หลักการควบคุมโรคเบาหวาน

เป็นที่ทราบกันดีว่าการควบคุมโรคเบาหวานที่ดีสามารถลดโรคแทรกซ้อนได้ครึ่งหนึ่ง โดยเฉพาะโรคแทรกซ้อนที่เกิดกับ ตา [diabetic retinopathy] ไต [diabetic nephropathy] และปลายประสาทอักเสบ [diabetic neuropathy] การควบคุมโรคเบาหวานที่ดี ท่านผู้อ่านต้องรักษาความสมดุลของอาหาร การออกกำลังกาย และยาในการรักษาโรคเบาหวานขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และชนิดของโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยเป็น การรักษาและควบคุมโรคเบาหวานอย่างถูกต้อง อาจช่วยป้องกันอาการโรคแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว

เป้าประสงค์ของการรักษาโรคเบาหวาน

การควบคุมน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติจะ ทำให้เกิดผลดีหลายประการคือ

  1. สามารถลดโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน เช่น ภาวะคีโตซีส [ diabetic ketoacidosis],ช็อกจากน้ำตาลในเลือดสูง  [hyperosmolar hyperglycemic nonketotic syndrome]
  2. ลดอาการเนื่องจากน้ำตาลในเลือดสูง ตามัว น้ำหนักลด หิวบ่อย เพลีย ช่องคลอดอักเสบ
  3. ลดโรคแทรกซ้อนทาง ตา [diabetic retinopathy]ไต [diabetic nephropathy] ปลายประสาทอักเสบ [neuropathy]
  4. ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดแข็ง เช่นทำให้ไขมันในเลือดใกล้เคียงปกติ

เกณฑ์การควบคุมเบาหวานได้ดี

แพทย์จะกำหนดว่าผู้ป่วยแต่ละคนที่ดูแลรักษาอยู่ควรจะควบคุมระดับน้ำตาล ความดันโลหิต ระดับไขมัน อยู่ในเกณฑ์เท่าใดขึ้นอยู่กับอายุ โรคร่วม พฤติกรรมการดำรงชีวิต ฐานะ  ความร่วมมือตารางข้างล่างจะแสดงระดับเป้าหมายของความดัน น้ำตาล ไขมัน น้ำหนัก ดัชนีมวลกายและความถี่ของการตรวจ

เกณฑ์การควบคุมเบาหวานที่ดี

การตรวจวัด

คนปกติ

เป้าหมาย(มก%)

ระดับที่ต้องแก้ไข

ความถี่ของการตรวจ

น้ำตาลหลังงดอาหาร 8 ชม.

Fasting blood sugar

<110 (มก%)

70-130

<70 หรือ >130 (มก%)

 ทุกครั้งที่พบแพทย์

น้ำตาลหลังอาหาร 1 ชม.

Post pandrial blood sugar

 

<180

>180 (มก%)

ตามแพทย์สั่ง

ใช้ในกรณี tight control

น้ำตาลก่อนนอน

Bedtime glucose

<120 (มก%)

100-140

<100 or >160 (มก%)

ตามแพทย์สั่ง

ใช้ในกรณี tight control

น้ำตาลกลัยโคไซเลสเต็ด

HbA1c

<6%

<7%

>8%

เบาหวานควบคุมดีตรวจปีละ 2 ครั้ง 

เบาหวานคุมไม่ดีตรวจปีละ 4 ครั้ง

ความดันโลหิต

120/80

130/85 mmHg

> 130/85 mmHg

วัดทุกครั้งที่พบแพทย์ 

LDL-Cholesterol

<130 (มก%)

<100 (มก%)

> 100 (มก%)

 ถ้าปกติปีละครั้ง

ถ้าผิดปกติตรวจตามแพทย์สั่ง

HDL-Cholesterol

>45 (มก%)

>45(มก%)

<35(มก%)

 ถ้าปกติปีละครั้ง

ถ้าผิดปกติตรวจตามแพทย์สั่ง

Triglyceride

<200(มก%)

<200 (มก%)

>200 (มก%)

 ถ้าปกติปีละครั้ง

ถ้าผิดปกติตรวจตามแพทย์สั่ง

ดัชนีมวลกาย

Body mass index

20-25

20-25

<20 or >25

ชั่งน้ำหนักทุกครั้งที่พบแพทย์

ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาผลการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่สองต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาว จนกระทั่ง ปีที่ผ่านมามีการศึกษาถึงผลการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่2 โดยมีประเด็นว่าการควบคุมเบาหวานแบบเข้มงวด intensive (คุมระดับน้ำตาลโดยให้ HbA1c<6.5 ) ว่าจะมีผลต่อการเสียชีวิตหรือโรคแทรกซ้อนอย่างไร ซึ่งพอจะสรุปผลดังนี้

  • ผู้ป่วยที่เริ่มรักษาเบาหวานหลังจากเป็นมาไม่นาน
  • ผู้ป่วยที่มีระดับ HbA1c สูงไม่มาก
  • และยังไม่มีโรคแทรกซ้อนจากโรคหัวใจและหลอดเลือด

สามกลุ่มดังกล่าวจะต้องคุมเบาหวานให้ดีที่สุดเพราะจะลดการเกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาวลงได้โดยตั้งเป้า HbA1c<6.5 mg%

ระดับน้ำตาลเฉลี่ย HbA1c เป้าหมายควรจะเป็นเท่าใด

  • คนทั่วๆไปคุมที่ระดับ HbA1c จะคุมประมาณ น้อยกว่า7 เพราะสามารถลดโรคแทรกซ้อนได้
  • สำหรับผู้ที่อายุน้อย ไม่มีปัญหาน้ำตาลต่ำ และคาดว่าจะมีอายุยืนเป้าหมายอยู่ที่น้อยกว่า 6.5
  • สำหรับผู้ที่สูงอายุ หรือเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ หรือเกิดโรคแทรกซ้อนเป้าหมายอยู่ที่น้อยกว่า 8

สำหรับผู้ป่วยดังต่อไปนี้การคุมเบาหวานแบบเข้มงวดจะทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ผู้ป่วยกลุ่ม

  • ผู้ที่เป็นเบาหวานมาในระยะเวลายาวนาน
  • มีประวัติเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ
  • มีโรคหลอดเลือดแข็ง
  • สูงอายุหรืออ่อนแอมาก

องค์ประกอบการรักษา

การรักษาเบาหวานให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้นต้องอาศัยองค์ประกอบดังนี้

  1. การเปลี่ยนพฤติกรรม
  2. ยารักษาเบาหวาน
  3. การประเมินการรักษา
โรคแทรกซ้อน การติดตามและการประเมิน


โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน | อาการโรคเบาหวานการวินิจฉัย | การคัดกรอง | ชนิดของเบาหวาน | หลักการรักษา | โรคแทรกซ้อน | เป้าหมายในการควบคุมเบาหวาน | การติดตามและการประเมิน | การป้องกันโรคเบาหวาน

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน