jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

การดูแลรักษาโรคลมพิษ

Management

เมื่อเกิดลมพิษจะต้องประเมินว่าเป็นลมพิษธรรมดาหรือลมพิษที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น angioedema หรือเป็นลมพิษแบบรุนแรง ผู้ที่เป็นลมพิษแบบธรรมดาอาจจะมีการดำเนินของโรคเร็วจนเกิดเป็นลมพิษชนิดรุนแรงได้ สำหรับท่านที่มีอาการแพ้ชนิดรุนแรงท่านอาจจะเตรียมยาฉีดพร้อมทั้งเรียนรู้วิธีการฉีดยา เพราะอาการแพ้ชนิดรุนแรงหากเกิดแล้วการดำเนินของโรคเร็วมากท่านอาจจะไปโรงพยาบาลไม่ทันการ

การรักษา,มพิษที่มีอาการรุนแรง

ยาฉีดรักษาลมพิษชนิดรุนแรง

การรักษาอื่นๆ

การรักษา

การรักษาลมพิษเฉียบพลันด้วยยา

การรักษาโรคลมพิษจะเน้นที่รักษาอาการ ยาที่ใช้รักษาได้แก่ ยาแก้แพ้ Antihistamines

การรักษาลมพิษเรื้อรัง

การรักษาโรคลมพิษเรื้อรังจะเน้นการควบคุมอาการมิให้กำเริบ แบะการหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้โรคลมพิษกำเริบ แต่หากมีอาการบวมริมฝีปาก หรือหายใจเสียงดังจะต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญรักษา ยาที่ใช้รักษาได้แก่

 

ยารักษาโรคลมพิษ

ยาแก้แพ้กลุ่ม H1-receptor antagonist antihistamines

ยากลุ่มนี้จะกลั้นฮีสตามินที่ปลายประสาทโดยป้องกันฮีสตามินจับกับ receptor ซึ่งจะป้องกันลมพิษ ยากลุ่มนี้มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรใช้ในผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือขับขี่รถยนต์ เรือ เครื่องบิน และไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับยากดประสาทชนิดอื่นๆเช่น ยานอนหลับ, ยาคลายเครียด, ยากล่อมประสาท, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์) นอกจากนั้นยาชนิดนี้จะมีฤทธิ์ต้านระบบประสาทชนิดโคลเนอร์จิก (anticholinergic) ด้วย ทำให้เกิดอาการปากแห้ง คอแห้ง เสมหะและน้ำมูกเหนียวข้น ท้องผูก ปัสสาวะขัดในผู้ชาย ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคหืด โดยเฉพาะขณะหอบ, โรคต้อหิน และโรคต่อมลูกหมากโตแบ่งออกเป็นสามรุ่น

1.1) ยาต้านฮิสทามีนรุ่นที่หนึ่ง ( First generation antihistamine)

1.2) ยาต้านฮิสทามีนรุ่นที่สอง (second generation antihistamine)

เป็นการพัฒนายาต้านฮิสทามีนรุ่นแรก เช่น loratadine พัฒนามาจาก cyproheptadine cetirizine พัฒนามาจาก hydroxyzine

ยากลุ่มนี้มีข้อดีกว่า ยาต้านฮิสทามีนรุ่นแรก คือ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ และออกฤทธิ์ได้นาน เพราะจับกับตัวรับฮิสทามีนได้แน่นและนานขึ้น และไม่มีผลข้างเคียงเหมือน

1.3) ยาต้านฮิสทามีนรุ่นที่สาม (third generation antihistamine) เป็นยาต้านฮิสทามีนรุ่นใหม่ซึ่งพัฒนามาจากยาต้านฮิสทามีนรุ่นที่สองเช่น

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงแนะนำให้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ใช้ยาต้านฮิสทามีนรุ่นที่สอง หรือสาม มากกว่ายาต้านฮิสทามีนรุ่นแรก สำหรับผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ยาต้านฮิสทามีน ได้ผลดีในการบรรเทาอาการที่เกิดจากฮิสทามีนเช่น คัน, จาม, น้ำมูกไหล,คัน เคืองตา แต่ได้ผลน้อยกับอาการคัดจมูก นอกจากนั้น ยาต้านฮิสทามีนยังช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจมูก อักเสบภูมิแพ้ดีขึ้นด้วย การใช้ยาต้านฮิสทามีนในการรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในเด็กนั้นได้ผลดีและปลอดภัย

H2-receptor antagonists

ยานี้จะจับกับ H2 receptors โดยเฉพาะที่กระเพาะอาหาร ยานี้จะลดอาการบวมจากลมพิษ การให้ยาที่ปิดกั้นทั้ง H1 และ H2 จะได้ผลกับลมพิษที่เกิดเฉียบพลันและลมพิษที่ดื้อต่อยา

ยากลุ่ม Tricyclic antidepressants (TCAs)

ยานี้เป็นยารักาาโรคซึมเศร้าจะออกฤทธิ์ทั้งระบบประสาทส่วนกลางและออกฤทธิ์ต่อ H1 และ H2 receptors น้ำมาใช้รักษาโรคภูมิแพ้โดยเฉพาะโรคลมพิษ

ยากลุ่ม Steroid

ยานี้จะลดการอักเสบที่เกิดจากลมพิษมักจะใช้รักษาโรคลมพิษเฉียบพลันที่รุนแรงหรือดื้อต่อยาแก้แพ้ ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้อย่างต่อเนื่องเพราะอาจจะเกิดผลข้างเคียงของยา

ยากลุ่ม Monoclonal Antibody

ยา Monoclonal antibodies จะจับกัฐภูมิ IgE โดยตรงทำให้ไม่เกิดปฎิกิริยาภูมิแพ้ ยานี้จะใช้ในกรณีที่ใช้ยาแก้แพ้แล้วไม่ได้ผล

เพิ่มเพื่อน