โปรตีน Albumin ในเลือด
การตรวจหา Protein ในเลือดจะเป็นการตรวจหา albumin และ globulin ในเลือด
- albumin เป็นโปรตีนที่สร้างจากตับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำเหลืองของเลือด ระดับ albumin เป็นเป็นการบ่งบอกความสมดุลของการสร้างที่ตับและการขับ albumin ออกทางไตพบว่า albumin จะเป็นสัดส่วนได้ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ของ Total protein ที่ผลิตจากตับ albumin ทำหน้าที่สร้างความเข้มข้นขึ้นในหลอดเลือดจะได้เกิดความดันออสโมติค (osmotic pressure) ป้องกันสารอาหารมิให้รั่วซึมออกมาภายนอกหลอดเลือด นอกจากนี้ อัลบูมินยังมีบทบาทที่สำคัญ ได้แก่ การทำหน้าที่เป็นพาหนะขนส่งฮอร์โมน เอนไซม์ แร่ธาตุ หรือแม้แต่ยารักษาโรค
- Globulin เป็นโปรตีนที่สำคัญของ Total protein อีกตัวหนึ่ง คือ globulin บางส่วนสร้างจากตับ นับเป็นโปรตีนส่วนน้อยจำนวนหนึ่ง และล่องลอยอยู่ในพลาสมาหรือในกระแสเลือดเช่นเดียวกับอัลบูมิน Globulin มีบทบาทหลายหน้าที่ จึงต้องแยกประเภทด้วยการใส่นามอักษรกรีกนำหน้า คือ
- alfa globulin
- beta globulin
- gamma globulin
เฉพาะ gamma globulin นั้นมีบทบาททางด้านภูมิคุ้มกันโรค (immune) ทำให้โปรตีนตัวนี้ได้ถูกตั้งชื่อ
ให้ใหม่เป็น "immunoglobulin" อ่านเรื่องglobulin
วิธีการตรวจ
ไม่ต้องงดอาหาร เจ้าหน้าที่จะเจาะเลือดดำ
เหตุผลในการส่งตรวจ
- เพื่อประเมินการทำงานของตับ เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่สร้าง albumin
- เนื่องจากไตทำหน้าที่กรองหากการกรองมีปัญหาซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของโรคไตเมื่อตรวจเลือดจะพบว่า albumin ในเลือดจะต่ำ
- ความรุนแรงของโรคลำไส้อักเสบ เนื่องจากลำไส้อักเสบจะมีปัญหาเรื่องการดูดซึมสารอาหาร หากมีปัญหามากเมื่อตรวจ albumin จะพบว่าต่ำ
ค่าปกติ
ค่าปกติของ albumin และ globulin ค่าปกติทั่วไป
- Albumin : 3.5 – 5 gm/dL
- Globulin : 2.3 – 3.4 gm/dL
ค่า Albumin ผิดปกติ
น้อยกว่าค่าปกติ สาเหตุ
- โรคเกี่ยวกับตับ ทำตับให้ผลิต albumin ได้น้อย
- โรคตับอักเสบ (hepatitis) เช่นเชื้อไวรัสบี ไวรัสตับอักเสบซี หรือกินยารักษาโรคที่มีผลต่อตับเป็นเวลานาน
- โรคตับแข็ง (cirrhosis) เช่น จากพิษสุราเรื้อรัง ไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง
- สารเคมีที่เป็นพิษต่อตับ
- โรคมะเร็งตับระยะแพร่กระจาย
- อาจขาดสารอาหารจากโรคลำไส้อักเสบทำให้ไม่สามารถดูดซึมอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดโปรตีน ทำให่ผลิต albumin ไม่ได้
- โรคไตเช่นโรค nephrotic syndrome ไตไม่สามารถกรองโปรตีนทำให้มีการรั่วของโปรตีนไปทางปัสสาวะ
- ภาวะที่มีปริมาณน้ำมากไปเกิดการเจือจาง เช่น โรคหัวใจวาย โรคตับแข็งที่มีการบวม โรคไต
มากกว่าปกติ สาเหตุ
- อาจเกิดโรคมะเร็งไขกระดูก (multiple myeloma)
- อาจเกิดสภาวะการขาดน้ำ (dehydration)
- รับประทานอาหารที่มีโปรตีนมาก
- รัดแขนบริเวณที่เจาะเลือดนานไป
Albumin | Globulin | Alkaline phosphatase | AST | ALT | Bilirubin | การแข็งตัวของเลือด | Gamma Glutamic Transpeptidase | lactic dehydrogenase test | การตรวจการทำงานของตับ