การเจาะน้ำตาลหลังอดอาหาร8ชั่วโมงหรือเรียกว่า Fasting Blood Sugar(FBS)
เมื่อแพทย์สั่งให้ท่านเจาะเลือดโดยสั่งว่าต้องงดอาหาร 8 ชั่วโมงโดยงออาหารทุกชนิด เครื่องดื่มทุกชนิด แต่ดื่มน้ำเปล่าได้ ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะสั่งตรวจน้ำตาล และไขมันในกระแสเลือด
ประโยชน์ของการตรวจน้ำตาลในกระแสเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง Fasting Blood Sugar(FBS)
- เพื่อใช้ในการคัดกรอง และวินิจฉัยผู้ที่มีอาการแสดงหรือมีปัจจัยเสี่ยงเป็นเบาหวาน
- ใช้ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อประเมินผลการรักษา
- ตรวจป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูง [hyperglycemia] หรือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ [hypoglycemia] เกินไปในผู้ป่วยเบาหวาน
น้ำตาลในเลือดมาจากไหน
น้ำตาลในเลือดมาจากสามแหล่งได้แก่
- จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ทั้งอาหารประเภทแป้ง โปรตีน หรือไขมัน โดยอาหารพวกแป้งจะถูกดูดซึมได้เร็วและทำให้น้ำตาลในเลือดสูงอย่างรวดเร็ว
- ปกติร่างกายจะเก็บน้ำตาลในรูป glycogen เมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำลง ร่างกายจะเอา glycogen มาเปลี่ยนเป็นน้ำตาล
- จากการสร้างน้ำตาลขึ้นเองจากตับและไต
โดยน้ำตาลกลูโคส (glucose) เป็นแหล่งพลังงานแรกที่ร่างกายนำไปใช้ โดยมีฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนที่เรียกว่าอินซูลิน Insulin เป็นตัวนำน้ำตาลเข้าเซลล์ไปให้ร่างกายใช้เป็นพลังงาน แต่หากร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลินเช่นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1 หรือมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) ซึ่งพบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 จะทำให้น้ำตาลอยู่ในกระแสเลือด ไม่สามารถนำไปให้อวัยวะต่างๆในร่างกายใช้ได้ การมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้ส่งผลต่อโรคแทรกซ้อนตามอวัยวะต่างๆ เช่น ตาเสื่อม ไตเสื่อม โรคหลอดเลือดหัวใจ และระบบประสาทเสื่อมตามมา
การเจาะเลือดตรวจ FBS จะเจาะถี่แค่ไหน
การเจาะเลือดตรวจ FBS บ่อยแค่ไหนขึ้นกับวัตถุประสงค์ของการเจาะ
- สำหรับผู้ที่มีอาการของน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือน้ำตาลในเลือดสูงแพทย์จะเจาะเลือดขณะนั้น หรือนัดอดอาหารมาเจาะ
- สำหรับผู้ที่อยู่กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานแพทย์จะนัดเจาะทุกปี หากผลเลือดปกติหรือต่ำกว่า 100 มก%จะนัดเจาะทุก 3 ปี
- หากเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานให้เจาะเลือดทุกปี
การแปลผลเลือด
การแปลผลเลือดจะขึ้นกับวัตถุประสงค์ของการเจาะเลือดกล่าวคือ
จุดประสงค์เพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน
สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพหรือผู้ที่มีอาการของเบาหวานแพทย์จะนัดเจาะเลือดหังดอาหาร 8 ชั่วโมงซึ่งแปลผลดังนี้
ผู้ไม่เป็นเบาหวาน |
=น้อยกว่า 100 mg/dL |
ผู้มีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน |
=100 ถึง 125 mg/dL |
ผู้เป็นเบาหวาน |
= มากกว่าหรือเท่ากับ 126 mg/dL |
หากผลเลือดต่ำกว่า 100 mg/dL และท่านไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ให้เจาะเลือดทุก 3 ปี
1สำหรับผู้ที่มีค่ำน้ำตาลเกินค่าปกติ
แต่หากผลเลือดท่านอยู่ระหว่าง 100-125 mg/dLท่านอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน แสดงโอกาสมีความเสี่ยงการเป็นเบาหวานในอนาคต
การดูแลตัวเองหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- ลดน้ำหนักด้วยวิธีที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน
- เพิ่มการออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ เช่น การเดินเร็ว การวิ่ง การเต้นรำ
- รับประทานอาหารสุขภาพ
ให้ท่านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเจาะเลือดทุก 1 ปี
หากผลเลือดท่านมากกว่า 126 mg/dLแสดงว่าท่านเริ่มจะเป็นโรคเบาหวานแพทย์จะนัดท่านตรวจการทำงานของไต ตรวจตา ตรวจปัสสาวะ และท่านควรจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2จุดประสงค์เพื่อติดตามโรคเบาหวาน
สำหรับท่านที่เป็นโรคเบาหวานค่าน้ำตาลที่เหมาะสมคืออยู่ในช่วงระหว่าง 70 ถึง 130 mg/dL สำหรับผู้ที่เจาะเลือดพบีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก เช่น มากกว่า 250 mg/dLและมีอาการ ปัสสาวะบ่อย ปากแห้งผิวแห้ง เหนื่อยง่าย คลื่นไส้อาเจียนโดยเฉพาะการอาเจียนติดต่อกันมากกว่า 2 ชม. หรือปวดท้อง หายใจสั้นและถี่ กลิ่นลมหายใจเป็นผลไม้ สับสน และอาจหมดสติ ซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้ เรียกภาวะ (Diabetic Ketoacidosis; DKA)
ค่าน้อยกว่าปกติ คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 60 mg/dL
หากน้ำตาลน้อยกว่า 60 mg/dL เราเรียกภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งอาจจะแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการขึ้นกับสภาพของผู้ป่วย อาการที่แสดงออกบ่อยได้แก่ เหงื่อออก ใจสั่น มือสั่น หิว หากเป็นมากจะสับสน ตามัว และอาจจะหมดสติ
สาเหตุของน้ำตาลต่ำ
- สาเหตุที่พบบ่อยเกิดจากยารักษาเบาหวานโดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคไตเสื่อม
- เนื้องอกที่ตับอ่อนที่เรียกว่า Insulinomaตัวเนื้องอกจะสร้างฮอร์โมนอินซูลินิ
- ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยที่เรียกว่า Hypothyroidism
- ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป Hyperthyroid
- ผู้ที่มีโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ หรือติดเชื้ออย่างรุนแรงอาจจะทำให้น้ำตาลต่ำ
- จากการฉีดอินซูลินซึ่งอาจจะเกิดจากปัจจัยอย่างเดียวหรือหลายปัจจัยร่วมกันกล่าวคือ การฉีดยาผิดเวลา การฉีดยาผิดขนาด การไม่รับประทานอาหาร หรือรับประทานอาหารน้อยไป การออกกำลังมากไป หรือกำลังมีโรคแทรกซ้อน
- สำหรับผู้ที่อดอาหารหรือรับประทานอาหารไม่ได้โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มสุราเป็นโรคตับแข็ง
การดูแลตัวเอง
- สำหรับผู้ที่มีอาการน้ำตาลต่ำและยังรู้สึกตัวให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือนมพออาการบรรเทาแล้วก็รับประทานอาหาร สำหรับผู้ที่มีน้ำตาลต่ำบ่อยให้พกลูกอมติดตัวเมื่อเกิดอาการน้ำตาลต่ำก็อมลูกอม โดยเฉพาะผู้ที่ต้องเดินทางนานๆ
- สำหรับผู้ที่ไม่รู้สึกตัวกลืนอาหารเองไม่ได้ห้ามป้อนน้ำหวานเพราะอาจจะสำลัก ให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลใกล้บ้าน
การตรวจน้ำตาลด้วยตัวเอง
วิธีการตรวจเลือดด้วยตัวเอง
1
|
2
|
3
|
4
|
วิธีการเจาะเลือดตรวจน้ำตาลด้วยตัวเอง
การติดตามน้ำตาล |
โรคเบาหวาน |
น้ำตาล น้ำตาลหลังอดอาหาร8ชั่วโมง น้ำตาลหลังจากรับประทานอาหาร2ชั่วโมง การทดOGTT
เอกสารอ้างอิง
- American Diabetes Association. Diagnosis and classification of diabetes mellitus. Diabetes Care 2012;35(Suppl 1):S64–S71.
ทบทวนวันที่ 26/1/2566
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว