แคลเซี่ยมในเลือดสูง HYPERCALCEMIA

เป็นภาวะที่แคลเซี่ยมในเลือดสูงกว่าปกติ

  • สาเหตุมาจากต่อมพาราไทรอยด์ อาหาร มะเร็ง และโรคกระดูก
  • อาการเบื้องต้นจะมีอาการ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะจำนวนมาก หากรุนแรงอาจจะเสียชีวิต
  • การวินิจฉัยทำได้โดยการเจาะเลือดตรวจหาแคลเซี่ยม
  • การรักษาเบื้องต้นให้ดื่มน้ำปริมาณมาก การให้ยาขับปัสสาวะจะเร่งการขับเกลือแคลเซี่ยม

สาเหตุของแคลเซี่ยมในเลือดสูง

  • การนอนหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายจะละลายแคลเซี่ยมออกมา ทำให้แคลเซี่ยมในเลือดสูง
  • ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากไป
  • ได้รับแคลเซี่ยมมากไปจากการดื่มนม และรับประทานยาลดกรดที่มีแคลเซี่ยม
  • ผู้ที่รับวิตามินเสริม หากในวิตามินดังกล่าวมีวิตามินดีมากไปจะทำให้แคลเซี่ยมในเลือดสูง
  • มะเร็ง เช่น มะเร็งปอด มะเร็งไต มะเร็งรังไข่จะสร้างโปรตีนเหมือนฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมพาราไทรอยด์ ทำให้แคลเซี่ยมในเลือดสูง นอกจากนั้นแคลเซี่ยมยังอาจจะแพร่กระจายไปที่กระดูกทำให้แคลเซี่ยมในเลือดสูง
  • โรคของกระดูก โรคกระดูกบางชนิด หรือภาวะกระดูกหักร่างกายจะเร่งแคลเซี่ยมเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้แคลเซี่ยมในเลือดสูง
  • ผู้ที่เป็นโรคต้องนอนบนเตียงเช่นอัมพาต ร่างกายจะละลายกระดูกทำให้แคลเซี่ยมในเลือดสูง

อาการและการวินิจฉัยโรค

  • แคลเซี่ยมในเลือดสูงไม่มากมักจะไม่มีอาการ อาการที่พบได้บ่อยได้แก่ ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร ปัสสาวะบ่อยทำให้หิวน้ำ
  • หากแคลเซี่ยมในเลือดสูงจะมีอาการ สับสน อารมณ์แปรปรวน ซึม มีภาพหลอก และหมดสติ อาจจะมีอาการอ่อนแรง หัวใจเต้นผิดปกติ ผู้ป่วยที่มีแคลเซี่ยมสูงเป็นเวลานานอาจจะเกิดนิ่วในไต และอาจจะเกิดไตวาย
  • การวินิจฉัยทำได้โดยการเจาะเลือด

การรักษาแคลเซี่ยมในเลือดสูง

  • หากแคลเซี่ยมในเลือดสูงไม่มาก และไม่มีอาการอย่างอื่น และได้แก้ไขสาเหตุแล้วการรักษาเพียงให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้มากซึ่งจะเร่งการขับแคลเซี่ยม
  • หากแคลเซี่ยมในเลือดสูงจนซึม หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะต้องให้น้ำเกลือ และยาขับปัสสาวะ หากไม่ได้ผลต้องทำการล้างไต
  • ในรายที่เป็นรุนแรงจะต้องให้ยา bisphosphonates, calcitonin , corticosteroids, plicamycin)
  • แคลเซี่ยมสูงที่เกิดจากมะเร็งจะรักษายาก หากมะเร็งนั้นรักษาไม่ได้
แคลเซี่ยม แคลเซี่ยมต่ำ