การตรวจคัดกรองโรคไตสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

คำแนะนำ

  1. การตรวจหาไข่ขาวหรือโปรตีนในปัสสาวะในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองควรตรวจตั้งแต่เริ่มวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน โดยการตรวจไข่ขาวโดยใช้แทบตรวจ ถ้าให้ผลบวกก็ไม่ต้องตรวจหาปริมาณ แต่ถ้าให้ผลลบให้เก็บปัสสาวะหาปริมาณไข่ขาว
  2.  สำหรับชนิดที่หนึ่งควรตรวจหลังจากการวินิจฉัย 5 ปี
  3. ให้ตรวจการทำงานของไตปีละครั้งเพื่อประเมินอัตราการกรองของไต

การดูแลเพื่อป้องกันโรคไต

  • ควบคุมโรคเบาหวานให้ปกติดีที่สุด
  • ควบคุมความดันโลหิตสูงให้ใกล้เคียงปกติ

โรคเบาหวานกับโรคไต

โรคเบาหวานจะทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆตีบและเกิดโรคเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไต โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโรคเหล่านี้คือ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย

โรคไตในระยะแรกจะไม่มีอาการจะทราบว่าเป็นโรคไต โดยการตรวจปัสสาวะพบไข่ขาวหรือโปรตีน

โรคเบาหวานกับโรคไต

ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะเป็นผลเสียต่ออวัยวะในร่างกายรวมทั้งไต โรคเบาหวานเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไตเสื่อม หรือไตวายมากที่สุด ผู้ป่วยช่วงแรกจะไม่มีอาการอะไรเลย จนกระทั้งไตเสื่อมมากจึงจะเกิดอาการของไตวาย ปกติอาหารที่เรารับประทานเข้าไปจะถูกย่อย และนำไปกรองที่หลอดเลือดเล็กๆ [capillary]ในไต ของเสียจะถูกขับออก โรคเบาหวานทำให้ไตมีการทำงานมากขึ้น ในที่สุดก็จะมีการสูญเสียสารอาหาร และโปรตีนในปัสสาวะ ปริมาณโปรตีนเพียงเล็กน้อยที่หลุดมาเรียก Microalbuminuria หากไตเสียหน้าที่เพิ่มปริมาณโปรตีนมากขึ้นเรียก Macroalbuminuria หรือ Proteinuria ไตบางส่วนเริ่มเสียหน้าที่การกรองทำให้เกิดการคั่งของๆเสียเรียก ไตวายหรือไตเสื่อมและในที่สุดก็เกิดไตวายระยะสุดท้าย [end-stage renal disease,ESRD] ผู้ป่วยที่เป็น ESRD จำเป็นต้องล้างไต หรือเปลี่ยนไต

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโอกาสเป็นเป็นโรคไต ขึ้นกับปัจจัยดังนี้

  1. ระดับการควบคุมน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด การควบคุมโรคเบาหวานได้ดีโอกาสเป็นโรคไตจะน้อยลง ท่านต้องปรึกษาแพทย์ว่าระดับน้ำตาลแค่ไหนถึงจะดี
  2. ระดับความดันโลหิต
  3. กรรมพันธุ์

เบาหวานเป็นสาเหตุที่สำคัญของโรคไตวายเรื้อรังเนื่องจาก ผู้ป่วยเบาหวานมีชีวิตยาวขึ้น มีอุบัติการณ์ของเบาหวานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชนิดที่สอง ร้อยละ 20-30 ของผู้ป่วยเบาหวานพบว่ามีไข่ขาวในปัสสาวะ แต่มีเพียงร้อยละ 20 ที่จะกลายเป็นโรคไต ซึ่งเราสามารถรู้ได้ก่อนที่จะเกิดอาการไตวายโดยตรวจหาปริมาณหรือโปรตีน ไข่ขาวในปัสสาวะถ้ามากกว่า 30 มก./วัน หรือ 20 microgram/min เรียกว่า microalbuminuria พบว่าโรคเบาหวานชนิดที่หนึ่งถ้ามี microalbuminuria แล้วไม่ได้รักษาร้อยละ 50 จะเป็นโรคไตวายเรื้อรังใน 10 ปี มากกว่าร้อยละ 75ในเวลา 20 ปี

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองจะพบว่ามี microalbuminuria หลังการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานไม่นาน เนื่องจากผู้ป่วยเป็นเบาหวานมานานหลายปีก่อนการวินิจฉัย ร้อยละ 20-40 ของผู้ป่วยที่มี microalbuminuria จะกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรัง แต่มีจำนวนน้อยกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรัง เนื่องจากเสียชีวิตจากโรคหัวใจก่อน

นอกจาก microalbuminuria จะเป็นเครื่องบ่งชี้เริ่มต้นของโรคไต ยังเป็นเครื่องบ่งชี้ของโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นผู้ป่วยเหล่านี้ต้องรักษาปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น LDL-Cholesterol สูง ,ความดันโลหิตสูง,งดสูบบุหรี่,การออกกำลังกาย เป็นต้น



เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไตในระยะเริ่มต้น

โรคเบาหวานที่โรคไตในระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการ เราสามารถรู้ได้โดยการตรวจปัสสาวะเพื่อหาโปรตีนในปัสสาวะ หากพบว่ามีโปรตีนในปัสสาวะแสดงว่าเริ่มจะมีโรคไต จำเป็นที่จะต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ส่วนแพทย์จะปรับยาเพื่อลดโปรตีนในปัสสาวะ

การตรวรโปรตีนในปัสสาวะต้องทำอย่างไร

การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะทำได้สองวิธี

  1. การตรวจปัสสาวะแบบปกติ
  2. การตรวจปัสสาวะเพื่อหาปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ

การตรวจหาไข่ขาวในปัสสาวะ Microalbuminuria

เป็นการตรวรหาปริมาณโปรตีนในปัสสาวะซึ่งสามารถตรวจได้สามวิธีดังนี้

  1. หาอัตราส่วนของไข่ขาวต่อครีตินิน [albumin-to-creatinin ratio]ในปัสสาวะจะวินิจฉัยว่า albuminuria เมื่ออัตราส่วนเกิน 30mg/g creatinin เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด
  2. หาไข่ขาวในปัสสาวะ 24 ชม.จะวินิจฉัยว่า albuminuria เมื่อปริมาณ albumin เกิน 30 mg/24 h
  3. หาอัตราการขับไข่ขาวในปัสสาวะ 6 ชมโดยการเก็บปัสสาวะ6ชม.แล้ววัดปริมาณไข่ขาวทั้งหมด แล้วคำนวณหาอัตราการหลั่งไข่ขาวต่อนาทีจะวินิจฉัยว่า albuminuria เมื่ออัตราส่วนเกิน 20 ug/min

เนื่องจากอาจตรวจพบไข่ขาวได้ในภาวะ ไข้ ความดันโลหิตสูง การออกกำลังกาย หัวใจวาย การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และอัตราการขับของไข่ขาวไม่แน่นอนดังนั้นจึงต้องตรวจหาไข่ขาวอีก 2-3ครั้งในระยะเวลา 3-6 เดือนก่อนการวินิจฉัย microalbuminuria

เมื่อไหร่จะเริ่มตรวจปัสสาวะหาโปรตีนหรือไข่ขาว

  1. การตรวจหาไข่ขาวในปัสสาวะในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองควรตรวจตั้งแต่เริ่มวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน โดยการตรวจไข่ขาวโดยใช้แทบตรวจ ถ้าให้ผลบวกก็ไม่ต้องตรวจหาปริมาณ แต่ถ้าให้ผลลบให้เก็บปัสสาวะหาปริมาณไข่ขาว
  2.  สำหรับชนิดที่หนึ่งควรตรวจหลังจากการวินิจฉัย 5 ปี
ตารางแสดงค่า Albumin ในปัสสาวะในภาวะต่าง
category

24-h collection

[mg/24-h]

Timed collection

[mg/min

Spot collection

[mg/g creatinin

normal <30 <20 <30
microalbuminuria 30-299 20-200 30-299
clinical albuminuria >300 >200 >300

การแปรผลว่าไข่ขาวในปัสสาวะจะต้องดูว่ามีสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะที่มีไข่ขาวหรือไม่ ภาวะนั้นได้แก่ น้ำตาลในเลือดเพิ่ม ความดันโลหิตสูง การออกกำลังกาย การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หัวใจวาย การที่จะบอกว่ามีไข่ขาวอาจจะต้องตรวจปัสสาวะ 3 ครั้งถ้าค่าขึ้นมากกว่า 2 ครั้งให้ถือว่ามีไข่ขาวในปัสสาวะ

รายละเอียดของไตเสื่อมอ่านที่นี่

ไตเสื่อมจากโรคเบาหวาน | การรักษาไตเสื่อมจากเบาหวาน

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน  

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

โรคแทรกซ้อน | ภาวะฉุกเฉิน | โรคหัวใจ | โรคความดันโลหิตสูง โรคไต  โรคตา  โรคปลายประสาทอักเสบ โรคเบาหวานกับเท้า