หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

ผู้สูงอายุกับการนอนหลับ

วัยสูงอายุร่างกายก็จะเปลี่ยนแปลงเป็นต้นว่า สายตามัวลง เป็นต้อกระจก หูได้ยินไม่ชัด ข้อเสื่อม ผิวหนังเหี่ยวย่นระยะเวลาที่ต้องการนอนคือยังคงเท่าเดิมประมาณวันละ 8 ชั่วโมง แต่คุณภาพในการนอนของผู้อายุลดลงจึงทำให้นอนไม่ค่อยพอ

ปัจจัยที่ทำให้การนอนของผู้สูงอายุไม่มีคุณภาพ เช่น

นอนจากปัจจัยภายนอนแล้วปัจจัยภายในของผู้ป่วยโรคต่างๆเช่นอาการปวดข้อ โรคหัวใจ ปัญหาทางจิตใจ ปัญหาทั้งหมดจะทำให้การนอนหลับในผู้สูงอายุมีคุณภาพลดล

นอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

เมื่อเรามีอายุมากขึ้นการนอนหลับก็มีการเปลี่ยนแปลง การนอนหลับในวัยสูงอายุนั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ดังนี้

อาการของการนอนหลับในผู้สูงอายุ

ส่วนใหญ่แล้วอาการที่จะแสดงหรือชี้นำให้เห็นว่าคนๆ นั้นมีปัญหาการนอนหลับที่พบได้บ่อยในคนสูงอายุก็คือ

สาเหตุของการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

แบ่งออกได้เป็น 3 สาเหตุใหญ่ๆ คือ 

1. เกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของความชรา

โดยปกติเมื่อมนุษย์เริ่มเข้าสู่วัยชรา สมองจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมเหมือนเช่นอวัยวะอื่น โดยลักษณะการนอนของผู้สูงอายุจะมีลักษณะดังต่อไปนี้   
• ระยะเวลาของการนอนตอนกลางคืนจะลดลง 
• ใช้เวลานานขึ้นหลังจากเข้านอนเพื่อที่จะหลับ 
• ช่วงระยะที่หลับแบบตื้น ( ตอนที่กำลังเคลิ้มแต่ยังไม่หลับสนิท ) จะยาวขึ้น ขณะที่ช่วงระยะที่หลับสนิทจริงๆ จะลดลง 
• จะมีการตื่นขึ้นบ่อยๆ กลางดึก 
ดังนั้นผู้สูงอายุแม้จะมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ สมวัย ก็อาจรู้สึกว่าตัวเองนอนน้อยลง หรือคิดไปว่านอนไม่หลับ แต่มีข้อที่น่าสังเกตคือ ผู้ป่วยกลุ่มนี้แม้จะดูเหมือนว่า “ นอนไม่หลับ ” แต่ช่วงกลางวันก็มักจะไม่มีอาการง่วงเหงาหาวนอนแต่อย่างใด

2. นอนไม่หลับเกิดเนื่องจากมีโรคได้แก่

ผู้สูงอายุมักจะมีโรคประจำตัว โรคประจำตัวหลายโรคก็มีผลต่อการนอนของผู้สูงอายุโรคต่างๆเหล่านี้ได้แก่

3.นอนไม่หลับสาเหตุด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่

จากสาเหตุของการนอนหลับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการซักประวัติการเจ็บไข้ได้ป่วย ประวัติการนอน และตรวจร่างกายจากแพทย์โดยละเอียดเพื่อสืบสาวถึงสาเหตุที่แท้จริงของการนอนไม่หลับในผู้ป่วยแต่ละราย

การดูแลอาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

ข้อปฏิบัติที่ช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับในผู้สูง

การจัดการด้านจิตใจและอารมณ์ สามารถปฏิบัติได้ดังนี้ 

การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม สามารถปฏิบัติได้ดังนี้ 

ทบทวนวันที่ 4/3/2566

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน