ยาลดความดันโลหิตกลุ่มปิดกั้นแคลเซี่ยม Calcium antagonists
กลไกการออกฤทธิ์(Mechanism of action)
การหดตัวของกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีการไหลของแคลเซี่ยมเข้าเซลล์ การ ยับยั้งการเคลื่อนตัวของแคลเซียมไอออนผ่านช่องทางบริเวณผนังของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ และเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ เป็นผลให้เซลล์กล้ามเนื้อเหล่านั้น ไม่สามารถหดตัวได้ จึงเกิดการคลายตัวในที่สุด ผลทำให้เกิดหลอดเลือดแดงทั่วร่างกายขยายตัว รวมทั้งหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ที่ไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้ความดันโลหิตลดลง และเลือดไปเลี้ยงหัวใจดีขึ้น ยาปิดกั้นแคลเซียมแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักตามโครงสร้างทางเคมีและการออกฤทธิ์คือ
1Calcium antagonists (dihydropyridines)
ยาปิดกั้นแคลเซียมกลุ่ม dihydropyridines กลุ่มนี้จะขยายเส้นเลือด แต่ไม่มีผลกดตัวปล่อยกระแสไฟฟ้าในหัวใจ SA node และ AV node ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Nifedipine, Amlodipine, Felodipine, Isradipine, Nicardipine, Nimodipine, Nitrendipine, Niludipine เป็นต้น
ข้อบ่งชี้ในการใช้
- ความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ Isolated systolic hypertension (elderly)
- เจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด Angina pectoris
- กล้ามเนื้อหัวใจหนา LV hypertrophy
- หลอดเลือดแดงตีบ Carotid/Coronary Atherosclerosis
- ตั้งครรภ์ Pregnancy
- Hypertension in blacks
ผลเสียของยา
- หัวใจเต้นเร็ว
- หัวใจวาย
2Calcium antagonists (verapamil/diltiazem)
ยาปิดกั้นแคลเซียมกลุ่ม non dihydropyridines กลุ่มนี้จะขยายเส้นเลือด และมีฤทธิ์กดตัวปล่อยกระแสไฟฟ้าในหัวใจ SA node และ AV node ด้วย ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Verapamil, Diltiazem เป็นต้น ยาในกลุ่มนี้จึงสามารถทำให้หัวใจเต้นช้าลง หรือทำให้มีการปิดกั้นการนำไฟฟ้าในหัวใจได้
ข้อบ่งชี้ในการใช้
- เจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด Angina pectoris
- หลอดเลือดแดงตีบ Carotid/Coronary Atherosclerosis
- Supraventricular tachycardia
ข้อห้ามใช้
- A-V block (grade 2 or 3)
- Heart failure
ขนาดยาที่ใช้
รูปแบบยา |
ขนาดยาที่ใช้/ครั้ง |
ความถี่ในการให้ยา |
กลุ่มDihydropyridines |
||
10-30 มิลลิกรัม |
วันละ 3 ครั้ง |
|
2.5-10 มิลลิกรัม |
วันละ 1 ครั้ง |
|
2.5-20 มิลลิกรัม |
วันละ 1 ครั้ง |
|
Isradipine |
2.5-5 มิลลิกรัม |
วันละ 2 ครั้ง |
10-40 มิลลิกรัม |
วันละ 3 ครั้ง |
|
Nimodipine |
60 มิลลิกรัม |
ทุก 4 ชม. |
Nitrendipine |
10-40 มิลลิกรัม |
วันละ 1 ครั้ง |
กลุ่มnon-dihydropyridines |
||
Verapamil |
40-120 มิลลิกรัม |
วันละ 2-3 ครั้ง |
30-120 มิลลิกรัม |
วันละ 3 ครั้ง |
ประโยชน์ในทางคลินิก(Clinical use)
- รักษาโรคหัวใจขาดเลือด โดยขยายเส้นเลือดหัวใจโคโรนารี่ ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจดีขึ้น รวมทั้ง Prinzmetal ‘s angina
- เป็นยาลดความดันโลหิต
- ใช้รักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดได้ เช่น verapamil ใช้รักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด SVT เป็นต้น
- ใช้รักษาภาวะ Raynaud’s phenomenon(=มีหลอดเลือดส่วนปลายหดตัว เวลาโดนความเย็น ทำให้เลือดไปเลี้ยง ปลายมือเท้า ได้น้อย ทำให้ปวดตามปลายนิ้ว หรืออาจเขียวคล้ำและเนื้อเยื่อส่วนปลายนิ้วตายได้)
- Nimodipine ใช้เฉพาะกรณีหลอดเลือดหดตัวตามหลังเลือดออกในสมองชั้น arachonoid อันเป็นผลจาก เส้นเลือดโป่ง พองในสมอง
อาการข้างเคียง(Adverse drug reactions)
ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ที่พบบ่อยที่สุดคือ ท้องผูก คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ ผื่น บวม ปวดศีรษะ, เวียนหน้า, หน้าแดง ใจสั่นหัวใจเต้นเร็ว มักพบในยาNifedipine ความดันโลหิตต่ำ ขาบวม เป็นผลจากหลอดเลือดขยายตัว พบได้บ่อยในยา Amlodipine
ข้อห้ามในการใช้(Contraindications)
กรณียากลุ่ม non-dihydropyridines
- ไม่ใช้ในรายที่หัวใจเต้นช้ามาก,
- โรคsick sinus syndrome
- ภาวะที่มีการปิดกั้นการนำไฟฟ้าในหัวใจผ่าน AV node,
- โรค WPW syndrome
กรณียากลุ่ม dihydropyridines
- ไม่ใช้ในโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติคตีบรุนแรง
- โรคหัวใจโตชนิด hypertrophic obstructive cardiomyopathy
ข้อควรระวัง(Warnings/precautions)
- ยาในกลุ่ม dihydropyridines ที่ออกฤทธิ์นาน เช่น Felodipine,Amlodipine ต้องระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ,คนสูงอายุ และไม่ควรรับประทานน้ำองุ่น เพราะน้ำองุ่นยับยั้งกระบวนการกำจัดยาออกจากร่างกาย
- ยา verapamil หรือ diltiazem.จะทำให้ระดับยา carbamazepine(Tegretol),simvastatin(Zocor),atorvastatin(Lipitor),และ lovastatin(Mevacor). เพิ่มขึ้นซึ่งอาจจะทำให้เกิดพิษจากยา
ยารักาาความดันโลหิต |