การรักษาโรคเก๊าต์

การรักษาโรคเกาต์จะต้องประกอบไปด้วยการดูแลตัวเองเพื่อมิให้กรดยูริกขึ้น เช่น การลดอาหารเนื้อสัตว์ ลดสุรา และการใช้ยาลดกรดยูริก เรามีวิธีปฏิบัติเมื่อเจาะเลือดแล้วพบว่ากรดยูริกในเลือดสูงAsymptomatic Hyperuricemia

เจาะเลือดพบว่ากรดยูริกสูงแต่ไม่มีอาการอะไร ยังไม่จำเป็นต้องให้ยาเพียงแนะนำให้ลดอาหารที่มี purine ดื่มน้ำมากๆ การจะให้ยาลดกรดยูริกจะให้ในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไต

Acute Gouty Arthritis

การรักษาช่วงที่มีการอักเสบของข้อโดยใช้ยาแก้ปวด และยาลดการอักเสบ

  • ในช่วงที่มีอาการปวดอาจจะรับประทานยาแก้ปวด paracetamol หรือยาแก้ปวดอื่น
  • ช่วงที่มีการอักเสบของข้อให้ใช้ยา colchicine 0.5 mg ทุก 2 ชั่วโมงจนอาการปวดดีขึ้นหรือเกิดอาเจียน และถ่ายเหลว
  • และอาจให้ยาแก้ปวด NSAID เช่น aspirin,indomethacin,ibuprofen,naproxyn,piroxicam ยากลุ่มนี้มีข้อเสียคือปวดท้องและเลือดออกทางเดินอาหารได้
  • ช่วงที่ปวดให้พักและดื่มน้ำมากๆเพื่อป้องกันการตกตะกอนของกรดยูริก
  • ให้นอนพัก ยกเท้าสูง
  • หลีกเลี่ยงการยืนหรือการเดิน

การป้องกันข้ออักเสบ

เป็นการรักษาเพื่อมิให้มีการอักเสบของข้อเรื้อรัง

  • ให้ colchicine 0.6 mg วันละ 1-4 เม็ด ถ้าเริ่มมีอาการของข้ออักเสบให้เพิ่มได้อีก วันละ 1-2 เม็ด
  • การลดกรด uric ในกรณีที่กรด uric >9 mg%และยังมีการอักเสบของข้อ หรือไตเริ่มมีอาการเสื่อมโดยให้allopurinol 200-600 mg/วัน เช่น probenecid 500 mg ให้ครึ่งเม็ดวันละ2 ครั้งค่อยๆเพิ่มเนื่องจากยานี้จะเพิ่มการขับกรดยูริกทางปัสสาวะ ดังนั้นไม่ควรให้ในผู้ป่วยที่มีนิ่วในไตและควรแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ  ยานี้ควรระวังในผู้ป่วยที่ไตเสื่อมเนื่องจากอาจจะเกิดอาการผื่นและแพ้ยาได้ ยากลุ่มนี้ไม่ควรให้ขณะที่มีการอักเสบของข้อเพราะจะทำให้ข้ออักเสบเพิ่มขึ้น
  • ให้ดื่มน้ำมากกว่า 3 ลิตร/วัน

การรักษาเพื่อป้องกันมิให้โรคเกาต์กำเริบโดยการลดน้ำหนัก ควบคุมอาหาร งดสุรา

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเกาต์

  • รรมพันธุ์ ผู้ชายจะเริ่มอายุ 35-40 ปีส่วนผู้หญิงเริ่ม 45 ปีไปแล้ว
  • อ้วน ถ้าน้ำหนักเกิน จะส่งผลให้กรดยูริกในเลือดสูงขึ้นด้วย
  • อาหารที่มี purine สูง
  • อาหารที่มีไขมันสูง
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • ยาที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูงจะลดการขับกรดยูริก ยา aspirin ยารักษาวัณโรค เช่น pyrazinamide and ethambutol
  • เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะกระตุ้นให้มีการสร้างกรดยูริกเพิ่ม
  • ไตเสื่อม
  • โรคที่ทำให้กรดยูริกสูงเช่นโรคมะเร็ง โรคเม็ดเลือดแดงแตก
  • ภาวะขาดน้ำ
  • การไดรับอุบัติเหตุที่ข้อ
  • ได้ยาลดกรดยูริก

ระดับ purine ในอาหารชนิดต่างๆ

  1. มี purine สูงควรหลีกเลี่ยงได้แก่ เป็ด ไก่ เครื่องใน ปลาดุก ปลาอินทรีย์ ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีน ไข่ปลา กุ้ง หอย กะปิ เบียร์ ขนมปัง เห็ด กระถิน ชะอม ขี้เหล็ก ถั่วดำ ถั่วแระ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง
  2. อาหารที่มี purine ปานกลาง ควรรับประทานให้น้อยลงได้แก่ เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากะพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง สะตอ ถั่วลันเตา ข้าวโอต หน่อไม้ กระหล่ำดอก ผักโขม
  3. อาหารที่มี purine ต่ำรับประทานได้โดยไม่จำกัด ได้แก่ แตงกวา ข้าวโพด ผลไม้ ขนมหวาน นม ไข่

กลับหน้าแรก