฟฟ้าเพื่อไปสร้างภาพ

เมื่อไรแพทย์จึงจะสั่งตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง Chocardiography

แพทย์จะสั่งการตรวจเมื่อสงสัยว่าจะเป็นโรคหัวใจโดยมีภาวะต่อดังต่อไปนี้

  1. เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายแล้วพบว่ามีเสียงหัวใจผิดปกติซึ่งอาจจะเกิดจากลิ้นหัวใจตีบหรือมีรูรั่ว ( Murmurs ) เสี่ยงที่ผิดปกติเกิดจากการไหลวนของกระแสเลือดไหลผ่านลิ้นที่ตีบหรือรูรั่วที่ผนังหัวใจหรือลิ้นหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีรูรั่วหรือลิ้นตีบจะมีประโยชน์หลายประการดังนี้
  • เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากการตีบหรือรั่วที่ไหน
  • เพื่อตรวจหาความผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียน
  • เพื่อตรวจความผิดปกติอื่นที่อาจจะพบร่วมกัน
  • เพื่อตรวจผลเสียที่เกิดจากการรั่วหรือตีบ
  • ประเมินขนาดของรูรั่วหรือตีบ
  • ประเมินการทำงานของหัวใจ
  • ประเมินการทำงานหรือรูรั่วไว้เพื่อเปรียบเทียบ
  • ประเมินผู้ป่วยหลังการรักษา

 

แพทย์จะสั่งตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงแก่ผู้ป่วยที่มีเสียงหัวใจผิดปกติทุกคนหรือไม่

แม้ว่าการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงจะมีความปลอดภัยและไม่เจ็บปวด แต่แพทย์ก็ไม่ได้ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงทุกรายจะเลือกในรายที่มีลักษณะดังนี้

  1. มีเสียงหัวใจผิดปกติร่วมกับอาการของโรคปอดหรือหัวใจ
  2. ผู้ป่วยไม่มีอาการและมีเสียงหัวใจผิดปกติและสงสัยว่าเกิดจากความผิดปกติทางโครงสร้างของหัวใจ

ภาวะหรือโรคที่ทำให้เกิดเสียงฟู่(Murmurs) ได้แก่

  • ลิ้นหัวใจตีบ stenosis
  • ลิ้วหัวใจรั่ว Regurgitation
  • ลิ้นหัวใจหย่อน Mitral valve Prolapse
  • ลิ้นหัวใจอักเสบ Infective Endocarditis
  • ลิ้นหัวใจเทียม Prosthetic Valves
  • ผนังหัวใจรั่ว
  1. เมื่อคุณมีอาการเจ็บหน้าอก

แม้ว่าอาการเจ็บหน้าอกจะเป็นอาการที่สำคัญของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือเส้นเลือดแดงไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ แต่อาการเจ็บหน้าอกก็อาจจะเกิดจากโรคหัวใจชนิดอื่น เช่น กล้ามเนื้อหัวใจหนา hypertrophic
cardiomyopathy, ลิ้นหัวใจตีบ valvular aortic stenosis,หลอดเลือดแดงใหญ่แตก aortic dissection,
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ pericarditis, ลิ้นหัวใจหย่อน MVP, and ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดในปอด acute pulmonary embolism,ดังนั้นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงจะมีประโยชน์เพื่อแยกอาการเจ็บหน้าอกว่ามาจากหัวใจหรือจากที่อื่น

ข้อบ่งชี้ในการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเมื่อผู้ป่วยเจ็บหน้าอก

  • เพื่อตรวจดูว่ามีโรคหัวใจอยู่หรือไม่ เช่นลิ้นหัวใจตีบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเป็นต้น
  • เมื่อผู้ป่วยเจ็บหน้าอก และการตรวจวินิจฉัยอย่างอื่นไม่ช่วยในการวินิจฉัย การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในขณะเจ็บหน้าอกหรือหลังเจ็บหน้าอกไม่กี่นาทีจะช่วยวินิจฉัยโรค
  • เมื่อสงสัยว่าหลอดเลือดแดงใหญ่จะแตก aortic dissection
  • เมื่อผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก และให้การรักษาอย่างอื่นแล้วไม่ดีขึ้น
  1. กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดร่วมกับการตรวจ Doppler จะช่วยในการวินิจฉัยได้มาก เราแบ่งโรคหัวใจขาดเลือดออกเป็น

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อ่านที่นี่

การใช้ Echo ตรวจโรคหัวใจอะไรบ้าง

วิธีการตรวจมีกี่วิธี

การตรวจหัวใจ