Heart attack หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน|


กลุ่มอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด | สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด | อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

Heart attack หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด บางทีชาวบ้านเรียกโรคลมปัจจุบัน หรือผู้ที่เสียชีวิตไม่ทราบสาเหตุ ความหมายของ heart attack หมายถึงภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด Coronary ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจทำให้เกิดกลุ่มอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

กลุ่มอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด(Acute Coronary Syndrome )

ผู้ที่เป็นโรคโคโรนารี coronary disease จะมาโรงพยาบาลด้วย กลุ่มที่เรียกว่า Acute Coronary Syndrome หรือ Heart attack เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เฉียบพลัน อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่สำคัญที่นำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลได้แก่อาการเจ็บหน้าอก อาการและอาการแสดงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีได้หลายลักษณะได้แก่

  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อออกกำลังกาย เรียก Stable angina
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกแบบ Unstable angina
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดMyocardial infarctionซึ่งมีสองลักษณะได้แก่
    • กล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด non-ST elevation myocardial infarction (NSTEMI)
    • กล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด acute ST-elevation myocardial infarction (STEMI)
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใขาดเลือดโดยที่ไม่มีอาการเรียก Silent ischemia
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มาด้วยเรื่องหัวใจวาย Congestive heart failure
  • กลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตเฉียบพลัน Sudden cardiac death

กลุ่มผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด เป็นกลุ่มที่มีรุนแรงที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นหน้าอกเฉียบพลัน หายใจเหนื่อย หน้ามืดเป็นลม และจะต้องรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการเนื่องจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือการทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจฟื้นคืนได้

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้แก่

  • เกิดการฉีดขาดของคราบไขมัน และเกิดลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดโคโรนารีทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด (STEMI)
  • เกิดจากคราบไขมันหนาขึ้นจนเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ NSTEMI

กลุ่มอาการที่เจ็บหน้าอกเป็นอาการของโรคโคโรนารี coronary disease อาการเจ็บหน้าอกจะมีลักษณะเฉพาะ

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

อาการที่พบบ่อยของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

  • อาการแน่หน้าอก ตรงกลางหน้าอก เจ็บมากขึ้น พักหรืออมยาขยายหลอดเลือดจะไม่หายปวด
  • จุกเสียดบริเวณลิมปี่ แขซ้าย หรือคอและกรามด้านซ้าย
  • หายใจเหนื่อยหอบ อาจจะมีหรือไม่มีแน่หน้าอก
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • หน้าซีดเหงื่อออก
  • เวียนศีรษะหน้ามืด

อาการเจ็บหน้าอกจะมีสองลักษณะคือ

  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อออกกำลังกาย เรียก Stable angina อาการเจ็บหน้าอกจะสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย พักหรืออมยาก็หายปวด การดูแลทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการปรับยา
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกแบบ Unstable anginaอาการเจ็บหน้าอกจะเจ็บนานและรุนแรงกว่าแบบแรก หากไม่รักษาอาจจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายจากขาดเลือด

กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใขาดเลือดโดยที่ไม่มีอาการเรียก Silent ischemia ผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือโคโรนารีแต่ไม่มีอาการเตือนเรื่องแน่นหน้าอก ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีโรคแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตสูง

โรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบ

หัวใจของเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ และมีเส้นเลือดชื่อ Coronary artery นำเอาเลือดและออกซิเจนมาสู่หัวใจ หากมีลิ่มเลือดมาอุดเส้นเลือด จะทำให้หัวใจขาดเลือด และออกซิเจนซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย

โรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือที่เรียกว่า Coronary artery disease เป็นโรคหัวใจที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นของประเทศที่เจริญแล้ว และประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย

เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ

เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีเส้นใหญ่ 2 เส้นคือ

  1. Rigrt coronary artery
  2. Left main coronary artery ซึ่งจะแตกออกเป็นสองแขนงได้แก่
  • Left anterior ascending
  • circumflex artery

Acute Coronary Syndrome เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เฉียบพลัน แต่เดิมนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 3กลุ่มใหญ่คือ

กลไกการเกิดโรค

ชนิดของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

กล้ามเนื้อหัวใจตายจากหลอดเลือดตีบ

ไขมันอุดหลอดเลือดแดง

ภาพแสดงผนังหลอดเลือดที่มีคราบไขมันเกาะทำให้รู้หลอดเลือดแคบลง

การที่คนเกิดปัจจัยเสี่ยงหลายๆอย่างจะทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดตีบเร็วขึ้น

การควบคุมปัจจัยเสี่ยงควรจะเริ่มทำเมื่อไร

คนทั่วไปจะเคยชินกับวิถีชีวิตไม่คำนึงถึงผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย ผู้ที่สูบบุหรี่ก็พยายามหาคำตอบเพื่อให้เขาเหล่านั้นไม่ต้องปรับพฤติกรรม แต่หากเวลาผ่านไปคราบไขมันมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกระทั่งเกิดอาการก็จะทำให้การรักษาลำบากยิ่งขึ้น

มีการศึกษาเด็กที่เสียชีวิตจากอุบัติเหต พบว่าเริ่มมีคราบไขมันเกาะตามผนังหลดเลือดตั้งแต่เด็ก แสดงว่ากระบวนการของการเกิดโรคหลอดเลือดตีบเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็ก และจากสถิติพบว่าแต่ละประเทศมีเด็กอ้วนในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมๆกับการที่เด็กมีเวลาออกกำลังกายลดลง และรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ

ดังนั้นเราควรจะรณรงค์เรื่องอาหาร การออกกำลังในเด็ก และโรคอ้วนในเด็กเพื่อที่อนาคตโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะได้ลดลง

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบ

ปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด

  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะพบมากในผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนักมากกว่าที่เคยออก พบว่าจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น6 เท่าสำหรับผู้ที่ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และเพิ่มขึ้น 30 เท่าในผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
  • ความเครียดทางอารมณ์
  • โรคติดเชื้อ เช่นปอดบวม
  • ช่วงเช้าประมาณ 9 เชื่อว่าช่วงนี้เกล็ดเลือดจะเกาะกันง่าย

การป้องกัน

หากท่านเป็นโรคหัวใจจะทำให้คุณภาพชีวิตลดลงดังนั้นท่านควรจะป้องกันมิให้เป็นโรคหัวใจ วิธีการง่ายดังนี้

การรักษา

  • การรักษาเพื่อป้องกันหลอดเลือดตีบ อ่านที่นี่
  • การรักษาโดยยา
    • ยาลดไขมันยาที่ใช้ได้แก่ Statin,fibrate,niacine เป็นยาที่ลดระดับไขมันเลือด
    • Aspirin เป็นยาที่ป้องกันเกล็ดเลือดมาเกาะที่ผนังหลอดเลือดเพื่อป้องกันหลอดเลือดแข็ง
    • ยากลุ่ม Beta block ยาในกลุ่มนี้จะลดการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจจะลดอัตราการเสียชีวิต
    • Nitroglycerine ยานี้จะขยายหลอดเลือดหัวใจช่วยลดอาการเจ็บหน้าอก
    • ยาต้านแคลเซียม Calcium channel blocking agent ยานี้จะขยายหลอดเลือดหัวใจ
    • กลุ่มยา ต่างๆที่ช่วยรักษา เช่น ยาต้านอนุมูลอิสระ โฟลิกเป็นต้น
  • การผ่าตัดเพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงได้แก่
    • การทำบอลลูนการทำบอลลลูนหลอดเลือด เมื่อเกิดอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ หากเป็นมากหรือรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล แพทย์จะฉีดสีเพื่อตรวจว่าหลอดเลือดตีบมากน้อยแค่ไหน หากตีบมากหรือตีบเส้นใหญ่แพทย์จะทำบอลลูน โดยการใช้มีดกรีดเป็นแผลเล็กๆ แล้วสอดสายเข้าหลอดเลือดแดง และแยงสายเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ เมื่อถึงตำแหน่งที่ตีบก็บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ
    • การผ่าตัด bypass โดยการใช้เส้นเลือดดำที่เท้าแทนเส้นเลือดหัวใจที่ตีบ
    • Anthrectomy คือการผ่าตัดเอาคราบไขมันที่ผนังหลอดเลือดออก

ข่าวเกี่ยวกับโรคหัวใจ

  • การรับประทานแคลเซียมอาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น อ่านที่นี่
  • การรับประทานยาแก้ปวดจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกดโรคหัวใจ อ่านที่นี่