การเจาะเลือดหาเกลือแร่ของเลือด


เกลือแร่ของเลือด electrolytes หมามถึงสารที่มีประจุไฟฟ้าและสามารถนำไฟฟ้า electrolytes จะพบทั้งในเซลล์ และนอกเซลล์ สารหลั่งของร่างกาย เลือด ความสมดุลของ electrolytes ในเซลล์และนอกเซลล์จะทำให้เซลล์ทำงานปกติ electrolytes ที่แพทย์มักจะตรวจได้แก่ sodium, potassium, chloride, และ bicarbonate.

การเจาะเลือดตรวจแร่ธาตุเพื่อจะทราบว่าค่าแร่ธาตุใดมีปริมาณสูง/ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติไปมากน้อยเพียงใด

โซเดียม Sodium

Sodium ( Na+ ) เป็นแร่ธาตุที่มีประจุบวกซึ่งส่วนใหญ่เกิดจาก Na โซเดี่ยมเมื่อจับกับคลอไรด์จะกลายเป็นเกลือแกง หากเรารับประทานเกลือแกงหรือ Na+ ส่วนที่เกินจะถูกขับออกทางปัสสาวะ

Na+ จะมีหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย และการเคลื่อนเข้าออกเซลล์ของ Na+ เช่นสมอง ระบบประสาท กล้ามเนื้อ จึงทำให้อวัยวะเหล่านั้นทำงานอย่างปกติ ดังนั้นการมีปริมาณ Na+ มากไป หรือน้อยไปจะทำให้อวัยวะต่างๆทำงานผิดปกติ และอาจจะอันตรายต่อชีวิต

  • โซเดี่ยมในเลือดสูงเกินไปหรือที่เรียกว่า hypernatremia หมายถึงมีค่าโซเดี่ยวเกินมาตราฐานสาเหตุมีมากมาย เช่น ดื่มน้ำน้อย เสียน้ำจากการเสียเหงื่อ หรืออาเจียน
  • โซเดี่ยมในเลือดต่ำหรือที่เรียกว่า hyponatremia หมายถึงมีปริมาณโซเดี่ยมน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำในร่างกาย มักจะพบในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต ผู้ป่วยหัวใจวาย

ค่าปกติของโซเดี่ยมในเลือด 135 - 145 milliEquivalents/liter (mEq/L)



โพแทสเซี่ยม Potassium

ในเซลล์ของคนประจุบวกส่วนใหญ่มาจาก Potassium (K+) ปริมาณโพแทสเซี่ยมที่เหมาะสมภายในเซลล์จะทำให้เซลล์ทำงานเป็นปกติ หน้าที่ของโพแทสเซี่ยมคือควบคุมการเต้นของหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อ ความผิดปกติที่พบได้คือ

  • โพแทสเซี่ยมสูงเกินไปหรือที่เรียกว่า hyperkalemia. Potassiumจะถูกขับออกทางไต ดังนั้นผู้ที่ไตเสื่อมจะทำให้มีการคั่งของโพแทสเซี่ยม นอกจากนั้นยาบางชนิดก็จะทำให้โพแทสเซี่ยมในเลือดสูง
  • โพแทสเซี่ยมในเลือดต่ำหรือที่เรียกว่า Hypokalemia, สาเหตุอาจจะเกิดจากโรคไต เสียเหงื่อมาก อาเจียน ท้องร่วง ยาบางชนิด

ค่าปกติของโพแทสเซี่ยมเท่ากับ 3.5 - 5.0 milliEquivalents/liter (mEq/L)

คลอไรด์

จะเป็นเกลือแร่ที่ช่วยรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย หากร่างกายสูญเสียคลอไรด์มากร่างกายจะเป็นกรด

ค่าปกติ= 100-106 mEq/L

ไบคาร์บอเนต

เป็นเกลือแร่ที่ป้องกันมิให้เลือดเป็นกรด ความผิดปกติที่พบได้คือสูงไปหรือต่ำไป ค่าปกติ= 24-30 mEq/L

แพทย์จะสั่งเจาะเมื่อไร

ปกติการตรวจนี้จะไม่ตรวจในการตรวจร่างกายประจำปี แพทย์จะสั่งตรวจนี้ในกรณีที่มี

  • การเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • มีอาการบวม
  • รับประทานยาที่มีผลต่อเกลือแร่ เช่นยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิตบางชนิด
  • ติดตามผลการรักษา

การเจาะเลือดหาเกลือแร่มักจะเจาะในผู้ป่วยที่ต้องรับไว้ในโรงพยาบาล หรือผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือผู้ที่รับประทานยาขับปัสสาวะ การเจาะเลือดหาเกลือแร่เป็นการเจาะหา โซเดียม โพแทสเซี่ยม คลอไรด์ และไบคาร์บอเนต เกลือแร่ในเลือดจะช่วยให้น้ำในร่างกายเกิดความสมดุล และยังช่วยให้กล้ามเนื้อ หัวใจ และอวัยวะต่างๆทำงานเป็นปกติ

หน้าที่ของ electrolytes

  1. ช่วยควบคุมการยืด-หดตัวของกล้ามเนื้อ
  2. ควบคุมปริมาณน้ำและของเหลวในร่างกายเพื่อสร้างสภาวะสมดุล
  3. ช่วยส่งเสริมปฏิกิริยาชีวเคมีทั้งหลายให้ดำเนินไปด้วยความราบรื่น

กลไกการควบคุม electrolytes

ร่างกายควบคุมความเข้มข้นหรือควบคุมค่าปกติของแร่ธาตุใน electrolyte ผ่านทางฮอร์โมน จากแหล่ง ผลิตต่างกัน เช่น

  • ฮอร์โมนเรนิน (renin) ผลิตจากไต
  • ฮอร์โมนแองจิโอเทนซิน (angiotensin) สร้างขึ้นโดยอิทธิพลของปอด สมอง และหัวใจ
  • ฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (aldosterone) ผลิตจากต่อมหมวกไต Adrenal gland
  • ฮอร์โมนแอนตี้ไดอูเรติค (antidiuretic hormone, ADH) ผลิตจากต่อมใต้สมอง Pituitary gland

โซเดี่ยม | โพแทสเซี่ยม | คลอไรด์ | ไบคาร์โบเนต | เกลือแกง | เกลือและสุขภาพ

การทำงานของไต

ทบทวนวันที่ 24/1/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน