การรักษาแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน

การรักษาแผลที่เท้าขึ้นกับความรุนแรงของแผล ขนาดของแผล การติดเชื้อโรค และสภาพของผู้ป่วย

หากท่านพบแผลที่เท้าท่านต้องประเมินสิ่งต่อไปนี้ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการรักษา

  1. ประเมินชนิดของแผลว่าเป็น แผลจากเส้นประสาทเสื่อม แผลจากการขาดเลือด หรือแผลติดเชื้อ
  2. ประเมินความกว้าง และความลึกของแผล
  3. ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือปลอดเชื้อวันละ 2 ครั้งห้ามใช้ alcohol,hydrogen peroxide,Dakin,betadine เข้มข้น เพราะจะระคายเคืองเนื้อเยื่อ
  4. หลีกเลี่ยงมิให้แผลเปียกน้ำ ถูกกด หรือรับน้ำหนัก
  5. ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงค่าแกติ

แนวทางการรักษาแผลที่เท้าไม่รุนแรง

แผลที่ไม่รุนแรงหมายถึงแผลที่มีขนาดความกว้างน้อยกว่า 2 ซม ลึกน้อยกว่า 0.6 ซมและการอักเสบรอบผิวน้อยกว่า 2 ซม การรักษาจะรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้โดยการเพาะเชื้อจากแผล ให้ยาปฏิชีวนะนาน 7-14 วัน ล้างแผลด้วยน้ำเกลือปราศจากเชื้อวันละสองครั้ง หากไม่หายในสองสัปดาห์แนะนำให้พบแพทย์

แนวทางรักษาแผลที่รุนแรง

ความกว้างมากกว่า 2 ซม ลึกมากกว่า 0.6 ซมและการอักเสบรอบผิวมากกว่า 2 ซม ควรจะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล ทำการเพาะเชื้อ ตัดชิ้นเนื้อ หรือทำการขูดเนื้อเยื่อจากก้นแผล ควรจะได้รับปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ หลีกเลี่ยงการกดทับ หากมีหลอดเลือดแดงตีบจะต้องผ่าตัดแก้ไข

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน  

โรคแทรกซ้อนที่เท้า

โรคเท้าในเบาหวาน | ความรู้เกี่ยวกับเบาหวานและเท้า | การดูแลเท้าด้วยตัวเอง | การบริหารเท้า | การดูแลสุขภาพเท้า | ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดเท้า | การใช้รองเท้า | การประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผล | ชนิดของแผลเบาหวาน | การรักษา | เท้าผิดรูป | การเลือกรองเท้า

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

โรคแทรกซ้อน | ภาวะฉุกเฉิน | โรคหัวใจ | โรคความดันโลหิตสูง | | โรคไต | โรคตา | โรคปลายประสาทอักเสบ | โรคเบาหวานกับเท้า