หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะมีผลต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ปัจจัยเรื่องอาหารอาจจะมีผลโดยตรงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง หรืออาจจะมีผลโดยอ้อมผ่านทางปัจจัยเสี่ยงอื่นเช่น ไขมันในเลือด ความดันโลหิต หรือระดับน้ำตาลในเลือด ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะแสดงในนตาราง

ตารางแสดงผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อค่าไขมันในเลือด

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผลต่อ TC,LDL ผลต่อ Triglyceride ผลต่อ HDL
ลดอาหารไขมันอิ่มตัว +++    
ลดอาหารไขมันทรานส์ +++   +++
เพิ่มอาหารที่มีใยอาหาร ++    
ลดอาหารที่มีคอเลสเตอรอล ++    
รับประทานอาหารที่เติม Phytosterol +++    
ลดน้ำหนัก + +++ ++
การใช้โปรตีนจากถั่วเหลือง +    
การออกกำลังกายเป็นประจำ + ++ +++
การใช้ red yeast rice +    
ลดการดื่มสุรา   +++  
ลดน้ำตาล   +++ +
ลดอาหารแป้ง   ++  
การใช้น้ำมันปลา   ++  
การทดแทนไขมันอิ่มตัวด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน   +  
ทดแทนแป้งด้วยไขมันไม่อิ่มตัว     ++
การดื่มสุราพอควร     ++
เลือกอาหารที่มี glycemic index ต่ำ และมีใยอาหารมาก     +
หยุดสูบบุหรี่     +

+ ประสิทธิภาพยังไม่มีหลักฐานยืนยัน

++มีหลักฐานเชื่อว่าได้ผลดี

+++ได้ผลดีโดยมีหลักฐานยืนยัน

TC=Total Cholesterol

LDL=LDL Cholesterol

TG=Triglyceride

HDL= HDL Cholesterol

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อ Total cholesterol และ LDL-cholesterol

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อ triglyceride(TG)

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อ HDL-C

อาหารเสริมเพื่อลดไขมันในเลือด

Phytosterols

ได้แก่ sitosterol, campesterol, และ stigmasterol สารเหล่านั้นพบในน้ำมันพืช(ปริมาณเล็กน้อย) ผัก ผลไม้ ถั่วต่างๆ เกาลัด สารเหล่านี้จะมีสูตรโครงสร้างคล้ายกับคอเลสเตอรอลดังนั้นจึงลดการดูดซึมคอเลสเตอรอล ดังนั้นจึงมีผลต่อระดับคอเลสเตอรอลเพียงอย่างเดียว สาร Phytosterols ได้ถูกผสมในอาหารหลายชนิดเช่น น้ำสลัด ครีมทาขนมปัง เนย น้ำมันพืช yoghurt โดยจุดประสงค์เพื่อลด TC ในเลือด ให้รับประทาน phytosterols วันละ 2 g ก็จะลดไขมัน TC และ LDL-C ลง 7–10% แต่ยังไม่มีหลักฐานว่าจะสามารถลดการเกิดโรคหัวใจได้หรือไม่ และยังไม่ทราบผลระยะยาว นอกจากนั้นจะต้องระวังเรื่องการขาดวิตามินที่ละลายในไขมัน

Soy protein

โปรตีนจากถั่วเหลืองสามารถลดไขมัน LDL-C ลงได้ร้อยละ 3–5% ดังนั้นจึงควรใช้โปรตีนจากถั่วแทนเนื้อสัตว์

ใยอาหาร

อาหารที่มีปริมาณใยอาหารมากจะช่วยลดไขมัน LDL-C โดยจะต้องรับประทานใยอาหารวันละ 5–15 g

น้ำมันปลา

การรับประทานน้ำมันปลาวันละ 2–3 g จะสามารถลดระดับไขมัน TG ลงได้ 25–30%

Red yeast rice

red yeast rice เป็นข้าวที่หมักกับเชื้อราชนิดหนึ่งซึ่งจะได้สาร monacolins ที่มีสูตรโครงสร้างเหมือนยากลุ่ม Statin มีการศึกษาในประเทศจีนพบว่าสารสกัดนี้สามารถลดการเกิดโรคซ้ำได้ถึงร้อยละ 45 แต่ยังไม่มีการศึกษาถึงผลระยะยาวของสารนี้

การลดน้ำหนักและการออกกำลังกาย

ผู้ที่มีน้ำหนักเกินจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง

ผู้ที่มีน้ำหนักเกินจะต้องลดน้ำหนักอย่างน้อยร้อยละ5-10จากน้ำหนักเดิม ซึ่งจะลดไขมันในเลือดและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด การลดน้ำหนัก

การควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะป้องกันการเกิดเบาหวานได้ดีที่สุด

ปริมาณไขมัน

ปกติคนเราจะได้รับพลังงานจากไขมันร้อยละ25-35 ของพลังงานทั้งหมด หากรับประทานอาหารไขมันมากกว่าร้อยละ 35 จะมีความเสี่ยงในการรับประทานไขมันอิ่มตัวเพิ่มขึ้นและปริมาณพลังงานก็เพิ่มขึ้น แต่การรับประทานไขมันน้อยเกินไปก็เสี่ยงต่อการขาดวิตามินอี และไขมันอื่นๆซึ่งจะมีผลต่อไขมัน HDL

อาหารแป้งและใยอาหาร

อาหารเสริม

มีการผลิตอาหารเสริมซึ่งโฆษณาว่าลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีผลการศึกษาระยะยาวถึงผลดีผลเสีย เท่าที่มีข้อมูลอาหารที่ผสม phytosterols (1– 2 g/วัน)ให้กับผู้ป่วยที่มีระดับ TC และ LDL-C แม้ว่าจะได้รับยาลดไขมันแล้วแต่ค่ายังเกินค่าที่ต้องการ

อาหารเพื่อสุขภาพ

หมายถึงอาหารที่สามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

สรุปเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม