น้ำตาลในเลือดต่ำ [Hypoglycemia]
ะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นภาวะแทรกซ้อน ที่น้ำตาลในเลือดต่ำโดยทั่วไปถือว่าต่ำกว่า 70 mg% โดยที่มีอาการแสดงของน้ำตาลในเลือดต่ำ สาเหตุอาจจะเกิดจากรับประทานยามาก ไตเสื่อมหรือไม่ได้รับประทานอาหารตามเวลา
เมื่อไรจึงจะเรียกว่าน้ำตาลในเลือดต่ำ Hypoglycemia
การจะวินิจฉัยว่าน้ำตาลในเลือดต่ำอาศัยเกณฑ์ 3 ประการได้แก่
ท่านจะทราบได้อย่างไรว่าเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
อาการและอาการแสดงของน้ำตาลในเลือดต่ำแบ่งออกเป็นสองประเภท
- อาการทางออโตโนมิค ได้อาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิคสูง มือสั่นกระสับกระส่าย คลื่นไส้ เหงื่อออก ชา รู้สึกหิว หากเกิดอาการดังกล่าวให้หาน้ำผลไม้หรือนมหนึ่งกล่องทันที
- อาการสมองขาดกลูโคส เมื่อสมองขาดน้ำตาลจะมีอาการอ่อนเพลีย ผิวหนังจะเย็นและชื้น อุณหภูมิร่างกายต่ำ มึนงง ปวดศีรษะ ความจำลดลง สับสน ปฏิกิริยาตอบสนองลดลง ตาพร่า พูดช้า ง่วงซึม หลงลืม พฤติกรรมเปลี่ยน บางคนมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีกคล้ายหลอดเลือดสมอง หากอาการเป็นมากจะชักและหมดสติได้
การประเมินความรุนแรงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ความรุนแรงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับตามอาการและอาการแสดงที่ปรากฎ และความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง ได้แก่
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับไม่รุนแรง Mild hypoglycemia หมายถึงผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำแต่ไม่มีอาการออโตโนิก เช่นอาการใจสั่น ผู้ป่วยสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับปานกลาง Moderate hypoglycemia หมายถึงภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำ และมีอาการออโตโนมิค และอาการสมองขาดกลูโคสเกิดขึ้นเล็กน้อยหรือปานกลาง ผู้ป่วยสามารถแก้ไขด้วยตนเอง
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรง Severe hypoglycemia ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองต้องอาศัยผู้อื่นช่วยเหลือ หรือรุนแรงมากจนหมดสติหรือชัก
ใครที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
การวินิจฉัยภาวะน้ำตาลต่ำ
ถ้าหากมีอาการดังกล่าวให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหากพบว่าต่ำกว่า 50มก.ก็วินิจฉัยได้
การป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ
การรักษาภาวะน้ำตาลต่ำ
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับไม่รุนแรงและระดับปานกลาง
ภาวะนี้อาจจะเกิดที่บ้านหรือที่โรงพยาบาล หากเกิดอาการของน้ำตาลต่ำและมีเครื่องเจาะเลือดก็ให้เจาะเลือดถ้าผลน้ำตาลในเลือดต่ำก็ให้ดำเนินการดังนี้
- ให้รับประทานอาหารที่มีแป้ง 15 กรัม เช่นน้ำส้มคั้นหนึ่งแก้ว น้ำอัดลม 180 ซีซี น้ำผึ้งสามช้อนชา ขนมปังหนึ่งแผ่น นมสดหนึ่งกล่อง กล้วยหนึ่งผล โจ๊กหรือข้าวต้มครึ่งถ้วย อาการมักจะดีขึ้นหลังได้รับอาหารดังกล่าว
- หลังจากรับประทานอาหารดังกล่าวไปแล้ว 15 นาทีให้เจาะเลือด
- หากน้ำตาลยังต่ำกว่า 70 มก%ก็ให้รับประทานอาหารดังกล่าวเบื้องต้นอีกชุดหนึ่ง
- หากอาการดีขึ้นระดับน้ำตาลมากกว่า80 มก%ก็ให้รับประทานอาหารตามปกติ หากต้องรออาหารปกตินานเกินหนึ่งชั่วโมงก็ให้อาหารว่างรับประทานไปก่อน
สำหรับท่านที่ไม่มีเครื่องเจาะน้ำตาลแนะนำให้ท่านรับประทานขนมปัง หรือนมหนึ่งกล่องรอสิบถึงสิบห้านาทีหากไม่หายให้รีบพบแพทย์
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำชนิดรุนแรง
สำหรับผู้ป่วยที่พอจะรู้สึกตัวก็ให้ดื่มน้ำหวานก่อนนำส่งโรงพยาบาล หากผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวก็แนะนำว่าไม่ควรที่จะให้ดื่มหรือรับประทานอาหารเพราะจะทำให้ผู้ป่วยสำลักและเกิดปอดบวมได้
การป้องกัน
ภาวะคีโตซีส | ภาวะหมดสติจากน้ำตาลสูง | ภาวะน้ำตาลต่ำ
ภาวะฉุกเฉินในผู้ป่วยเบาหวาน |
โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน
โรคแทรกซ้อน | ภาวะฉุกเฉิน | โรคหัวใจ | โรคความดันโลหิตสูง| โรคไต | โรคตา | โรคปลายประสาทอักเสบ | โรคเบาหวานกับเท้า