ท้องผูกเรื้อรัง (Chronic Constipation)

อาการท้องผูกเป็นอาการที่พบได้บ่อย ในคนไทยมีการศึกษาพบว่า 24% ของประชาชนชาวไทยคิดว่าตนเองมีปัญหาท้องผูก แต่เมื่อสอบถามในรายละเอียดแล้วพบว่าคนไทยประมาณ 8% มีปัญหาในการเบ่งอุจจาระลำบากและ 3% มีปัญหาถ่ายอุจจาระได้น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้นอาการท้องผูกจึงถือเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งแม้ว่าอาการท้องผูกส่วนใหญ่จะไม่ทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายถึงชีวิต แต่ก็มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมากโดยเฉพาะในรายที่เป็นรุนแรง ผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกรุนแรงเรื้อรังประมาณหนึ่งในสามถึงครึ่งหนึ่งมีสาเหตุที่สามารถแก้ไขได้ แต่ในปัจจุบันผู้ป่วยท้องผูกส่วนใหญ่มักจะได้รับการละเลยเนื่องจากแพทย์มักเห็นว่าเป็นปัญหาที่ไม่ฉุกเฉิน และรุนแรงหรือเห็นว่าเป็นโรคที่ไม่มีโอกาสรักษาให้หายขาด แพทย์ส่วนใหญ่ จึงมักรักษาผู้ป่วยตามอาการด้วยยาระบายทำให้ผู้ป่วยท้องผูกจำนวนหนึ่งที่สามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได ้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม

ความหมายของอาการท้องผูก

โดยทั่วไปอาการท้องผูก หมายถึง ภาวะที่มีความถี่ในการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ ในผู้ป่วยบางคนอาจมีความถี่ในการถ่านอุจจาระปกติ แต่ในการถ่ายแต่ละครั้งจะถ่ายด้วยความยากลำบากก็ถือว่าผู้ป่วยมีปัญหหาท้องผูกเช่นกัน ในคนปกติจะถ่ายอุจจาระตั้งแต่วันละ 3 ครั้ง ถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้นคนที่ถ่ยอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์จะถือว่ามีอาการท้องผูก อาการท้องผูกมักสัมพันธ์กับการถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องใช้เวลนานเบ่งนานกว่าปกติ หรือมีอาการเจ็บทวารหนักเวลาถ่าย คนที่มีอาการท้องผูกเกิดขึ้นนานติดต่อกันเกิน 3 เดือน จะถือว่ามีอาการท้องผูกเรื้อรัง โดยมีหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยท้องผูก ดังนี้



  • ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ต้องเบ่งมากกว่าปกติ
  • อุจจาระเป็นก้อนแข็ง
  • รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด
  • มีความรู้สึกว่าถ่ายไม่ออกเนื่องจากมีสิ่งอุดกั้นบริเวณทวารหนัก

ถ้ามีอาการดังกล่าวข้างต้นตั้งแต่สองอาการขึ้นไป บ่อยมากกว่า 25% ของการถ่ายทั้งหมด หรือเวลาที่มีการถ่ายผิดปกติข้างต้นทั้งหมดรวมกันมากกว่า 3 เดือน (อาการไม่จำเป็นต้องเป็นติดต่อกันทุกวัน) ในหนึ่งปี จะถือว่ามีอาการท้องผูก

ถ่ายได้บ่อยแต่ถ่ายอุจจาระลำบากก็เป็นปัญหา

จากเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าในผู้ป่วยบางรายที่สามารถถ่ายอุจจาระได้มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ถ้าในการถ่ายอุจจาระแต่ละครั้งถ่ายด้วยความยากลำบาก เช่น ต้องเบ่งมาก หรือรู้สึกถ่ายไม่สุด แพทย์ก็ถือว่าผู้ป่วยมีปัญหาท้องผูกเช่นกัน ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีปัญหาเกี่ยวกับทวารหนัก และการควบคุมกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการถ่าย ซึ่งสามารถที่จะรักษาให้ดีขึ้นได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มาปรึกษาด้วยอาการท้องผูกแม้ว่าจะถ่ายอุจจาระมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการถ่าย การสอบถามอาการเกี่ยวกับการขับถ่ายลงไปในรายละเอียดจะทำให้เราเข้าใจปัญหาของผู้ป่วยมากขึ้น

สาเหตุของอาการท้องผูก

สาเหตุของอาการท้องผูกแบ่งได้เป็น 4 สาเหตุใหญ่ ๆ คือ

1. สาเหตุที่เกิดจากโรคทางกาย

โรคทางกายที่สามารถเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกเรื้อรัง ได้แก่

2. สาเหตุจากยาที่รับประทานประจำ

มียาหลายชนิดที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกควรได้รับการซักประวัติเกี่ยวกับยาที่ได้รับว่ามียาที่อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกหรือไม่ ยาที่สามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกได้มีดังต่อไปนี้

  • กลุ่มยาทางจิตเวช ที่สำคัญและพบบ่อย ได้แก่ ยาที่รักษาอาการซึมเศร้า โดยเฉพาะยากลุ่ม tricyclic antidepressant เช่น amitryptyline หรือ nortryptyline
  • ยาที่มีฤทธิ์ anticholinergic ซึ่งจะทำให้การบีบตัวของทางเดินอาหารน้อยลง ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ยาลดการบีบเกร็งของลำไส้ที่ใช้แก้ปวดท้อง เช่น buscopan ยารักษาโรค parkinson’s เช่น Levodopa และยาแก้แพ้บางชนิด เช่น chlorpheniramine
  • ยากันชัก เช่น dilantin
  • ยาลดความดันโลหิต ได้แก่ diltiazem, verapamil, clonidine
  • ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของ morphine หรืออนุพันธ์ของ morphine เช่น paracetamol ชนิดที่มีส่วนผสมของ codeine
  • เหล็ก ที่มีอยู่ในยาบำรุงเลือด
  • ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของ calcium หรือ aluminium
  • ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เช่น diclofenac, piroxicam และ indometracin
  • ยาอื่น ๆ เช่น cholestyramine

3. การอุดกั้นของทางเดินอาหาร

การอุดกั้นของทางเดินอาหารสามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ ซึ่งภาวะดังกล่าวได้แก่

  • มะเร็งหรือเนื้องอกของลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก
  • ลำไส้ตีบตัน (stricture)
  • ลำไส้บิดพันกัน (volvulus)
  • ความผิดปกติที่ทวารหนัก เช่น rectocele, rectal prolapsed, หรือตีบตัน
  • การลดน้อยลงของปมประสาทบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่เป็นมาแต่กำเนิด (Hirschprung’s disease)

4. สาเหตุที่เกิดจากเคลื่อนไหวของลำไส้หรือกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายผิดปกติ (functional cause)

  • การบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่ง (anorectal dysfunction)
  • การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่น้อยกว่าปกติ หรือมีการเคลื่อนไหวไม่ประสานกันทำให้อุจจาระเคลื่อนไหวภายในลำไส้ใหญ่ช้ากว่าปกติ (colonic inertia)
  • ภาวะลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome)
  • สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ การที่ผู้ป่วยเคลื่อนไหวน้อย รับประทานอาหารที่มีกากน้อย และนิสัยในการขับถ่ายที่ไม่ดี

ในบรรดาสาเหตุของอาการท้องผูกที่กล่าวมาข้างต้นพบว่ามีผู้ป่วยเป็นจำนวนน้อยเท่านั้น ที่อาการท้องผูกมีสาเหตุมาจากโรคทางกาย ยา หรือโรคของลำไส้ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเรื้อรังจะหาสาเหตุไม่พบ ซึ่งถ้านำผู้ป่วยกลุ่มนี้มาตรวจดูการเคลื่อนไหวของลำไส้ และการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณทวารหนักจะพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มนี้ประมาณครึ่งหนึ่ง จะมีสาเหตุมาจากโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ประมาณหนึ่งในสามจะมีสาเหตุจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายผิดปกติ (anorectal dysfunction) และที่เหลือจะมีสาเหตุมาจากลำไส้เคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ (colonic inertia) ซึ่งสาเหตุของความผิดปกติในผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังไม่เป็นที่ทราบกันชัดเจน แต่พบว่าการมีการทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายผิดปกติเป็นภาวะที่สามารถที่จะรักษาให้หายได้ ดังนั้นการรู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับความผิดปกติในผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ รวมทั้งการรู้จักแนวทางการดูแลรักษาจึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมาก

การวินิจฉัยโรคท้องผูก

การรักษาโรคท้องผูก

การดูแลตัวเอง

ท้องผูก ท้องผูกเรื้อรังท้องผูกเนื่องจากกล้ามเนื้อควบคุมไม่ดี การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่น้อยกว่าปกติภาวะลำไส้แปรปรวนการวินิจฉัย การรักษาผู้ป่วยอาการท้องผูก