ตำแหน่งที่ฉีดยาอินซูลิน

ข้อบงชี้ในการฉีดอินซูลิน ชนิดของอินซูลิน การดูดซึมของอินซูลิน วิธีการฉีดอินซูลิน



การดูดซึมของยาอินซูลิน

การดูดซึมของอินซูลินในแต่ละคนจะมีความผันผวนแม้ว่าจะฉีดที่ดียวกัน โดยอาจจะพบความผันผวนได้ถึงร้อยละ20-40ทั้งนี้ขึ้นกับ ตำแหน่งที่ฉีด การตอบสนองของเนื้อเบื่อ ความต้านต่ออินซุลิน การไหลเวียนของเลือด ความลึกของการฉีด

ตำแหน่งที่ฉีดยา

ก่อนทำการฉีดอินซูลินท่านควรจะต้องทราบเสียก่อนว่า การฉีดอินซูลินที่บริเวณใดจะทำให้ท่านรู้สึกสะดวก สบาย ง่าย และปลอดภัยรายละเอียดต่อไปนี้จะช่วยให้ท่านสามารถเลือกบริเวณหรือพื้นที่ในการฉีดอินซูลินที่เหมาะสมกับตัวท่าน ตำแหน่งที่สามารถฉีดได้แก่ชั้นไขมันใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง(ห่างจากขอบสะดือ1-2นิ้ว) แขน ต้นขา สะโพก เรียงตาม บริเวณที่ดูดซึมได้ดีที่สุดไปหาน้อย  ควรฉีดก่อนอาหาร 1/2ชม. ตำแหน่งที่ดูดซึมได้ดีที่สุดคือบริเวณหน้าท้องเนื่องจากมีเลือดไปล่อเลี้ยงมากและมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณอื่น ดังนั้นจึงเป็นบริเวณที่เหมาะสมในการฉีดอินซูลินที่ออกฤทธฺ์สั้นและต้องการการดูดซึมที่รวดเร็ว

บริเวณที่ฉีดยา 1 1

การเปลี่ยนตำแหน่งที่ฉีด

การเปลี่ยนตำแหน่งสามารถทำได้โดยเปลี่ยนจากข้างซ้ายไปข้างขวาหรือเปลี่ยนตำแหน่งที่ฉีด เช่นจากต้นขาไปหน้าท้องโดยยึดหลักดังนี้

  • ควรเปลี่ยนบริเวณเดียวกันคือเปลี่ยนจากขาซ้ายไปขาขวา
  • เป็นสิ่งที่ดีที่สุดหากเลือกฉีดอินซูลินที่บริเวณเดียวกันอย่างน้อย 1 สัปดาห์ แล้วจึงย้ายไปฉีดบริเวณอื่น เช่นย้ายจากแขนไปฉีดที่ท้อง ไม่ควรกระทำเพราะมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาล
  • ควรฉีดที่บริเวณเดิม เป็นเวลาอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ แต่ละครั้งไม่ควรฉีดที่จุดๆเดิม เมื่อฉีดครบ 1-2 สัปดาห์แล้วจึงค่อยเปลี่ยนตำแหน่ง
  • ให้ฉีดที่บริเวณเดิมทุกๆวันเพียงแต่ย้ายจุดฉีดให้ห่างออกไปจากเดิม
  • การฉีดบางครั้งอาจมีเลือดออกเล็กน้อย ไม่ควรถูหรือคลึง ให้ใช้นิ้วหรือสำลีชุบแอลกอฮอล์กดลงบนจุดที่ฉีดก็พอ
  • คนบางคนแนะนำให้ฉีดบริเวณหน้าท้องอย่างเดียว 
  • การย้ายตำแหน่งท่ฉีดจะช่วยลดภาวะ lipohypertrophy ซึ่งจะลดการดูดซึมของอินซูลิน


ปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซึมและการออกฤทธิ์ของอินซูลิน

  1. ตำแหน่งที่ฉีดยาดังกล่าวข้างต้น
  2. อุณหภูมิและการถูนวด ถ้าให้ความร้อนหรือถูนวดบริเวณนั้น หรือออกกำลังโดยใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นทำให้การดูดซึมของยาเร็วขึ้น
  3. ความลึกของการฉีด ถ้าฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อจะทำให้การดูดซึมของยาเร็วกว่าใต้ผิวหนัง
  4. ความเข็มข้นของอินซูลิน อินซูลินที่เจือจางจะดูดซึมได้ดีกว่าอินซูลินที่เข้มข้น
  5. จำนวนอินซูลินที่ฉีด การฉีดอินซูลินจำนวนมากจะทำให้ยาอยู่นานขึ้น

   

การใช้อินซูลิน

ข้อบงชี้ในการฉีดอินซูลิน ชนิดของอินซูลิน การดูดซึมของอินซูลิน การบริหารอินซูลิน การผสมอินซูลินวิธีการฉีดอินซูลิน

หลักการรักษา

การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง