โรคเบาหวานกับการประเมินด้วยตัวเอง

ในการดูแลโรคเบาหวานแพทย์มักจะนัดตรวจครั้งต่อไปหลายเดือน ซึ่งหากผู้ป่วยไม่ดูแลตัวเองระดับน้ำตาอาจจะสูงขึ้น จึงจำเป็นจะต้องดูแลตัวเอง และประเมินการควบคุมเบาด้วยตัวเอง

วิธีการประเมินสามารถทำได้โดยการตรวจเลือดด้วยตัวเอง ตัวปัสสาวะ

เป็นที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าการควบคุมเบาหวานให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด สามารถป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของ ตา ไต เส้นประสาทและหลอดเลือด  การจะคุมเบาหวานให้ใกล้เคียงค่าปกติสามารถทำได้โดยการคุมอาหาร การออกกำลังกาย และยา การเจาะน้ำตาลในเลือดเมื่อไปพบแพทย์เดือนละครั้งหรือ 3-4 เดือนครั้งอาจจะไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยบางราย บางรายที่คุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี จำเป็นต้องตรวจหาน้ำตาลด้วยตัวเองเพื่อวางแผนปรับอาหาร หรือยาเพื่อให้ได้ระดับน้ำตาลที่เหมาะสมซึ่งสามารถกระทำได้โดย

  • การเจาะน้ำตาลโดยแพทย์
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง [self monitor blood glucose]
  • ตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะ
  • การตรวจคีโตน
  • ตรวจ hemoglobin A1c

การตรวจน้ำตาลโดยแพทย์

ปัจจุบันเครื่องตรวจน้ำตาลด้วยตัวเองมีความแพร่หลายและมีการตรวจค่าน้ำตาลเฉลี่ยดังนั้นการตรวจน้ำตาล 3-4 เดือนครั้งหนึ่งไม่เพียงพอที่จะใช้ในการปรับยา อาจจะใช้ปรับยาในกรณีที่ใช้ยารับประทาน หากท่านไปพบแพทย์ตามนัดแพทย์จะเจาะหาระดับน้ำตาลในเลือดโดยอาจจะเจาะก่อนอาหารเช้า หรืออาจจะเจาะหลังอาหารเช้า และจะเจาะหาน้ำตาลเฉลี่ยปีละ 2 ครั้ง

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง [self monitor blood glucose, SMBG]

ผู้ป่วยบางท่านไม่มีความจำเป็นที่ต้องเจาะเลือดด้วยตัวเองที่บ้าน แต่ผู้ป่วยบางท่านมีความจำเป็นต้องเจาะเลือดที่บ้านวันละ 2-3 ครั้งสัปดาห์ละ 2-3 วันเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน การเจาะเลือดวันละหลายครั้งทำให้ท่านทราบว่า เวลานั้นระดับน้ำตาลของท่านเป็นเท่าใด หากเจาะวันละหลายเวลายิ่งทำให้ทราบถึง การตอบสนองต่อการรักษาทำให้แพทย์สามารถปรับแผนการรักษาได้ดียิ่งขึ้น ควรที่จะมีการเปรียบเทียบระหว่างเครื่องที่ใช้กับเครื่องมาตรฐานว่าแตกต่างกันหรือไม่ น้ำตาลใน plasma จะสูงกว่าน้ำตาลในเลือดร้อยละ10-15

ใครควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลด้วยตัวเอง

  • ผู้ป่วยเบาหวานที่กินหรือฉีดยารักษาเบาหวาน
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลได้ยาก
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลต่ำมาก หรือสูงมาก
  • ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลต่ำโดยที่ไม่มีอาการของน้ำตาลต่ำ
  • ผู้ป่ายเบาหวานชนิดที่1
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเจ็บป่วย

ควรจะเจาะน้ำตาลเวลาไหนดี มีการเลือกเจาะหลายวิธี

  • เจาะก่อนอาหาร และก่อนนอน เป็นการตรวจตามมาตรฐาน
  • เจาะหลังอาหาร 1-2 ชม.จะมีผู้ป่วยบางรายที่ระดับน้ำตาลตอนเช้า หรือก่อนอาหารปกติแต่มีระดับน้ำตาลหลังอาหารสูง ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนการรักษา
  • เจาะเลือดเมื่อมีอาการผิดปกติเมื่อคุณรู้สึกใจสั่นหน้ามือ เหงื่อออก เป็นลม ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย ซึม จะต้องเจาะเลือดเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือด

โดยทั่วไปแนะนำให้เจาะก่อนอาหารอาจจะเจาะ 3 มื้อเมื่อสามารถคุมระดับน้ำตาลได้ดีประมาณ 100 มก.%จึงเจาะหาระดับน้ำตาลหลังอาหารเพื่อปรับอาหาร การออกกำลังกาย และยาเพื่อคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามที่ต้องการตามตารางการควบคุมเบาหวานที่ดี

เจาะเลือดถี่แค่ไหนถึงจะดี

  • ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่งให้เจาะก่อนอาหารและก่อนนอนวันละ 4 ครั้งหลังจากคุมระดับน้ำตาลได้ดีจึงลดความถี่ลงเหลืออาทิตย์ละ 2-3 ครั้งให้เจาะหลังอาหาร
  • ผู้ป่วยชนิดที่สองให้เจาะอย่างน้อยวันละครั้ง อาจจะก่อนหรือหลังอาหารหรือก่อนนอนก็ได้

การตรวจปัสสาวะ

เป็นการตรวจอย่างคร่าวๆว่าสามารถคุมเบาหวานได้ดีเพียงใด ซึงสามารถทำได้ง่ายไม่เจ็บ แต่ไม่แม่นยำเท่าการเจาะเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 180 มก.%จึงสามารถตรวจพบน้ำตาลในเลือด ควรจะใช้กรณีที่ไม่สามารถเจาะเลือดด้วยตัวเองได้ การตรวจปัสสาวะสามารถตรวจดูระดับน้ำตาล และคีโตนในปัสสาวะ อ่านที่นี่

ควรตรวจบ่อยแค่ไหน

  1. ผู้ป่วยเบาหวานที่กินยารักษาเบาหวาน
  • ควรตรวจอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งเวลาก่อนอาหารเช้า และก่อนอาหารเย็น
  • เมื่อมีอาการไม่สบาย เช่นเป็นไข้ ควรตรวจวันละ 4 ครั้งก่อนอาหาร และก่อนนอน
  • เมื่อมีอาการสงสัยว่า ภาวะน้ำตาลในเลือดจะสูงหรือต่ำผิดปกติ ควรตรวจดูทันที
  1. ผู้ป่วยที่ฉีดอินซูลิน
  • ควรตรวจวันละ 4 ครั้งก่อนอาหาร 3 มื้อและก่อนนอน อาจสลับตรวจหลังอาหารบ้าง ก่อนอาหารบ้าง
  • ถ้าทำไม่ได้ให้ทำวันละครั้งตามแต่ชนิดของอินซูลินที่ฉีด

การแปลผล

  • ถ้าตรวจปัสสาวะแล้วไม่พบน้ำตาล และผู้ป่วยไม่มีอาการ ก็ให้ถือว่าควบคุมได้ดี
  • ถ้าตรวจปัสสาวะแล้วไม่พบน้ำตาล และผู้ป่วยมีอาการน้ำตาลต่ำ ก็แสดงว่าน้ำตาลต่ำ
  • ถ้าตรวจแล้วพบว่ามีน้ำตาลบ้างไม่มีบ้าง ถือว่าพอใช้ได้
  • ถ้าตรวจพบน้ำตาลเป็นปริมาณมากทุกครั้งแสดงว่าควบคุมไม่ดี

การตรวจคีโตน

  • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • โรคเบาหวานที่กำลังเกิดความเครียดเช่นการติดเชื้อ โรคหัวใจ หรือผู้ป่วยที่มีอาการของ ketoacidosisi หากพบคีโตนในปัสสาวะแสองว่ามีสาร hydroxybutyric acid,บงบอกว่าอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง

วิธีตรวจปัสสาวะด้วยตัวเอง

Hemoglobin A1c

การตรวจน้ำตาลในกระแสเลือดเป็นการตรวจหาน้ำตาลในขณะนั้นแต่การตรวจหา Hemoglobin A1c เป็นการตรวจค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในระยะ 2-3 เดือนที่ผ่านมา ค่าปกติของคนที่ไม่เป็นเบาหวานอยู่ที่ 5 มก.% ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมได้ดีควรอยู่ต่ำกว่า 7 มก.%หากค่า Hemoglobin A1c มากกว่า 8 จะต้องเปลี่ยนแปลงการรักษา เช่นการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย ความเครียด

ควรเจาะถี่แค่ไหน

  • ผู้ป่วยที่ใช้อินซูลินควรตรวจปีละ 4 ครั้ง
  • ผู้ป่วยที่ใช้ยากินควรตรวจปีละ 2 ครั้ง
  • สำหรับคนที่ตั้งครรภ์หรือคนที่คุมเบาหวานยังไม่ดีอาจจะต้องเจาะถี่ขึ้น

เปล่าหมายของน้ำตาลเฉลี่ยควรจะอยู่แค่ไหน

  • เป้าหมายของ Hemoglobin A1c ประมาณ 7 เนื่องจากที่ระดับนี้สามารถลดการเกิดโรคไต และโรคหัวใจ
  • Hemoglobin A1c น้อยกว่า 6.5 สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นไม่นาน อายุไม่มาก และไม่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Hemoglobin A1c น้อยกว่า 8 สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมานาน มีอาการของน้ำตาลต่ำ อายุมาก มีโรคหัวใจและหลอดเลือด

ความสัมพันธ์ระหว่างระดับ HbA1c และระดับน้ำตาลในเลือด

HbA1c และระดับน้ำตาลในเลือด

HbA1c

ค่าเฉลี่ยน้ำตาล

6.0%

126 mg/dl

7.0%

154 mg/dl

8.0%

183 mg/dl

9.0%

212 mg/dl

10.0%

240 mg/dl

11.0% 269 mg/dl
12.0% 298 mg/dl

จากตารางจะพบว่า HbA1c มากกว่า 7 ระดับน้ำตาลเฉลี่ยในเลือดจะสูงเกิน 170 มิลิกรัม%ซึ่งต้องปรับการรักษา ดังนั้นในการรักษาเราจะคุมระดับ HbA1c ให้น้อยกว่า 7

การตรวจเลือดและปัสสาวะด้วยตัวเอง

วิธีเจาะเลือดหาระดับน้ำตาลด้วยตัวเอง  |  การตรวจปัสสาวะ | Hemoglobin A1c |

เป้าหมายการควบคุมเบาหวาน การป้องกันเบาหวาน

หลักการรักษา

การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน | อาการโรคเบาหวานการวินิจฉัย | การคัดกรอง | ชนิดของเบาหวาน | หลักการรักษา | โรคแทรกซ้อน | เป้าหมายในการควบคุมเบาหวาน | การติดตามและการประเมิน | การป้องกันโรคเบาหวาน