การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม


เป็นการนำเลือดผ่านเข้าเครื่องไตเทียม ผ่านไปยังเยื่อ Hemodialyzer ซึ่งเป็น  semipermeable membrane ซึ่งจะกรองเอาของเสียออก เลือดที่ผ่านการกรองก็จะกลับเข้าสู่เครื่องไตเทียม และเข้าสู่ร่างกาย ทำให้กำจัดของเสีย คุมความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ และรักษาระดับความดันให้ปกติ

การเตรียมการก่อนฟอกเลือด

ก่อนฟอกเลือดจะต้องมีการนำเลือดจากหลอดเลือดมาฟอกโดยทำได้ 2 วิธี

  • ใช้เข็มเจาะเข้าหลอดเลือดที่หลอดเลือดบริเวณคอ และหลอดเลือดขาหนีบ วิธีนี้ใช้ฟอกเลือดได้ 2-6 สัปดาห์
  • วิธีที่สองเป็นการต่อหลอดเลือดแดง และดำ [arteriovenous [ A-V] fistular ]หลังต่อหลอดเลือดดำจะพองและขยายทำให้สามารถใช้เข็มเจาะเอาเลือดไปฟอกได้ วิธีนี้เป็นวิธีการถาวรแต่ต้องใช้เวลาให้หลอดเลือดดำพองตัว

ขณะฟอกท่านสามารถอ่านหนังสือหรือรับประทานอาหารได้ ใช้เวลาฟอก 2-4 ชั่วโมง อาทิตย์ละ2-3 ครั้ง


การล้างไต

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

พบได้บ่อยคือ ความดันโลหิตต่ำ อาจเกิดจากผู้ป่วยกินยาลดความดันโลหิตก่อนฟอกและตะคริว เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่เร็วเกินไป ใช้เวลาในการปรับตัวหลายเดือน  โรคแทรกซ้อนที่พบได้น้อยได้แก่ ไข้ เลือดออกทางเดินอาหาร คัน นอนไม่หลับเป็นต้น

ข้อห้ามการฟอกเลือดคือ ความดันโลหิตต่ำ และเลือดออก

ข้อปฏิบัติก่อนการฟอกเลือด

  1. ควรงดรับประทานยาลดความดันโลหิตก่อนฟอก 4-6 ชั่วโมง
  2. ถ้ามีการเสียเลือดมาก เช่นมีประจำเดือน อุจาระดำ อาเจียนเป็นเลือด ให้แจ้งแพทย์ก่อนฟอกเลือดทุกครั้ง

การปฏิบัติตนขณะฟอกเลือด

  1. แขนข้างที่กำลังฟอกให้อยู่นิ่งๆ
  2. เตรียมอาหารมารับประทานขณะฟอกเลือด
  3. ถ้ามีอาการเวียนศีรษะ ใจสั่น ขณะฟอกให้แจ้งพยาบาลผู้ดูแลทันที

ข้อควรปฏิบัติหลังฟอกเลือด

  • หลังการฟอกเลือดใหม่จะมีการห้ามเลือดโดยใช้พลาสเตอร์หรือผ้ากอซปิด เมื่อเลือดหยุดจึงเอาผ้าก๊อซออกและติดพลาสเตอร์
  • รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารตามคำแนะนำดังกล่าวมาแล้ว
  • ชั่งน้ำหนักทุกวัน โดยควบคุมมิให้น้ำหนักเพิ่มเกินวันละ 0.5 กก.
  • หลังการฟอกเลือดให้ระวังการถูกกระแทกแรงๆเพราะจะทำให้เกิดช้ำได้

การรับประทานอาหาร

  1. ให้รับประทานโปรตีนจากเนื้อปลา แทนจากถั่วและผัก
  2. เลือกอาหารที่มีโพแทสเซียมไม่สูงไม่ต่ำเนื่องจากสูงหรือต่ำไปจะทำให้เกิดผลเสียต่อหัวใจ
  3. จำกัดน้ำดื่มมิให้น้ำหนักเพิ่มเกินวันละ 0.5 กิโลกรัม
  4. งดอาหารเค็ม
  5. งดอาหารที่มี phosphate สูงดังกล่าวข้างต้น อ่านที่นี่

โรคไตวายเรื้อรัง สาเหตุโรคไต การรักษาโรคไต การรักษาความดัน การรักษาเบาหวานและไขมัน การรักษาภาวะแคลเซี่ยมต่ำ การรักษาภาวะโลหิตจาง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด การรักษาโปรตีนในปัสสาวะ ความเสี่ยงการเกิดโรคไต การตรวจวินิจฉัยโรคไต ความรุนแรงโรคไต สาเหตุโรคไต อาการโรคไต โรคไต

รูปภาพจาก

  1. http://biology-forums.com/index.php?action=gallery;sa=view;id=1244