Alkaline phosphatase( ALP) ค่าสูงและต่ำบ่งบอกโรคอะไร


Alkaline phosphatase เป็นเอนไซม์ที่มีหน้าที่ในการเอา phosphatase ออกมา เอนไซม์พบได้ในหลายอวัยวะ แต่พบมากในตับ ท่อน้ำดี และในกระดูก

  1. Alkaline phosphatase มาจากตับ นับว่าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดของ ALP
  2. Alkaline phosphatase มาจากกระดูก นับว่าเป็นแหล่งรองลงมา
  3. Alkaline phosphatase มาจากเยื่อเมือกภายในลำไส้เล็ก (intestinal mucosa) นับเป็นจำนวน ALP ต่ำลงมา
  4. ส่วนน้อยมาจาก ไต และรก ของสตรีมีครรภ์ จึงไม่มีชื่อเป็นการเฉพาะ
  • เนื่องจาก ที่มาจากตับ และเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนใหญ่ของ ALP ดังนั้น โรคใด ๆ ที่กระทบต่อตับ จึงย่อมมีผลทำให้ ALP มีค่าสูงขึ้นเสมอ เช่น โรคมะเร็งตับ (hepatic tumor) ยาที่เกิดพิษต่อตับ หรือตับอักเสบ (hepatitis) ไม่ว่าจะโดยสาเหตุใดก็ตาม
  • Alkaline phosphatase จากกระดูกก็เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์รวม ALP ที่อาจมีค่าสูงขึ้น หากมีโรคเกิดขึ้นแก่กระดูก เช่น การใช้ยารักษากระดูกหัก หรือเกิดโรคไขข้ออักเสบ โรคมะเร็งขอกระดูก ที่อาจแพร่กระจายมาจากมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ในสตรีที่ตั้งครรภ์ ค่า ALP ก็อาจสูงขึ้นได้ เพราะรกก็มีส่วนสร้าง ALP ด้วยเช่นกัน
  • ในร่างกายคนที่มีเลือดหมู่ B หรือ หมู่ O มักจะมีค่า ALP สูงกว่าปกติเล็กน้อย
  • ยาบางตัวอาจมีผลต่อค่า ALP ให้สูง/ต่ำ กว่าที่ควรจะเป็นได้ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาคุมกำเนิด ยาแก้อักเสบ ยาเพิ่มฮอร์โมน ยาคลายเครียด (tranquilizer) ยาคลายกังวล ฯลฯ

ประโยชน์ของการตรวจ ALP

เป็นการตรวจเพื่อตรวจโรคเกี่ยวกับ

  1. โรคตับ
  2. โรคกระดูก
  3. โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
  4. โรคเกี่ยวกับท่อน้ำดี (biliary disease)
  5. สภาวะการขาดวิตามิน ดี

 

วิธีการตรวจ

การตรวจทำได้โดยการเจาะเลือดบริเวณข้อศอก ไม่จำเป็นต้องงดอาหาร

ค่าปกติของ ALP : 30 – 120 U/L
ค่าผิดปกติ

น้อยกว่าปกติ สาเหตุ



  1. อาจขาดสารอาหารโดยเฉพาอย่างยิ่ง คือ โปรตีน
  2. ขาดแมกนีเซียม
  3. ขาดวิตามินซี
  4. โรคโลหิตจางชนิดร้ายแรง
  5. Hypophosphatasia
  6. Wilson's disease

มากกว่าปกติ สาเหตุ

  1. โรคตับแข็งในระยะต้น
  2. สภาวะการอุดตันของท่อน้ำดี
  3. นิ่วในถุงน้ำดี
  4. โรคมะเร็งตับในระยะต้น หรือระยะแพร่กระจาย
  5. โรคมะเร็งแพร่กระจายไปสู่กระดูก (metastatic tumor to bone)
  6. อยู่ในระยะตั้งครรภ์ตามปกติ อายุครรภ์ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป
  7. โรคไขข้ออักเสบ (rheumatoid arthritis)
  8. ลำไส้ขาดเลือดเฉพาะที่ (intestinal ischemia) หรือขาดเลือดจนเนื้อเยื่อลำไส้ตาย (intestinal infarction)
  9. สภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction)
  10. โรคกระดูก
  11. โรคตับ
  12. รับประทานอาหารมัน
  13. ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมาก Hyperparathyroidism
  14. โรคมะเร็ง
  15. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  16. Sarcoidosis

ปัจจัยที่มีผลต่อการตรวจ

  • ยาบางชนิดอาจจะมีผลต่อตับ เช่นยาปฏิชีวนะ ยาคุมกำเนิด ยาแอสไพริน ยารักษาเบาหวาน
  • วัยทองซึ่งจะมีค่า ALP สูงกว่าคนทั่วไป
  • เด็กจะมีค่า ALPสูงกว่าผู้ใหญ่
  • ดื่มสุรา

Albumin | Globulin | Alkaline phosphatase | AST | ALT | Bilirubin | การแข็งตัวของเลือด | Gamma Glutamic Transpeptidase | lactic dehydrogenase test | การตรวจการทำงานของตับ

 

เรียบเรียงวันที่ 21/1/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน