การรักษาภาวะโปรตีน(ไข่ขาว)ในปัสสาวะมาก


  • ลดปริมาณเกลือในอาหาร เพราะผู้ที่ไข่ขาวในปัสสาวะมักจะมีอาการบวม การลดเกลือจะช่วยเรื่องบวม
  • ควบคุมความดันโลหิตต้องต่ำกว่า 130/80 mmHg
  • ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงคนปกติ เพราะการควบคุมน้ำตาลที่ดีจะลดโอกาศเสี่ยงการเกิดโรคไต
  • อย่ารับประทานอาหารประเภทโปรตีนมากเกินไป
  • รักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • การใช้ยาเพื่อลดปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะได้แก่ยา AceI, ARB ซึ่งสามารถลดปริมาณไข่ขาวและชะลอการเสื่อมของไต

ในการรักษาไข่ขาวในปัสสาวะจะขึ้นกับปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะ

ไข่ขาวมีปริมาณน้อย Low-level proteinuria

ปริมาณไข่ขาว <1.5 g proteinต่อวันหรือเป็นๆหายๆ,ให้ตรวจปัสสาวะซ้ำทุก 6 เดือนและมั่นตรวจ

  • ความดันโลหิต
  • ตรวจปัสสาวะหาโปรตีนและเลือดในปัสสาวะ
  • เจาะเลือดดูการทำงานของไต creatinine.

ไข่ขาวมีปริมาณมาก Higher-level proteinuria

ปริมาณไข่ขาวมากกว่า >1.5 gต่อวันการดูแลจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ และจะต้องตรวจหาสาเหตุ

  • นำปัสสาวะไปส่องกล้องตรวจ
  • Glomerular filtration rate.
  • การตรวจ Renal ultrasound.
  • การฉีดสีPossible intravenous urography.
  • ส่งเลือดตรวจโรค SLE
  • การเจาะเนื้อไตส่งตรวจPossibly renal biopsy.

นอกจากนั้นจะต้องรักาาต้นเหตุ เช่นโรค SLE,ไตอักเสบ

การป้องกันการเกิดไข่ขาวในปัสสาวะ

หากท่านอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดไข่ขาวในปัสสาวะ ท่านจะต้องปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

  • ให้ตรวจเลือดและปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดไข่ขาวในปัสสาวะต้องตรวจเลือดและปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอเพื่อที่จะได้ตรวจพบโรคแต่แรกเริ่ม ซึ่งบางโรคสามารถป้องกันได้
  • ให้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ เพราะภาวะที่ขาดน้ำร่วมกับการรับประทานยาจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดไข่ขาวในปัสสาวะ
  • ควบคุมโรคที่ท่านเป็นอยู่ให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด เช่นโรคความดันดลหิตสูง โรคเบาหวาน
  • ควบคุมอาหารให้สมดุล ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดไข่ขาวในปัสสาวะจะต้องรับประทานอาหารพวกแป้งประมาณร้อยละ 50 อาหารโปรตีนร้อยละ 20 อาหารไขมันร้อยละ 30
  • รับประทานอาหารที่มีใยอาหารอย่างน้อย 55 กรัมต่อวันเช่น ธัญพืช ผัก ผลไม้ ใยอาหารจะลดสารพิษที่จะถูกดูดซึม

หากตรวจพบไข่ขาวในปัสสาวะจะเป็นโรคอะไรได้บ้าง

Causes of Proteinuria2
Transient proteinuria
  • ความเครียด
  • การออกกำลังกาย
  • ไข้
  • ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • Orthostatic (postural) proteinuria*.
  • ชัก
  • ไตรั่ว
เป็นโรคไต
  • Focal segmental glomerulonephritis.
  • IgA nephropathy (i.e. Berger's disease).
  • IgM nephropathy.
  • Membranoproliferative glomerulonephritis.
  • Membranous nephropathy.
  • Minimal change disease.
จากโรคหรือภาวะอื่นๆ
  • Alport's syndrome.
  • Amyloidosis.
  • Sarcoidosis.
  • Drugs (e.g. non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs), penicillamine,
    gold, angiotensi-converting enzyme (ACE) inhibitors).
  • Anderson-Fabry disease.
  • Sickle cell disease.
  • Malignancies (e.g. lymphoma, solid tumours).
  • Infections (e.g. HIV, syphilis, hepatitis, post-streptococcal infection).
Tubular causes
  • Aminoaciduria.
  • Drugs (e.g. NSAIDs, antibiotics).
  • Fanconi's syndrome.
  • Heavy metal ingestion.
Overflow causes
  • Haemoglobinuria.
  • Multiple myeloma.
  • Myoglobinuria.
Other important causes (likely to have multiple pathologies)
  • Pre-eclampsia/eclampsia.

โรคที่มักพบร่วมกับไข่ขาวในปัสสาวะ

หากตรวจพบไข่ขาวปัสสาวะท่านอาจจะเป็นโรคอื่นร่วมด้วยเช่น

หากท่านเป็นความดันโลหิตสูงและมีไข่ขาวในปัสสาวะยาที่ควรจะใช้ได้แก่ ACE inhibitor หรือ ARB

เมื่อไรจึงจะพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

หากท่านมีสิ่งตรวจพบดังต่อไปนี้ควรจะพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  • Proteinuria >1.5 g/day. ซึ่งเท่ากับโปรตีน >700 mg/Lหรือ protein/creatinine ratio >40 mg/mmol
  • ตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ
  • ไตเริ่มเสื่อมโดยค่า creatinine สูงขึ้น
  • มีความดันโลหิตสูง
  • มีอาการอื่นๆ เช่นปวดข้อ มีผื่น
  • ประวัติครอบครัวเป็นโรคไต.
  • ปริมาณ protein/creatinine >45 mg/mmolและส่องกล้องพบเม็ดเลือดแดง

การตรวจปัสสาวะ โรคไตเสื่อม โรคเนฟโฟติก โรคไตวาย โรคไตเบาหวาน ไข่ขาวในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูง

อัตรากรองของไต | Creatinin | BUN | การตรวจปัสสาวะ | การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ | การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด | การตรวจไขมันในเลือด | การตรวจเกลือแร่ | แคลเซี่ยม