การเข้าฌาณ Meditation


การทำสมาธิ

ทะเลสาบที่ไม่มีคลื่นเราจะสามารถมองเห็นก้นทะเลสาบได้ หากมีคลื่นเราไม่สามารถที่จะเห็นก้นทะเลสาบ เปรียบเหมือนจิตใจคนเราหากไม่มีกิเลส โลภ โกรธ หลง หรือความโกรธคือคิดร้าย ใจเราก็สงบ การฝึกให้จิตใจสงบก็คือแก่นอันหนึ่งของการฝึกโยคะ

คนที่เล่นกอล์ฟมักจะติดและเลิกเล่นไม่ได้ทั้งนี้เนื่องจากขณะที่จะตีลูกลงหลุมเขาจะพุ่งความสนใจทั้งหมดในการตี จะไม่คิดเรื่องอื่น วันไหนเขาเล่นอย่างมีความสุขถ้าเขามีสมาธิในการตีดี การที่มีความสุขมิใช่การตีลูกลงหลุม แต่เป็นการที่เขาสามารถสลัดความคิดทั้งหมดได้ในขณะที่เล่นกอล์ฟ

การทำสมาธิไม่ใช่เรื่องซับซ้อน แต่เป็นคุณสมบัติที่ทุกคนมีอยู่เหมือนการนอนหลับ การที่เราสนใจทำงานอย่างหนึ่งโดยที่เวลาผ่านไปโดยที่ไม่รู้ตัวเรียกสมาธิ ความสุขที่ได้จากกำสมาธิจะอยู่ช่วงสั้นๆแล้วหายไป การที่จะทำให้มีความสุขนานขึ้นและมีความสงบ เราต้องรูจักควบคุมจิตใจของเรา และจะต้องมุ่งเน้นไปให้ลึกกว่าจิตใจนั้นคืออัตตา( Self )คือการรู้เท่าทันตัวเองซึ่งก็คือการเข้าฌาณ Meditation

 

วิธีฝึก

การเข้าฌาณเป็นประสบการณ์ของแต่ละคนไม่สามารถที่จะอธิบายได้ เหมือนการอธิบายสีเหลืองให้คนตาบอดฟัง คนที่อยู่ในสภาวะเข้าฌาณจะไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ และไม่มีเหตุผลเหมือนกับคนที่หลับสนิท แต่การเข้าฌาณจะต่างคนที่หลับสนิทตรงที่มีผลทำให้จิตใจสงบ ไม่วอกแวก

ผลจาการเข้าฌาณจะทำให้ร่างกายเสื่อมช้าลง วิธีเข้าฌาณที่ได้ผลมีดังนี้

  1. ต้องฝึกทุกวัน เวลาเดียวกัน สถานที่เดียวกัน และทำแบบเดียวกัน การที่เราทำอย่างสม่ำเสมอจะทำให้จิตใจสงบลง
  2. เวลาที่เหมาะจะเข้าฌาณคือเวลาหลังตื่นนอน และเวลาค่ำเนื่องจากเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงของเวลา หากไม่สามารถทำในเวลาดังกล่าวก็ให้เลือกเวลาที่ว่าง 1 ชั่วโมงในช่วงที่จิตใจสงบ
  3. ควรจะทำให้ห้องที่สงบ อากาศถ่ายเทได้ดี
  4. ให้นั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือเพื่อรับขัวแม่เหล็ก ให้นั่งอย่างมั่นคง นั่งขัดสมาธิ์ คอและหลังตรง
  5. ก่อนการฝึกให้ควบคุมจิตใจตัวเอง ไม่ให้คิดเรื่องปัจจุบัน อนาคต และอดีต
  6. ให้หายใจเข้าออกลึกๆ 5 นาทีเพื่อให้ออกซิเจนไปสมองให้มากที่สุด หลังจากนั้นหายใจตามปกติ
  7. หายใจเข้าออกให้สม่ำเสมอ หายใจเข้านาน 3 วินาที หายใจออก 2 วินาที
  8. ช่วงแรกของการฝึกจิตใจอาจจะวอกแวกก็ไม่เป็นไร
  9. อย่าเร่งให้จิตใจสงบเพราะจะทำให้การเข้าฌาณไม่ได้ผล
  10. กำหนดจุดเพื่อให้จิตใจพักได้แก่จุดตรงระหว่างคิ้ว
  11. อาจจะท่องนะโมร่วมกับการฝึกหายใจ
  12. การท่องซ้ำๆจะเป็นการเชื่อมสู่จิตใจ ทำให้ความคิดไม่วอกแวก
  13. การเข้าสู่สมาธิต้องใช้เวลาในการฝึก อย่ารีบร้อน อย่าหมดความอดทน

ให้ฝึกอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง