โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ Gestational diabetes
เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีผลอย่างไรกับทารก และมารดาผู้ที่ตรวจพบว่าเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์จะทำให้เกิดผลเสีย หรือความเสี่ยงดังนี้
- ผู้ที่ตั้งครรภ์จะมีโอกาสเกิดโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าจะคลอดไปแล้ว
- เด็กที่อยู่ในครรภ์อาจจะมีความผิดปกติ
- มีโรคแทรกซ้อนกับเด็กในขณะคลอดหรือในระยะต่อมา
อินซูลินที่มีมากในมารดาไม่สามารถผ่านรกไปสู่ทารกได้ แต่น้ำตาลและสารอาหารจำนวนจากผ่านจากแม่ไปสู่ทารกทำให้ตับอ่อนของทารก ต้องสร้างอินซูลินเพื่อลดระดับน้ำตาล ผลคือทารกจะอ้วน [macrosomia] ซึ่งอาจทำให้เด็กคลอดยาก และอาจมีบาดเจ็บต่อไหล่ หลังคลอดอาจเกิดภาวะน้ำตาลต่ำเนื่องจากอินซูลินในเลือดสูง เด็กบางรายอาจมีปัญหาระบบหายใจ เด็กกลุ่มนี้โตขึ้นจะมีแนวโน้มเป็นเบาหวาน สำหรับมารดาก็เกิดความดันโลหิตสูงได้ง่ายโรคแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดได้แก่
![]() |
---|
- เด็กพิการแต่กำเนิดเช่น หัวใจสมองไตพบได้น้อยมากในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เนื่องจากอวัยวะเด็กจะเริ่มสร้างเมื่ออายุครรภ์ 13 สัปดาห์แต่โรคเบาหวานมักจะเกิดหลัง12 สัปดาห์แล้ว
- เด็กตัวโตดังกล่าวข้องต้น
- เด็กที่เกิดมามีโอกาสเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำได้ง่าย
- เกิดครรภ์เป็นพิษได้สูงกว่าคนทั่วไปซึ่งคนท้องจะมีความดันโลหิตสูง ถ้าสูงมากคุณแม่อาจจะชักได้
- น้ำคร่ำมากไปทำให้คุณแม่อึกอัด
- ทางเดินปัสสาวะอักเสบซึ่งอาจจะลุกลามไปไตได้
- เด็กเกิดมาหายใจหอบเนื่องจากปอดเด็กยังทำงานไม่ได้เต็มที่
- แท้ง
- คลอดก่อนกำหนด
- เป็นโรคแทรกซ้อนทางตาเนื่องจากเบาหวานได้มาก
การเฝ้าติดตามผลน้ำตาลและสุขภาพเด็ก
- ควรเจาะน้ำตาลในเลือดเพื่อปรับขนาดยา สำหรับผู้ที่รักษาเบาหวานโดยการฉีดอินซูลินควรจะเจาะน้ำตาลหลังอาหารดีกว่าน้ำตาลก่อนอาหาร
- ไม่แนะนำให้ตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะเนื่องจากไม่เพียงพอ
- ควรจะตรวจความดันโลหิตและปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะเพื่อเฝ้าติดตามเรื่องความดันโลหิต
- ตรวจทารกโดยใช่คลื่นเสียงความถี่สูงเมื่อเด็กอายุ 6-7เดือน
การติดตามโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ควรเจาะน้ำตาลตรวจหาระดับน้ำตาลทุกวันซึ่งจะให้ผลดีกว่าการเจาะเลือดนานๆครั้ง
- ไม่ควรใช้วิธีการตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะในการปรับยา แต่ควรตรวจหา คีโตนในปัสสาวะเพื่อดูว่าพลังงานที่ได้เพียงพอหรือไม่
- เมื่อแม่มาตรวจควรวัดความดันโลหิต และตรวจไข่ขาวในปัสสาวะ
หลังจากคลอดแล้วจะเป็นเบาหวานจะหายหรือไม่
หลังคลอดบุตรเบาหวานจะหายไป หากตั้งครรภ์อีกโอกาสจะเป็นเบาหวาน 2/3 หลังคลอด 6 สัปดาห์ควรเจาะหาระดับน้ำตาล ถ้าปกติให้เจาะเลือดทุก 3 ปี เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีโอกาสเป็นเบาหวานชนิดที่สอง ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต
- ลดน้ำหนัก ซึงจะป้องเบาหวานชนิดที่สองได้
- รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ เพิ่มผัก ผลไม้ ลดอาหารไขมันโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว
- การออกกำลังกาย ซึ่งป้องกัน insulin resistant
โรคเบาหวานและสุภาพสตรี
โรคเบาหวานกับการตั้งครรภ์ | การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ | โรคเบาหวานกับคุณสุภาพสตรี | การตรวจวินิจฉัยเบาหวานขณะตั้งครรภ์| การเตรียมตัวตั้งครรภ์
หลักการรักษา
การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง