สาเหตุของโรคหอบหืด
ช่วงที่ไม่มีอาการของโรคหอบหืด ผู้ป่วยจะเหมือนคนปกติ ไม่หอบ ไม่แน่นหน้าอก เล่นกีฬาได้ แต่เมื่อผู้ป่วยได้รับสารที่เป็นภูมิแพ้ผู้ป่วยจะเกิดอาการหอบ แน่นหน้าอก และไอ สำหรับสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้แบ่งได้เป็นหัวข้อดังนี้
- สารภูมิแพ้ในบ้าน
- สารภูมิแพ้นอกบ้าน
สารภูมิแพ้ในบ้าน
แม้ว่าบ้านจะเป็นที่ปลอดภัยสำหรับตัวท่าน หากคุณเป็นโรคหอบหืด บ้านก็อาจจะเป็นแหล่องที่กระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืด คุณควรจะจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม สารก่อภูมิแพ้หลายชนิดเช่น รา เกสรดอกไม้ มลภาวะ ก็สามารถพบได้ในบ้านของท่าน หากคุณทราบชนิดของสารภูมิแพ้ต้องพยายามหลีกเลี่ยงสารภูมิแพ้ต่างๆ เนื่องจากหากได้รับสารภูมิแพ้นานๆทำให้โรคหอบหืดกำเริบเฉียบพลันได้บ่อยและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
Animal Allergen
สารภูมิแพ้จากสัตว์เลี้ยงเช่น สุนัข แมว หนู นก สารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ได้แก่ รังแค ขน ปัสสาวะ อุจาระ น้ำลาย หากคุณแพ้คุณควรที่จะป้องกันดังต่อไปนี้
- ย้ายสัตว์และขนสัตว์ออกจากบริเวรบ้าน ถ้าไม่สามารถย้ายออกจากบ้านให้ เอาขนสัตว์ออกจากห้องนอน
- ปิดประตูห้องนอนติดเครื่องกรองอากาศที่มีแผ่นกรองHEPAก่อนที่อากาศจะเข้าห้อง
- ไม่ใช้พรมในห้องนอน
- อาบน้ำให้สัตว์อาทิตย์ละสองครั้ง
- ทำความสะอาดบ้านบ่อยๆโดยใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีแผ่นกรองHEPA
- หู้มปลอกหมอนและเตียงด้วยสารป้องกันภูมิแพ้
- เลี้ยงปลาได้
About pets and asthma
โปรตีนจากผิวหนัง ปัสสาวะ อุจาระ น้ำลาย ขนของสัตว์ เช่นสุนัข แมว หนู และสัตว์เลือดอุ่นสามารถกระตุ้นให้กิดโรคหอบหืด วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือไม่นำสัตว์เลี้ยงมาเลี้ยงในบ้าน และทำความสะอาดบ้านทั้งพรมและผ้าม่าน
แต่บางท่านไม่นำสัตว์เลี้ยงไว้ห้องนอน หรือนำเลี้ยงในห้องที่มีพรมสำหรับบางท่านก็ทำให้หอบหืดดีขึ้น
ข้อแนะนำ
- หาที่อยู่ใหม่ให้สุนัขและแมว
- ไม่ควรจะให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในบ้าน
- หากสัตว์เลี้ยงอยู่ในบ้านก็ไม่ควรจะเข้าห้องนอน
- ไม่ควรจะให้สัตว์เลี้ยงอยู่บนม้านั่ง เตียงนอน
- ดูดฝุ่นเมื่อผู้ที่เป็นโรคหอบหืดไม่อยู่บ้าน
ไรฝุ่น
พบไรฝุ่นมากในที่มีความชื้นสูง พบร่วมกับฝุ่นที่มาจากเสื่อ หมอน พรม ผ้าคลุมเตียง เสื้อผ้า ตุ๊กตาควรจัดห้องให้ปลอดฝุ่นวิธีป้องกันไรฝุ่นทำได้ดังนี้
- หุ้มหมอน เตียง เสื่อด้วยสารป้องกันภูมิแพ้
- ล้างปลอกหมอน ผ้าคลุมเตียงทุกสัปดาห์โดยใช้น้ำร้อนมากกว่า 55 ํC
- ลดความชื้นของห้องนอนให้น้อยกว่า 50%โดยใช้เครื่องลดความชื้น
- นำพรมออกจากห้องนอน
- ไม่ควรนำตุ๊กตาไว้ในห้องนอน ควรจะล้างทุกอาทิตย์ด้วยน้ำร้อน
- ดูดฝุ่นทุกสัปดาห์
แมลงสาปCockraches Alergen
เป็นสาเหตุที่ทำให้หอบหืดเป็นมากขึ้น น้ำลาย ปัสสาวะ อุจาระ ผิวหนังของแมลงสาบเป็นสารภูมิแพ้สำหรับบางคน ควรกำจัดแมลงสาบให้หมดจากบ้าน ไม่ควรเหลือเศษอาหารให้แมลงสาบ อาหารควรเก็บไวในถุงที่ปิดสนิท ควรใช้กับดักหรือกรงมากกว่าสารเคมีเพราะอาจเกิดการแพ้ได้ จัดการรูรั่วของประปา
ข้อแนะนำ
- ทำความสะอาดอ่างล้างจาน โต๊ะสำหรับปรุงอาหาร และโต๊ะสำหรับรับประทานอาหาร
- ล้างจานให้สะอาดและนำเศษอาหารไปทิ้งนอกบ้าน
- เก็บอาหารให้มิดชิด
- การใช้ยาฆ่าแมลงก็อาจจะมีผลเสียต่อผู้ป่วย
Food Allergies
ผู้ป่วยที่แพ้อาหารนอกจากทำให้เกิดผื่น ปวดท้อง ท้องเสียยังทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก วิธีป้องกันคือ จำให้ได้ว่าแพ้อาหารอะไรแล้วหลีกเลี่ยง ให้อ่านสลากเพื่อดูส่วนผสมว่ามีสิ่งที่แพ้หรือไม่
เชื้อรามีมากในที่ชื้น และอากาศถ่ายเทไม่ดี เช่นห้องน้ำ ห้องเก็บของ ควรแก้ไขท่อน้ำที่รั่ว ทำความสะอาดบริเวนที่มีเชื้อรา ลดความชื้นในห้องนอนให้น้อยกว่า50%
- ทำความสะอาดบริเวณที่คิดว่ามีเชื้อรา เช่นห้องน้ำ ห้องครัวอาจจะใช้ยาฆ่าเชื้อรา
- ระบบถ่ายเทน้ำต้องไม่มีการขัง
- ใช้เครื่องลดความชื้น
- ใช้พัดลมดูดอากาศในห้องน้ำ ห้องครัว
- ลดการปลุกต้นไม้ ใช้ดอกไม้พลาสติกแทนดอกไม้จริง
- ทำความสะอาดท่อระบายน้ำทุก 5 ปี
สารเคมี
สารเคมีที่ใช้ในบ้านอาจจะกระตุ้นให้อาการหอบหืดเป็นมากขึ้น เช่น กลิ่นสี ยาฆ่าแมลง สเปรย์แต่งผม รวมทั้งควันบุหรี่ ควันจากเตาไฟ
สารNitrogen Dioxide
ก๊าซไนตรัส ออกไซด์ Nitrogen dioxide (NO2) เป็นก๊ายที่ไม่มีกลิ่น ก๊ายนี้จะทำให้ระคายเคืองต่อตา เยื่อบุจมูก ทางเดินหายใจ และกระตุ้นทำให้เกิดโรคหอบหืด ก๊ายนี้มาจากเตาชนิดต่างๆเช่น เตาแก๊ส เต้าน้ำมันกาด เตาไม้หรือถ่าน ควันเสียรถยนต์ ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดจะทำให้กำเริบได้ และทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ
ข้อแนะนำ
- เตาควรอยู่นอกบ้าน
- หากอยู่ในบ้านให้เปิดเครื่องดูดอากาศทุกครังที่ใช้เตา
โรคหอบหืดที่เกิดจากงาน
ผู้ที่เปลี่ยนงานแล้วเกิดโรคหอบหืด หรือมีอาการหอบเมื่อเข้าที่ทำงาน แสดงว่าท่านอาจจะแพ้สารเคมีในโรงงาน ผู้ที่ทำงานในโรงงานเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืด
- ผู้ที่แพ้ แป้ง ธัญพืช ไม่ควรมีอาชีพ ช่างทำขนมปัง นักเคมี ชาวไร่
- แพ้สัตว์ แมลง เชื้อราไม่ควรมีอาชีพ เลี้ยงสัตว์ พนักงานห้องทดลอง
- แพ้สารเคมี ไม่ควรมีอาชีพ ทำงานเกี่ยวกับน้ำมัน เครื่องเย็น ช่างแต่ผม พนักฟอกย้อม
- แพ้โลหะ และ Isocynates ไม่ควรทำงานกับการพ่นสีรถยนต์ ตู้เย็น เครื่องพิมพ์
- ยา ไม่ควรทำงานในโรงงานยา
มลภาวะนอกบ้าน
มลภาวะนอกบ้านมักจะเกิดจากฝุ่นขนาดเล็กในอากาศที่เกิดจากรถ อุตสาหกรรม ควัน เกสรดอกไม้ เมื่อสูดดมหายใจเข้าไปก็จะกระตุ้นทำให้หอบหืดกำเริบ
ข้อแนะนำ
- ให้ติดตามสภาพอากาศ หากไม่ดีก็ไม่ควรจะออกนอกบ้าน
- ตรวจสภาพอากาศก่อนออกกำลังกาย
- จัดตารางงานในเวลาที่อากาศดี
- หากอากาศไม่ดีให้อยู่ในบ้าน ปิดหน้าต่าง และเปิดเครื่องปรับอากาศ
- เฝ้าอาการกำเริบของโรคหอบหืด
สารภูมิแพ้นอกอาคาร Outdoor Allergen
เมื่ออยู่นอกบ้านคุณไม่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมได้
คุณไม่สามารถทำความสะอาดสนามหญ้า หรือใช้เครื่องกรองอากาศ แต่สิ่งที่คุณสามารถทำได้ก็คือการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสภาวะบางอย่าง สิ่งแวดล้อมนอกบ้านที่เป็นปัญหาได้แก่เกสรดอกไม้ หญ้า ต้นไม้ สปอร์ของรา
เชื้อรา Moulds
เชื้อราสามารถให้หอบหืด โดยเฉพาะสปอร์ของเชื้อราสามารถลอยไปในอากาศ เมื่อคนที่เป็นโรคหอบหืดสูดดมเข้าไปจะเกิดอาการ จาม คัดจมูก แน่นหน้าอก ไอ จนกระทั่งหอบหืด หากท่านแพ้เชื้อราควรจะปฏิบัติดังนี้
- เก็บกวาดหญ้าให้สะอาดหลังจากการตัดหญ้า
- เก็บกวาดใบไม้ที่ร่วงล่นให้หมด
- เก็บกวาดขยะ กระป๋องรอบบ้านให้หมด รวมทั้งวัสดุที่จะอุ้มน้ำ
- ทางเดิน หรือสนามหญ้าไม่ควรให้ชื้นตลอดเวลา
เกสรดอกไม้
เกสรดอกไม้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้บ่อย เกสรอาจจะมาจากดอกไม้ หญ้า เมื่อดูดเข้าไปก็จะเกิดอาการหอบหืดวิธีป้องกัน
- ใช้เครื่องกรองอากาศที่มีแผ่นกรองHEPA
- ช่วงที่มีเกสรดอกไม้มากให้ปิดหน้าต่างและเปิดเครื่องปรับอากาศ
- งดออกกำลังกายกลางแจ้ช่วงมีเกศรดอกไม้มาก
- ช่วงที่มีเกสรดอกไม้มากเมื่อกลับถึงบ้านให้เปลี่ยนเสื้อ
- หลีกเลี่ยงการปลูกต้นไม้ใกล้หน้าต่าง
- อย่าตากผ้ากลางแจ้ง
- อย่าดมหรือจับต้องดอกไม้ที่คุณสงสัยว่าจะแพ้
อากาศเย็น
ผู้ที่แพ้อากาศเย็น หรือการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอาจจะเกิดอาการหอบได้ วิธีป้องกันทำได้โดย
- ให้หายใจผ่านทางจมูกเพราะจะทำให้อากาศอุ่นขึ้น
- หากต้องหายใจทางปาก ต้องสวมหน้ากากเพื่อเพิ่มความชื้นให้อากาศ
- ช่วงอากาศเย็นให้ออกกำลังกายในบ้าน
ควรหลีกเลี่ยงบุหรี่ ควันไฟ กลิ่นสี กลิ่นน้ำหอม กลิ่นสารเคมี เตาแก๊ส
![]() |
![]() |
ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงเบียร์ ของดอง ผลไม้แห้งเพราะอาจทำให้เกิดหอบหืดได้
Infections
ผู้ป่วยหอบหืดควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปีเนื่องจากไข้หวัดใหญ่ทำให้หอบหือเป็นมากขึ้น
ยา
เช่นยา NSAID เช่น aspirin brufen diclofenac ยากลุ่มbetablockเช่น propanolol atenolol metoprolol
Rhinitis/Sinusitis
ผู้ป่วยที่มีไซนัสอักเสบหรือเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ควรได้รับการรักษาด้วยยา Antihistamine/decongestant หรือยาพ่นsteroid ทางจมูก
Gastresophageal Reflux
ผู้ป่วยหอบหืดที่หอบเวลากลางคืนโดยเฉพาะมีอาการแน่นหน้าอกหรือ เรอบ่อยควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาภาวะกรดมากวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้นได้แก่ งดอาหารและน้ำก่อนนอน3ชั่วโมง ยกหัวเตียง6-8นิ้ว
ภาวะทีกระตุ้นให้หอบ | |
สารภูมิแพ้
|
สารระคายเคือง
|
เครื่องมือที่ช่วยใช้ในโรคหอบหืด
- เครื่องดูดฝุ่น ผู้ป่วยหอบหืดที่แพ้ฝุ่นควรใช้ชนิดถุงที่อยู่นอกห้องนอนถ้าผู้ป่วยจะดูดฝุ่นเองควรใส่หน้ากากกันฝุ่น
- เครื่องกรองอากาศ ใช้เครื่องกรองที่มี HEPA and Electroststic filterวึ่งสามารถกันspore ควันบุหรี่ ฝุ่น แต่ไม่สามารถกันไรฝุ่น สารภูมิแพ้จากแมลงสาบ
- Humidifier ไม่ควรใช้เครื่องให้ความชื้นในห้องเพราะจะทำให้เกิดไรฝุ่น
- ไม่ควรใช้เครื่อง Ozone เพราะทำให้เกิดระคายเคืองต่อหลอดลม
- บุหรี่มือสอง
- ไรฝุ่น
- เชื้อรา
- แมลงสาบ
- สัตว์เลี้ยง
- ไนโตรเจนไดออกไซด์
- ควันไฟ
- มลภาวะ
- การควบคุมความชื้น
ต้องรู้เกี่ยวกับโรคหอบหืด | ต้องรู้จักวิธีพ่นยา | ต้องรู้จักชนิดของยาที่รักษา | ต้องมีแผนการรักษาด้วยตัวเอง | ต้องมีแผนฉุกเฉินในการรักเวลาหอบมาก | ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่แพ้ | ต้องรู้จักประเมินอาการของโรค | ต้องมีแผนเรื้อรัง