อาการของกลุ่มอาการเนโฟติกเป็นอย่างไร


อาการสำคัญที่ผู้ป่วยเนโฟติกมาพบแพทย์ได้แก่บวม

  • อาการบวมหลังเท้า บวมหนังตา และบวมทั้งตัว แรกๆที่อาการไม่มากจะบวมเฉพาะตอนสายๆ แต่เมื่อไข่ขาวรั่วมากขึ้นจะบวมทั้งวัน และหากเป็นมากจะบวมท้องร่วมด้วย
  • ปัสสาวะเป็นฟองเนื่องจากมีโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะเป็นปริมาณมาก
  • น้ำหนักขึ้น หรือรองเท้าคับ หรือคับเอวจนใส่กางเกงไม่ได้ เนื่องจากมีการคั่งของน้ำในร่างกาย

การวินิจฉัยกลุ่มอาการเนโฟติกทำอย่างไร

หากท่านไปพบแพทย์ด้วยอาการบวมเท้า แพทย์สงสัยว่าท่านจะเป็นกลุ่มโรคเนโฟติก แพทย์จะตรวจดังต่อไปนี้

  • การตรวจปัสสาวะ Urine tests.โดยเน้นการตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ เซลล์เม็ดเลือดแดง ตะกอนต่างๆ และหากพบว่ามีโปรตีนหรือไข่ขาวแพทย์จะแนะนำให้ท่านเก็บปัสสาวะตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อหาค่าโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะ
  • การเจาะเลือดตรวจ Blood tests.แพทย์จะตรวจหาโปรตีนในเลือดซึ่งหากสูญเสียทางปัสสาวะมากก็จะมีระดับโปรตีนในเลือดต่ำ นอกจากนั้นจะตรวจหาระดับไขมัน Cholesterol,Triglyceride ซึ่งจะมีค่าสูง และตรวจหาค่า Creatinine ซึ่งจะบอกการทำงานของไต
  • การเจาะเอาเนื้อไตไปส่องกล้องตรวจเรียกว่า kidney biopsyโดยการใช้เข็มเจาะเอาชิ้นเนื้อไตเพื่อไปส่องกล้อง


การรักษากลุ่มอาการเนโฟติก

การรักษาโรคเนโฟติกจะต้องรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเช่นโรค SLE จึงจะทำให้ควบคุมโรคได้ นอกจากนั้นแพทย์จะจ่ายยาเพื่อลดอาการหรือยาที่รักษาโรคแทรกซ้อนยาที่แพทย์มักจะจ่ายได้แก่

  • ยาลดความดันโลหิต AceI( angiotensin-converting enzyme inhibitors)และยา ARB จะลดความดันโลหิตและลดปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะ.
  • ยาขับปัสสาวะ  เนื่องจากโรคเนโฟติกจะมีการคั่งของน้ำและเกลือจึงต้องให้ยาขับทั้งน้ำและเกลือส่วนเกินออกจากร่างกาย
  • ยาลดไขมัน ได้แกกลุ่มยา statinsซึ่งจะลดไขมันได้ดียาในกลุ่มนี้ได้แก่ atorvastatin , fluvastatin , lovastatin, pravastatin, rosuvastatin และ simvastatin
  • ยาละลายลิ่มเลือด เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มโรคเนโฟติกจะเกิดลิ่มเลือดได้บ่อยจึงอาจจะจำเป็นต้องให้ยาละลายลิ่มเลือด
  • ยากดภูมิคุ้มกัน เนื่องจากโรคในกลุ่มนี้มักจะมีการอักเสบของไต การให้ยาลดการอักเสบจะทำให้ควบคุมโรคได้ดีขึ้น เช่นยา Steroid
  • ยาปฏิชีวนะสำหรับควบคุมโรคติดเชื้อ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

เนื่องจากกลุ่มโรคเนฟโฟติกจะมีการเปลี่ยนแปลงระดับไขมัน และมีการเพิ่มของปริมาณน้ำและเกลือแร่ จึงจำเป็นที่จะปรับพฤติกรรมในการดำรงชีวิตเพื่อควบคุมอาการสิ่งที่ต้องกระทำมีดังต่อไปนี้

  • เนื่องจากกลุ่มโรคนี้มีระดับไขมันในเลือดสูง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องลดปริมาณในอาหารลงโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวอ่านที่นี่
  • เนื่องจากมีการเพิ่มขึ้นของเกลือและน้ำทำให้มีอาการบวมดังนั้นจึงจำเป็นต้องลดอาหารเค็ม อ่านที่นี่
  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยม

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

  • เลือดแข็งตัวง่ายเนื่องจากร่างกายสูญเสียส่วนประกอบที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือดทางปัสสาวะ
  • ไขมันในเลือดจะสูง
  • ขาดสารอาหารเนื่องจากสูญเสียสารอาหารทางปัสสาวะ
  • ความดันโลหิตสูง เนื่องจากมีการคั่งของของเสีย
  • ไตวายเฉียบพลันเนื่องจากมีการคั่งของของเสียอย่างเฉียบพลัน
  • ไตวายเรื้อรังเนื่องจากมีการสูญเสียเนื้อไตที่ละน้อยจนทำให้เกิดไตวาย
  • เกิดากรติดเชื้อได้ง่าย

คำถามที่ท่านต้องการคำตอบจากแพทย์

เมื่อท่านได้พบแพทย์แล้วท่านต้องตอบคำถามเหล่านี้ได้ซึ่งจะทำให้ทานสามารถเข้าใจโรคและวางแผนการดำเนินชีวิต

  • สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค nephrotic syndrome
  • จะต้องตรวจอะไรบ้าง
  • เป็นโรคนี้จะเป็นโรคเรื้อรังหรือไม่ และจะกลายเป็นโรคไตวายหรือไม่
  • เป็นโรค nephrotic syndrome รักษาได้หรือไม่
  • การรักษาโรคนี้มีกี่วิธี
  • การรักษาแต่ละอย่างมีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง
  • การรักษาที่ดีที่สุดในขณะนี้คืออะไร
  • จะต้องปรับการรับประทานอาหารอะไรบ้าง
  • จะต้องพบนักโภชนาการหรือไม่
  • หากมีความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูงจะต้องดูแลอย่างไรบ้าง
  • มีข้อห้ามหรือข้อจำกัดอะไรบ้าง
  • จะต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือไม่

กลับหน้าแรก

โรคไตเรื้อรัง โรคไต ไข่ขาวในปัสสาวะ

 

เพิ่มเพื่อน