โรคเกาต์คืออะไร

โรคเกาต์จัดเป็นโรคข้ออักเสบเฉียบพลันที่พบได้บ่อยที่สุดในมนุษย์ โรคนี้เกิดจากความผิดปกติในขบวนการเมตะบอลิสซั่มของกรดยูริกในร่างกาย เป็นผลให้กรดยูริกในเลือดมีค่าสูงกว่าปกติ เกิดการตกตะกอนเป็นผลึกเกลือยูเรต (monosodium urate) สะสมในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะข้อและไต

เมื่อมีอาการแสดงเต็มที่ จะประกอบไปด้วย

  1. อาการข้ออักเสบเฉียบพลัน
  2. โรคข้ออักเสบเรื้อรัง
  3. ทำให้ไตทำงานบกพร่อง
  4. การเกิดนิ่วกรดยูริกในทางเดินปัสสาวะ (uric acid stone)
  5. และการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด

ในรายที่เรื้อรังการเกาะของเกลือ monosodium urate จะทำให้เกิดก้อนที่เรียกว่า Tophi ทำให้เกิดการอักเสบของข้อ เนื่องจากมีการเกาะของ เกลือ uric บริเวณข้อ และเอ็นหากเป็นเรื้อรังจะทำให้ข้อผิดรูปและเสียหน้าที่ในการทำงาน นอกจากนั้นยังทำให้หน้าที่ของไตเสื่อมและเกิดโรคนิ่วที่ไตด้วย

โรคเกาต์จะหมายถึงภาวะที่มีการเกาะของยูริกที่ข้อทำให้เกิดการอักเสบมีอาการปวด บวมแดงร้อน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์อาจจะมีกรดยูริกในเลือดสูงหรือปกติก็ได้ และผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงก็ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเกาต์เสมอไป โรคเกาต์เป็นในผู้ชายมากว่าผู้หญิง 9 เท่าและมักเป็นวัยกลางคนขึ้นไป ส่วนผู้หญิงมักเป็นหลังจากหมดประจำเดือน

สาเเหตุของโรคเกาต์

สาเหตุของโรคเกาต์เกิดจากการที่มีกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปรกติ ซึ่งสาเหตุที่กรดยูริกสูงได้แก่

1ภาวะที่มีการสร้างกรดยูริกสูง

กรดยูริกในเลือดที่สูงในมนุษย์จะเป็นผลมาจากการที่ขาดยีนในการสลายกรดยูริกแล้ว ยังพบว่ากรดยูริกในร่างกายมนุษย์จะได้มาจาก 2 แหล่ง คือ

  1. จากขบวนการสลายสารพิวรีนในร่างกาย โดยการสลายโปรตีนและได้สารพิวรินออกมา ซึ่งกรดยูริกในร่างกายส่วนใหญ่จะเกิดจากกระบวนการนี้
  2. จากอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยรับประสานอาหารที่มีพิวรีนสูง

2การขับกรดยูริกออกจากร่างกายลดลง

กรดยูริกที่สร้างขึ้นจะมีการขับออกจากร่างกาย 2 ทางหลัก คือ

  1. ขับออกทางระบบทางเดินอาหาร และ ซึ่งการขับออกทางระบบทางเดินอาหารจะขับออกได้ประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณกรดยูริกที่ร่างกายสร้างได้ในแต่ละวัน
  2. ขับออกทางไต ส่วนที่เหลืออีก 2 ใน 3 เป็นการขับออกทางไต

จากการศึกษาในคนที่เป็นโรคเกาต์ จะพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 มีความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต กล่าวคือ ที่ความเข้มข้นของระดับกรดยูริกในเลือดที่เท่ากัน คนที่เป็นโรคเกาต์จะมีการขับกรดยูริกออกทางไตได้น้อยกว่าคนปกติที่ไม่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงถึงร้อยละ 40 แสดงว่า ความผิดปกติหลักในผู้ป่วยโรคเกาต์อยู่ที่ความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต

อุบัติการณ์ของโรคเกาต์

จากการที่พบว่าระดับกรดยูริกในประชากรแต่ละประเทศแตกต่างกัน จึงทำให้พบอุบัติการณ์ของโรคเกาต์ แตกต่างกันไปด้วย ประเทศที่มีประชากรมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศแถบไมโครนีเซีย หรือหมู่เกาะทะเลใต้ ประชากรจะมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงมาก ทำให้พบอุบัติการณ์ของโรคเกาต์พบได้บ่อย และเป็นโรคเกาต์ที่มีอาการรุนแรง จากการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยการติดตามผู้ป่วยที่มีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงโดยไม่มีอาการจำนวน 2,046 คน เป็นระยะเวลา 15 ปี ทำการตรวจระดับกรดยูริกในเลือดเป็นระยะ พบอุบัติการณ์ของโรคเกาต์ร้อยละ 4.9 สำหรับผู้ที่มีระดับกรดยูริกในเลือด 9 มก./ดล. หรือมากกว่า พบอุบัติการณ์ร้อยละ 0.5 สำหรับผู้ที่มีระดับกรดยูริกในเลือดระหว่าง 7-8.9 มก./ดล. และพบอุบัติการณ์เพียงร้อยละ 0.1 สำหรับระดับกรดยูริกในเลือดต่ำกว่า 7.0 มก./ดล. ในประเทศไทยพบความชุกร้อยละ 0.16 ของประชากร โรคเกาต์เป็นโรคที่พบบ่อยในเพศชาย อุบัติการณ์ในเพศหญิงพบได้ประมาณร้อยละ 3-7 และมักพบในช่วงวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว

ภาวะที่เกี่ยวข้องกับระดับกรดยูริกแบ่งได้เป็น

  1. Asymptomatic Hyperuricemia หมายถึงภาวะที่มีกรดยูริกในเลือดสูงโดยที่ไม่มีอาการ
  2. Acute GoutyArthritis
  3. IntercriticalGout เป็นช่วงที่หายจากการอักเสบของข้อ ระยะนี้จะปลอดอาการ ระยะนี้เป็นระยะที่หาสาเหตุ และป้องกันการเกิดซ้ำโดยการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา
  4. Recurrent Gout Arthritis เป็นการที่มีการอักเสบซ้ำของโรคเกาต์ ประมาณร้อยละ 80 จะเกิดการอักเสบซ้ำใน 2 ปี จะมีประมาณร้อยละ7 ที่ไม่มีการอักเสบใน 10 ปี
  5. ChronicTophaceous Gout เมื่อโรคเกาต์ไม่ได้รักษาผู้ป่วยจะปวดข้อบ่อยขึ้น และปวดนานขึ้น ข้อที่ปวดจะเป็นหลายข้อ บางครั้งอาจจะเกิดอักเสบข้อไหล่ สะโพกและหลัง หากไม่รักษาก็จะเกิดการอักเสบเรื้อรังของข้อมีอาการปวดตลอด ข้อจะเสียหน้าที่และเกิดการตกตะกอนของเกลือ monosodium urate ที่ข้อ หู มือ แขน เข่าตั้งแต่เริ่มเป็นจนเกิด tophi ใช้เวลาประมาณ 10 ปี

อาการโรคเก๊าท์

โรคเกาต์

ตำแหน่งที่ปวด

เริ่มเป็นข้อยังไม่ถูกทำลายหากเป็นนานข้อถูกทำลาย

  1. ปวด บวม แดง ร้อน โดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าเป็นข้อที่พบบ่อยที่สุดจะมีอาการปวดข้อโดยมากปวดข้อเดียวแต่ก็ปวดหลายข้อได้ 
  2. อาการปวดมักเป็นๆหายๆ หรือเรื้อรัง
  3. ข้อที่ปวดพบได้ทุกข้อ แต่พบมากข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อนิ้วและข้อศอก
  4. พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  5. ในรายที่เป็นมานานอาจพบนิ่วทางเดินปัสสาวะ
  6. มักปวดตอนกลางคืนอาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆมักจะมีปัจจัยกระตุ้นได้แก่การรับประทานอาหารที่มี uric สูง ดื่ม alcohol ผ่าตัด ความเครียด

ข้อที่พบว่าอักเสบได้บ่อยได้แกข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ และข้อศอกเรียงตามลำดับ พบว่าข้อที่เป็นจะบวม แดง กดเจ็บจากรูปจะเห็นข้อนิ้วหัวแม่เท้าบวมและแดง

ในรายที่เป็นเรื้อรังจะมีการรวมตัวของกรดยูริกเกิดเป็นก้อนที่ข้อเรียก Tophi

การวินิจฉัยและการรักษา | กรดยูริกสูง

เพิ่มเพื่อน