ภาวะกรดยูริกสูง
ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเกิดขึ้นได้อย่างไร
1จากการสร้างกรดยูริกมากเกินไป
กรดยูริกเป็นผลจากขบวนการสลายสารพิวรีนในร่างกายซึ่งสารพิวรินเกิดจากการสลายโปรตีนของร่างกาย ผู้ที่มีกรดยูริกสูงเกิดจากความผิดปรกติของยีนในการสลายสารพิวรีน และยังเกิดจาก
- จากขบวนการสลายสารพิวรีนในร่างกาย และส่วนสำคัญของกรดยูริกในร่างกายเกิดจากสร้างขึ้นเองจากขบวนการเมตะบอลิสซั่ม
- จากอาหารที่รับประทานเข้าไป ซึ่งเป็นส่วนน้อย
2มีการขับยูริกออกน้อยเกินไป
ร่างกายมีขบวนกำจัดกรดยูริกอย่างไร
- ขับออกทางระบบทางเดินอาหาร และซึ่งการขับออกทางระบบทางเดินอาหารจะขับออกได้ประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณกรดยูริกที่ร่างกายสร้างได้ในแต่ละวัน
- ขับออกทางไต ส่วนที่เหลืออีก 2 ใน 3 เป็นการขับออกทางไต จากการศึกษาในคนที่เป็นโรคเกาต์ จะพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 มีความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต กล่าวคือ ที่ความเข้มข้นของระดับกรดยูริกในเลือดที่เท่ากัน คนที่เป็นโรคเกาต์จะมีการขับกรดยูริกออกทางไตได้น้อยกว่าคนปกติที่ไม่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงถึงร้อยละ 40 แสดงว่า ความผิดปกติหลักในผู้ป่วยโรคเกาต์อยู่ที่ความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต
ภาวะกรดยูริกในเลือดเท่าไรจึงจะเรียกว่าสูง
ระดับกรดยูริกในเลือดของเด็กจะมีค่าประมาณ 3.5-4.0 มก./ดล. ในเพศชายเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นระดับกรดยูริกจะมีค่าสูงขึ้น 1-2 มก./ดล. แต่ในเพศหญิงวัยมีประจำเดือนระดับกรดยูริกจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนมีส่วนเร่งการขับกรดยูริกออกทางไต เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนระดับกรดยูริกจะมีค่าสูงขึ้นจนมีระดับเท่าในผู้ชาย
โดยทั่วไปจะถือว่าระดับกรดยูริกในเลือดมีค่าสูงกว่าปกติ เมื่อมีค่ามากกว่า 7.0 มก./ดล. ในเพศชาย และ 6.0 มก./ดล. ในเพศหญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว
สาเหตุของกรดยูริกสูง
มีการเพิ่มขึ้นยูริก |
|||
สาเหตุ |
|||
อาหาร |
เนื้อสัตว์, สุรา, รับประทานน้ำตาล Fructose |
||
โรคเลือด |
โรคมะเร็ง โรคเลือด |
||
ยา |
สุรา ยารักษามะเร็ง |
||
อื่นๆ |
โรคอ้วน โรคสะเก็ดเงิน ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูง, hypertriglyceridemia |
||
มีการขับออกทางไตลดลง |
|||
สาเหตุ |
|||
ยา |
สุรา ยา cyclosporine (Sandimmune),ยาขับปัสสาวะ thiazides, furosemide (Lasix) ยารักษาวัณโรค ethambutol pyrazinamide, ยา aspirin (low-dose), ยารักษาพาร์กินสัน levodopa (Larodopa), ยา nicotinic acid |
||
ไต |
ความดันโลหิตสูง , โรคไต |
||
โรคต่อมไร้ท่อe |
ขาดน้ำn,ภาวะกรดในเลือด ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย หรือเป็นพิษ |
||
อื่นๆ |
อ้วน,ครรภ์เป็นพิษ |
อาหารที่มีสารพิวรีนสูง
อาหารที่มีพิวรีนสูง ให้หลีกเลี่ยง
ตับ ไต, kidney,กุ้ง, ปลา sardines, ปลา herring, หอย, เบคอน ปลา codfish, ปลา trout, เนื้อลูกวัว , เนื้อกวาง, ไก่งวง, เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล
อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง ให้รับประทานบางครั้ง
หน่อไม้ฝรั่ง เนื้อวัว น้ำซุปเนื้อ ไก่ ปู แฮม มะม่วงหิมพานต์ ถั่ว เห็ด กุ้ง หอยนางรม เนื้อหมู ผักขม,
อาหารที่มีพิวรีนน้อย ให้รับประทานได้
น้ำอัดลม กาแฟ ขนมปัง ธัญพืช macaroni, cheese,ไข่ นม น้ำตาล มะเขือเทศ ผักใบเขียว
ลักษณะอาการทางคลินิกของโรคเกาต์
- เกดในชายมากกว่าหญิงประมาณ10เท่า
- พบมากในช่วงอายุ 40-50 ปี หากเกิดก่อนอายุ 50 มักจะเป็นชาย
- ในหญิงจะเป็นเก๊าท์ในช่วงหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว 5-10 ปี
อาการของโรคกรดยูริกสูงเป็นอย่างไร
ลักษณะทางคลินิกที่สำคัญของโรคเกาต์จะมีอาการแสดงใน 2 ระบบ คือ ระบบข้อ และระบบไต
ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงกับความผิดปกติทางโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดที่มีภาวะกรดยูริกในเลือดสูง จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยที่มีระดับกรดยูริกในเลือดต่ำกว่า
- ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตในเลือดสูงร่วมกับมีภาวะกรดยูริกในเลือดสูง จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงแต่มีระดับกรดยูริกปกต
- ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูง จะมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าผู้ป่วยที่มีระดับกรดยูริกในเลือดที่ต่ำกว่า
- ขณะที่เมื่อให้ยา allopurinol ในสัตว์ทดลองเพื่อลดระดับกรดยูริกจะทำให้ความดันโลหิตลดลง รวมทั้งป้องกันการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดแดงได้
โรคร่วมที่พบในโรคเกาต์
เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคเกาต์มักจะพบร่วมกับโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในโลหิตสูง รวมทั้งโรคหลอดเลือดในหัวใจ และกลุ่มอาการเมตะบอลิค ดังนั้นในการดูแลผู้ป่วยโรคเกาต์ แพทย์ผู้ดูแลรักษาจำต้องมองหา และให้การรักษาโรคร่วมเหล่านี้ด้วยเสมอ
การวินิจฉัยโรคเกาต์
การวินิจฉัยโรคเกาต์ที่ดีที่สุดคือ
- การตรวจพบผลึกเกลือยูเรตจากน้ำไขข้อในขณะที่ข้อมีการอักเสบ
- ในรายที่เป็นมานานแล้วและมีปุ่มโทฟัส อาจสะกิดเอาชิ้นเนื้อจากปุ่มโทฟัสไปดูด้วยกล้องจุลทรรศน์หรือกล้องจุลทรรศน์โพราไรซ์ (compensated polarized light microscopy) เพื่อยืนยันการวินิจฉัย
- การ X ray
ในสถานที่ที่ไม่มีกล้องจุลทรรศน์โพราไรซ์ ก็สามารถให้การวินิจฉัยโรคเกาต์ด้วยการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา เนื่องจากการตรวจดูด้วยผู้ชำนาญจะสามารถให้การวินิจฉัยได้ด้วยความไวและความจำเพาะถึงร้อยละ 96.2-100.0 และ 97.1-100.0 ตามลำดับ ดังนั้นในกรณีที่สงสัยโรคเกาต์และผู้ป่วยมีข้ออักเสบจึงควรทำการเจาะตรวจน้ำไขข้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัยเสมอ
การรักษาโรคเกาต์
การรักษาโรคเกาต์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยา การรักษาด้วยวิธีการใช้ยา การรักษาโรคร่วม และการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยา
ถึงแม้ว่าโรคเกาต์เป็นโรคที่เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง และในปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ใช้ในการรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูงก็ตาม แต่การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยาก็ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งแพทย์ส่วนใหญ่ได้ละเลยความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ไป
อ่านเรื่องการรักษากรดยูริกโดยไม่ต้องใช้ยา
การรักษาด้วยวิธีการที่ใช้ยา
การรักษาด้วยวิธีการที่ใช้ยา จะขึ้นกับจุดประสงค์ในการรักษาเป็นหลัก โดยทั่วไปการรักษาด้วยวิธีการที่ใข้ยาจะขึ้นกับระยะของโรคเกาต์ ได้แก่
การรักษาโรคร่วม
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า ผู้ป่วยโรคเกาต์มักจะมีโรคร่วมหลายประการ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไขมันในโรหิตเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และกลุ่มอาการเมตะบอลิค เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ก่อให้เกิดภาวะไตทำงานบกพร่อง รวมทั้งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง จากการศึกาที่พบว่าภาวะกรดยูริกในเลือดสูงสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต รวมทั้งหลอดเลือดสมองและหัวใจ ดังนั้นเมื่อให้การวินิจฉัยโรคเกาต์ แพทย์ผู้ให้การวินิจฉัยจำเป็นต้องมองหาโรคร่วมเหล่านี้ รวมทั้งมองหาโรคหรือภาวะที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะกรดยูริกในเลือดสูง เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมด้วยทุกครั้ง
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าการรักษาโรคร่วมจะทำให้การควบคุมเก๊าท์ทำได้ดีขึ้นก็ตาม แต่จากการที่พบว่าโรคร่วมที่พบบ่อย ซึ่งได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในโลหิตสูง ล้วนแต่ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะไตวาย ซึ่งในปัจจุบันก็มีข้อมูลที่สนับสนุนว่าภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด รวมทั้งภาวะไตวายด้วยเช่นกัน จึงควรทำการรักาได้ด้วยกัน
การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
โดยปกติแล้วโรคเกาต์เป็นโรคที่รักษาด้วยยา แต่มีบางกรณีที่มีภาวะที่จำเป็นต้องอาศัยการผ่าตัดแก้ไข เช่น ในกรณีที่ก้อนโทฟัสโตมากและกดเส้นประสาทหรือไขสันหลัง หรืออยู่บริเวณข้อและทำให้ข้อไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มที่ หรือก้อนอาจไปกดเส้นเอ็นและทำให้เส้นเอ้นขาดได้ เป็นต้น กรณีการผ่าตัดแก้ไขก็จะมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมความผิดปกติต่าง ๆ ให้กลับมาดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การจะผ่าตัดจำเป็นที่แพทย์ต้องเตรียมผู้ป่วยให้ดี เพื่อป้องกันการอักเสบกำเริบหลังการผ่าตัดด้วยเสมอ
สรุป
โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบเฉียบพลันที่เกิดจากรดยูริกในเลือดสูงเกิดค่าจุดอิ่มตัว จะมีอาการ
- อาการข้ออักเสบเฉียบพลัน
- โรคข้ออักเสบเรื้อรัง
- ทำให้ไตทำงานบกพร่อง
- การเกิดนิ่วกรดยูริกในทางเดินปัสสาวะ (uric acid stone)
- และการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด
การรักษาโรคเกาต์ประกอบไปด้วย
- การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา
- การรักษาโดยการใช้ยา
- การรักษาโรคร่วม
- การผ่าตัด