ยาแก้ปวดลดไข้พาราเซตามอล Paracetamol

หากเกิดอาการดังต่อไปนี้ให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์

  • ไข้ต่ำ คลื่นไส้ แน่ชายโครงขวา เบื่ออาหาร
  • ปัสสาวะสีเข้ม อุจาระซีด
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง

ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา

ยานี้เป็นยาบรรเทาอาการปวดและลดไข้ แต่ไม่ช่วยบรรเทาอาการบวมและร้อนแดงเนื่องจาก ข้ออักเสบ


ใช้ยานี้อย่างไร

  • ยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 10-30 นาที และจะมีฤทธิ์ต่อเนื่องไปได้ 4-6 ชั่วโมง รับประทานได้ วันละ 1-6 ครั้งตามอาการ
  • ยานี้มีขายในรูปแบบหลายชนิด เช่น ยาเม็ดขนาด 325 มก. และ 500 มก.
  • ขนาดใช้ยาในผู้ใหญ่ คือ 325-650 มก. ทุก 4-6 ชั่วโมง หรือ 1,000 มก. วันละ 3-4 ครั้ง ไม่ เกินวันละ 4 กรัม
  • ยาน้ำสำหรับเด็กและทารก มีขายหลายความแรง (ต้องดูฉลากข้างขวดให้ รอบคอบ) มักมีหลอดหยดหรือช้อนชาแนบมากับขวดยาด้วย ขนาดใช้ยาของเด็กและทารกใช้ ตามน้ำหนักของร่างกาย คือ 10-15 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ทุก 4-6 ชั่วโมง ไม่เกิอนวันละ 2.6 กรัม การให้ยาจะหยดเข้าในปากโดยตรง
  • ผู้ใหญ่ไม่ควรเกิน 10 วันและเด็กไม่เกิน 5 วัน หากยังมีอาการปวดหรือมีไข้อยู่หรือมีไข้สูงเกิน กว่า 3 วัน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร


ก่อนใช้ยานี้จะต้องแจ้งแพทย์

  • หากท่านเคยแพ้ยา paracetamol มาก่อน
  • ก่อนรับประทานยาแก้หวัด ยาแก้ไอ หรือยาแก้แพ้อื่น ๆหรือยาแก้ปวด ควร อ่านส่วนประกอบของสูตรยาในฉลากให้แน่ใจก่อนว่าไม่มีส่วนผสมของยา paracetamol นี้ผสมอยู่ด้วยเพราะอาจจะทำให้ได้รับยาเกินขนาด
  • รับประทานยาทั้งขนาด และเวลาตามที่แพทย์สั่ง และถามแพทย์หากรับประทานตามปกติแล้วยังไม่หายปวดจะเพิ่มยาได้หรือไม่
  • วันหนึ่งต้องไม่รับประทานเกินวันละ 4000 มก(ขนาด500 มก ไม่กิน 8 เม็ด)
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากท่านเป็นโรคตับ
  • หากท่านดื่มสุรามากกว่า 3 หน่วยสุราต้องแจ้งแพทย์เพราะอาจจะเกิดผลต่อตับได้ง่าย

ผลข้างเคียงของยา

ยาพาราเซ็ตตมอลมีผลข้างเคียงน้อยมา แต่อาจจะพบได้แก่

  • ผื่น
  • ลมพิษ
  • คันตามตัว
  • บวมหน้า ริมฝีปาก
  • เสียงแหบ
  • หายใจลำบาก

ความปลอดภัยของยานี้ในสตรีมีครรภ์

หรับสตรีมีครรภ์ ยานี้จัดอยู่ในประเภท B

ข้อระวังในการใช้ยากลุ่ม NSAID NSAIDs