เมื่อไรจะรักษาไขมันในเลือดสูง

ปัจจัยที่จะพิจารณาว่าจะรักษาไขมันในเลือดสูงโดยพิจารณาจากอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะเวลา 10 ปี และระดับไขมัน LDL การคำนวณอัตราเสี่ยงได้จากการคำนวณความเสี่ยง

อัตราเสี่ยง(%) ระดับไขมัน LDL ของท่าน
<70mg% 70-100mg% 101-155mg% 156-190mg% >190 mg%
<1 เสี่ยงต่ำ ไม่ต้องปรับเปลี่ยน ไม่ต้องปรับเปลี่ยน ปรับพฤติกรรม ปรับพฤติกรรม ปรับพฤติกรรม หากยังสูงต้องใช้ยา
1-5 เสี่ยงปานกลาง ปรับพฤติกรรม ปรับพฤติกรรม ปรับพฤติกรรม หากยังสูงต้องใช้ยา ปรับพฤติกรรม หากยังสูงต้องใช้ยา ปรับพฤติกรรม หากยังสูงต้องใช้ยา
5-10 เสี่ยงสูง ปรับพฤติกรรม และพิจารณายา ปรับพฤติกรรม และพิจารณายา ปรับพฤติกรรม และใช้ยา ปรับพฤติกรรม และใช้ยา ปรับพฤติกรรม และใช้ยา
>10 เสี่ยงสูงมาก ปรับพฤติกรรม และพิจารณายา ปรับพฤติกรรมและใช้ยา ปรับพฤติกรรม และใช้ยา ปรับพฤติกรรม และใช้ยา ปรับพฤติกรรม และใช้ยา

อัตราเสี่ยงท่านสามรถหาได้จากการประเมินความเสี่ยงของ ชาย และ หญิง ส่วนค่า LDL ได้จากการเจาะเลือดหรือการคำนวณจากสูตรคำนวณ

การรักษา

ประกอบด้วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต และการให้ยาลดระดับไขมันเมื่อจำเป็น

 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต (Total Lifestyle Change, TLC)

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต หมายถึงการกำจัดปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากการดำเนินชีวิตประจำวันให้หมดสิ้นไป ได้แก่ การสูบบุหรี่ การนั่งการยืนอยู่กับที่เป็นส่วนใหญ่ในแต่ละวัน (sedentary life) ความเครียด ร่วมกับการออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง

การสูบบุหรี่ ทำให้ระดับ HDL-C ลดลง เป็นอันตรายต่อ endothelial cell และมีผลต่อการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดง (thrombus) รวมทั้งทำให้เกร็ดเลือดจับตัวกัน10,11

การออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอและพียงพอมีประโยชน์มาก เพราะทำให้ภาวะดื้ออินสุลินลดลง12 ทำให้ไขมันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กล่าวคือลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และโคเลสเตอรอล  เพิ่มระดับ HDL-C และมีผลต่อ mononuclear cell ทำให้เซลล์ลดการหลั่ง cytokines ที่กระตุ้นขบวนการatherosclerosis13  นอกจากนี้การออกกำลังกายยังเป็นวิธีการสำคัญในการลดและควบคุมน้ำหนัก

ก่อนให้ผู้ป่วยออกกำลังกายควรตรวจสุขภาพก่อน โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ หรือ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ต้องทดสอบระบบหัวใจและหลอดเลือด เพื่อดูว่ามีโรคหรือภาวะที่เสี่ยงหรือเป็นอุปสรรคต่อการออกกำลังกายหรือไม่ และจัดโปรแกรมการออกกำลังกายให้เหมาะสม ข้อพึงปฏิบัติสำหรับการออกกำลังกายที่สำคัญ คือ เริ่มออกกำลังกายแต่น้อยและค่อยๆ เพิ่มขึ้น  การออกกำลังกายที่ถูกต้องประกอบด้วย มีความสม่ำเสมอ(frequency) คือทุกวันหรือวันเว้นวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ระยะเวลาออกกำลัง (duration) นานเพียงพอ คือครั้งละ 30-45 นาที ความหนักของการออกกำลังกาย(intensity) พอเหมาะ ซึ่งในทางปฏิบัติใช้อัตราเต้นของหัวใจเป็นเกณฑ์ โดยออกกำลังให้ได้อัตราเต้นของหัวใจเป็นร้อยละ 60-85 ของอัตราเต้นหัวใจสูงสุด อัตราเต้นหัวใจสูงสุดได้จากการคำนวณโดยลบอายุเป็นปีออกจาก 220  

การกำหนดอัตราเต้นหัวใจระหว่างออกกำลังกายขึ้นกับสุขภาพพื้นฐานของผู้ป่วย การออกกำลังกายทุกครั้งต้องมีการอุ่นเครื่อง (warm up) ก่อนออกกำลังกาย และการผ่อนคลาย (cool down) หลังการออกกำลังกาย



 การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง

หมายถึงรับประทานอาหารที่มีพลังงานพอเหมาะ และมีอาหารหลักครบทุกหมู่ โดยมีสัดส่วนและปริมาณโคเลสเตอรอลที่เหมาะสมซึ่งมีหลักการคือ

  1.  ปริมาณอาหารหรือพลังงาน (kilocalories) ต่อวันพอเหมาะ ทำให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  2. ปริมาณไขมันต่อวันให้พลังงานร้อยละ 25-35 ของพลังงานทั้งหมด โดยต้องคำนึงถึงประเภทของไขมันที่ใช้ คือ ให้เป็นกรดไขมันอิ่มตัวไม่เกินร้อยละ 7 ของพลังงานทั้งหมด  เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งไม่เกินร้อยละ 10 ที่เหลือเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง ดังนั้นควรปรุงอาหารด้วยน้ำมันพืชที่สกัดจากถั่วเหลือง ข้าวโพด เมล็ดดอกทานตะวัน หรือ เมล็ดดอกคำฝอย รำข้าว มะกอก                                                      

นอกจากนี้ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยการทอด รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ไขมันที่ได้รับการแปรรูปให้แข็ง เช่น เนยเทียม (margarine) เนยขาว (shortening) โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ทำจากน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เพราะไขมันแปรรูปเหล่านี้จะมี trans fatty acids สูง ปริมาณ trans fatty acids  ที่รับประทานจะทำให้ระดับ LDL เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกัน

  1. ปริมาณโปรตีน ให้พลังงานร้อยละ 12-15 ของพลังงานทั้งหมด
  2.  มีโคเลสเตอรอลไม่เกิน 200-300 มก/วัน ขึ้นกับความรุนแรงของโรคและระดับไขมันในเลือด
  3.  พลังงานที่เหลือ (ร้อยละ 55-65 ของพลังงานทั้งหมด) ได้จากคาร์โบไฮเดรท คือ อาหารประเภทแป้ง ซึ่งควรเป็นคาร์โบไอเดรทเชิงซ้อน ได้แก่ ธัญญพืชหรือข้าว ถั่วชนิดต่างๆ เนื่องจากจะให้ทั้งใยอาหาร(dietary fiber)  และโปรตีน ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำตาลหรืออาหารที่มีน้ำตาลปริมาณสูง
  4. รับประทานผักปริมาณมาก และผลไม้ทุกมื้อ เพื่อให้ได้ใยอาหารมากพอ
  5.  ดื่มแอลกอฮอล์ได้บ้าง ไม่ควรเกิน 6 ส่วนต่อสัปดาห์ (แอลกอฮอล์หนึ่งส่วนได้แก่ วิสกี้ 1½ ออนซ์ หรือ เบียร์ 12 ออนซ์  หรือ ไวน์ 4 ออนซ์) ยกเว้นผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ห้ามดื่มแอลกอฮอล์

อาหารประเภทโปรตีนได้แก่เนื้อสัตว์และถั่ว ประเภทเนื้อสัตว์ยึดหลักดังนี้

อาหารที่ต้องงด            

เครื่องในสัตว์และหนังสัตว์ทุกชนิด ไม่ว่าจะปรุงในรูปแบบใดๆ

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานเล็กน้อยเป็นครั้งคราว 

อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู ปลาหมึก เนื้อสัตว์ติดมันและหนัง ไข่แดง และ เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอกทุกชนิด, แฮม, โบโลน์ยา, แหนม, หมูยอ, กุนเชียง

อาหารที่รับประทานได้ประจำ

เนื้อปลาทุกชนิด ไก่ เป็ด หมู เนื้อ ที่ไม่ติดหนังและมัน ปริมาณที่ควรรับประทาน คือวันละ 2-4 ขีด (200-400 กรัม) หรือเนื้อสัตว์สุก 4-6 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ ขึ้นกับน้ำหนักตัว และระดับไขมันในเลือด

การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

อ้วนไขมันในเลือดสูงทุกชนิดจะต้องรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งประกอบไปด้วยการออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก การงดบุหรี่ การดื่มสุรา และการควบคุมอาหาร

ประสิทธิผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแต่ละชนิดขึ้นกับชนิดของไขมันที่สูง ผู้ป่วยที่ไขมัน LDL สูงการลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ลดไขมันชนิด transจะช่วยลดไขมันได้ดี ส่วนไขมัน Triglyceride สูง การลดน้ำหนักร่วมกับการออกกำลังกายจะได้ผลดี ดังนั้นในการเลือกวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะขึ้นกับชนิดไขมันที่ขึ้น

อ่านเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

อาหารที่มีไขมันสูง

ไขมันจากปลา

จะอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัว เมื่อรับประทานมากเกินไปจะทำให้ระดับไขมันในเลือดสูง ไขมันที่สูงจะเป็นความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง อาหารที่มีไขมันสูงได้แก่

หากมีครับทั้งสามภาวะโอกาศที่จะเกิดหลอดเลือดแข็งจะสูง

อ่านชนิดของไขมันใอาหาร