ยาพ่อรักษาโรคหอบหืด Inhaled Corticosteroids
ยาพ่อรักษาโรคหอบหืดInhaled steroid จัดอยู่ในกลุ่ม Long-Term Control medications [ Controller]
เป็นยาที่ต้องใช้ทุกวันที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมีอยู่3ชนิดคือ beclmethasone, budesonide, fluticasone วิธีการให้ยามี3วิธีคือ MDI DPI และ Neubulizer , Terbuhaler ,Diskhaler,Diskusท่านสามารถตรวจสอบชื่อยา และขนาดได้จากตารางข้างล่างขนาดยาที่ให้โดยมากแบ่งเป็น3ขนาดคือ ขนาดต่ำ ขนาดปานกลาง ขนาดสูง แพทย์จะเลือกชนิดยา และปรับขนาดยาตามความรุนแรงของโรค
ตารางบริหารยาสำหรับผู้ใหญ่

ตารางการบริหารยาสำหรับเด็ก

ผลข้างเคียงของ inhaled steroid
- เชื้อราในปาก
- เสียงแหบ
- ไอ
การแก้ไขผลข้างเคียงของ inhaled steroid
- พ่นยาโดยใช้ spacers/chamber
- บ้วนปากหลังพ่นยาทุกครั้ง
- ใช้ขนาดยาให้ต่ำสุดที่คุมอาการได้
- ผู้ป่วยที่หอบกลางคืนให้ใช้ inhaled stroid ขนาดปานกลางร่วมกับ long-acting beta2-agonist แทน inhaled steroid ขนาดสูง
- หญิงวัยทองต้องให้ calcium ในรายที่ได้ inhaled steroid ขนาดสูง
steroid ชนิดกินสามารถใช้ได้ทั้งการคุมโรคหอบหืดในระยะยาวและบรรเทาอาการระยะสั้น แพทย์จะใช้ยาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง และจะใช้ยาในระยะเวลาสั้นๆ
- บรรเทาอาการระยะสั้น[quick-relief]ให้ยา3-10วันในผู้ป่วยที่มีอาการหอบฉับพลันที่ความรุนแรงระดับปานกลางถึงมากขนาดที่ให้ 60-80mg/day[prednisolone]
- การคุมโรคในระยะยาวให้ใช้ยาขนาดต่ำที่สุดที่คุมอาการของโรคและให้ยาแบบวันเว้นวันตอนบ่ายเพื่อลดอาการแทรกซ้อน
ผลขางเคียงของยา
- ใช้ระยะสั้นไม่ค่อยมีโรคแทรกซ้อน
- ใช้ระยะยาวอาจทำให้เกิดโรค เบาหวาน ควาทดันโลหิตสูง ต้อกระจก กระดุกพรุน กระเพราะอาหาร ติดเชื้อวัณโรคปอดได้ง่าย
Corticosteroid | Cromolyn sodium | Long-acting beta2-agonists | Theophylline | Leukotriene | Short-acting Beta2-agonists | Anticholinergics | systemic corticosteroids
ต้องรู้เกี่ยวกับโรคหอบหืด | ต้องรู้จักวิธีพ่นยา | ต้องรู้จักชนิดของยาที่รักษา | ต้องมีแผนการรักษาด้วยตัวเอง | ต้องมีแผนฉุกเฉินในการรักเวลาหอบมาก | ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่แพ้ | ต้องรู้จักประเมินอาการของโรค | ต้องมีแผนเรื้อรัง