การดูแลกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดก่อนกลับบ้าน
การประเมินความเสี่ยงหลังจากกล้ามเนื้อหัวใจตายจากเหตุขาดเลือด
ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายจากเหตุขาดเลือดควรจะได้รับการประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซ้ำ และประโยชน์ของการประเมินนี้เพื่อที่จะวางแผนการรักษา หรือป้องกันโรค วิธีการประเมินมีได้หลายวิธีดังนี้
การประเมินโดยการวิ่งสายพาน
การประเมินโดยการวิ่งสายพานนี้จะกระทำหลังจากป่วยโดยจะทำก่อนที่จะให้ผู้ป่วยกลับบ้าน และนัดมาตรวจซ้ำเมื่อ 4-6 สัปดาห์หลังจากกลับบ้าน ความหนักของการวิ่งจะน้อยกว่าคนปกติ การตรวจนี้มีวัตถุประสงค์คือ
- เมื่อตรวจว่ากล้ามเนื้อหัวใจยังมีส่วนที่ยังขาดเลือดอีกหรือไม่
- เพื่อเป็นแนวทางในการแนะนำการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วย
- เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วย
การตรวจการทำงานของหัวใจ
การตรวจการทำงานของหัวใจจะตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อประเมินการบีบตัวของหัวใจที่เรียกว่า Ejection fraction เพื่อที่จะวางแผนในการให้ยา ACE inhibitors
การให้ความรู้ผู้ป่วยก่อนที่จะกลับบ้าน
ความรู้ที่ผู้ป่วยจะต้องรู้ได้แก่
- ปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยที่จะต้องแก้ไข
- วิธีแก้ไขปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย
- อาการหรืออาการแสดงที่บ่งบอกว่ามีอาการแย่ลงและต้องเข้าโรงพยาบาล
- ยาและผลข้างเคียงของยา
- การปฏิบัติตัวทั้งผู้ที่ป่วยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และผู้ที่ได้รับการฉีดสีหรือทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ
การใส่สายสวนฉีดสี/ขยายหลอดเลือดจะทำให้ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ดังนี้
- มีอาการเจ็บหน้าอกง่ายหลังจากออกกำลัง
- ยังพบกล้ามเนื้อที่ขาดเลือด และการทำงานของหัวใจลดลง
- หัวใจเต้นผิดปกติเมื่อมีการออกกำลังกาย
การฟื้นฟูสภาพหลังจากกล้ามเนื้อตาย
- ให้เริ่มทำตั้งแต่อยู่โรงพยาบาล โดยการเพิ่มกิจกรรมครั้งละน้อยๆ
- ต้องอธิบายผลดี ผลเสียของการฟื้นฟูสภาพ
การป้องกัน | จะมีโอกาศเป็นซ้ำอีกไหม |
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว