ไตเสื่อมจากยา
เป็นโรคไตที่เกิดจากการรับประทานยาแก้ปวดซึ่งอาจจะเป็นยาชนิดเดียวหรือยาผสมหลายชนิดโดยเฉพาะยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไต
- การใช้ยาแก้ปวดเป็นเวลานานๆ
- รับประทานยาเกินขนาดที่แนะนำ
- ใช้ยาที่มีตัวยาหลายชนิดผสมกันเช่น paracetamol ,aspirin,codiene,caffeine,, ibuprofen, naproxen sodium
- ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือรับประทานยาคลายเครียด
- ผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ
- ผู้ป่วยที่มีโรคนิ่วในไต
- ผู้ป่วยไตวายอยู่ก่อน
- ผู้ป่วยที่อยู่ในสภาพขาดน้ำ
- ผู้ป่วยที่มีอายุมาก
ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ SLE, อายุมาก, โรคไต, ดื่มสุราจัด เมื่อให้ยากลุ่มดังกล่าวเพียงแค่ เม็ดเดียวก็อาจจะเกิดไตวายได้
โรคหรือภาวะที่ผู้ป่วยมักจะรับประทานยาแก้ปวด
- ปวดศีรษะเรื้อรัง
- ปวดหลังเรื้อรัง
- ปวดประจำเดือน
อาการของผู้ป่วยไตเสื่อมจากยา
ผู้ป่วยอาจจะไม่อาการอะไรในระยะที่เริ่มมีปัญหา หากยังคงรับประทานยาต่อก็จะเกิดอาการของโรคไตคือ
- อ่อนเพลีย อ่อนแรง
- ปัสสาวะบ่อย
- ปัสสาวะมีเลือดปน
- ปัสสาวะน้อยลง
- ปวดเอว
- คลื่นไส้อาเจียน
- มีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกเช่น ซึมลง ความจำเสื่อม
- มีจ้ำเลือด บวมตามตัว
การตรวจเพื่อวินิจฉัย
- ถ้าหากผู้ป่วยไตวายอาจจะมีอาการไอและหอบ
- ความดันโลหิตจะสูงขึ้น
- ตรวจเลือดพบว่าเป็นโลหิตจาง
- ตรวจปัสสาวะพบเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดงและไข่ขาว
- การเจาะเลือดตรวจการทำงานของไต
การรักษา
- ให้หยุดยาที่รับประทาน
- รักษาภาวะไตวาย
การป้องกัน
ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรพบแพทย์เพื่อรับประทานยาให้ถูกต้อง และควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนที่จะซื้อยารับประทานเอง หากท่านผู้ใดรับประทานยาแก้ปวดเรื้อรังก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจการทำงานของไต