ท่าการฝึกโยคะหรืออาสนะ

การออกกำลังกายเพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงในปัจจุบัน อาจจะอาศัยการออกกำลังโดยการวิ่งหรือว่ายน้ำ
การออกกำลังบางชนิดก็อาศัยเครื่องมือช่วยเช่นการใช้รถจักรยาน การวิ่งบนสายพานเป็นต้น แต่การออกกำลังกายของโยคะ หมายถึงการบริหารให้กล้ามเนื้อแข็งแรงแล้วยังเป็นการบริหารจิตใจ และจิตวิญาณให้มีพลัง
การฝึกท่าโยคะเรียก Asanas เป็นการฝึกท่าโยคะและค้างท่านั้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง การฝึกโยคะจะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังทำให้เลือดและสารอาหารไปเลี้ยงประสาทไขสันหลังเพิ่ม การฝึกโยคะจะทำให้การทำงานของต่อมต่างๆรวมทั้งต่อมไร้ท่อทำงานดีขึ้น
ท่าของการฝึกโยคะเป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะ และมีการสอดคล้องกับการหายใจเป็นการรวมกายและจิตร่วมกัน การฝึกท่าโยคะจะเป็นการฝึกประสาท ความยืดหยุ่น ความแข็งแรง การทรงตัว ลดความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ สุขภาพจิตและสุขภาพกายดีขึ้น ท่าที่ใช้สำหรับการฝึกโยคะมีมากมาย แต่จะแบ่งท่าการฝึกดังนี้ ท่าที่เป็นหลักในการฝึกโยคะมีดังนี้
- Corpse Pose (shava-âsana)—
- Forward Bend (pashcîmottâna-âsana)
- Back Bend or Cobra (bhujanga-âsana)
- Sitting Twist (mâtsyendra-âsana)
- Mountain Pose (pârvata-âsana)—for cultivating stability
- Tree Pose (vriksha-âsana)—an excellent exercise for improving your sense of balance
- Standing Forward Bend (pâda-hasta-âsana)
- Standing Side Bend or Triangle (trikona-âsana)
- Warrior's Pose (vîra-bhadra-âsana)
- Shoulder stand (sarvânga-âsana)
- Plough (hala-âsana)
- Adept's Pose (siddha-âsana)—a favorite posture for meditation
ท่ายืน |
|
![]() |
คนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการยืน บางคนลงน้ำหนักส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้า แอ่นพุ่งไปข้างหน้า หลังโก่งทำให้เสียทรวดทรง การฝึกโยคะในท่ายืนจะช่วยลดอาการปวดหลัง และทำให้ทรวดทรงดีขึ้น คลิกอ่านที่นี่ |
ท่ากลับศีรษะลง เท้าชี้ขึ้น |
|
![]() |
การฝึกท่านี้จะทำให้เลือดไปเลี้ยงศีรษะเพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องระวังในคนที่อ้วน ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน การฝึกท่าเหล่านี้อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ผู้ที่มีความดันสูงหรือต่ำ ผู้ที่เป็นต้อกระจกไม่ควรฝึกท่าเหล่านี้ คลิกอ่านที่นี่ |
ท่านั่ง |
|
![]() |
การฝึกท่านั่งมีด้วยกันหลายท่า มีตั้งแต่ง่ายจนยาก ท่านไม่จำเป็นต้องทำทุกท่า ควรจะเลือกท่าที่เหมาะสมกับตัวเอง คลิกอ่านที่นี่ |
ท่านอนหงาย |
|
![]() |
ท่านอนหงายเป็นท่าทำได้ไม่ยาก การฝึกจะทำให้ได้ผลดีต่อร่างกาย กระตุ้นอวัยวะในช่องท้อง ลดอาการปวดประจำเดือน ลดอาการปวดหลัง อ่านที่นี่ |
ท่านอนคว่ำ |
|
![]() |
ท่านอนคว่ำมีวิธีเริ่มต้นอาจจะแตกต่างกัน บางท่าเริ่มจากนอนคว่ำ บางท่าเริ่มจากการคลาน แต่โดยรวมลำตัวต้องอยู่ในท่าคว่ำ คออาจจะเงย ก้มลงหรือขนานกับพื้น จะมีประโยชน์ในการทำให้กล้ามเนื้อหลังแข็งรง อ่านที่นี่ |