คนที่ทำงานเป็นกะกับการนอนหลับ
คนที่ทำงานเป็นกะคืนคนที่ทำงานขณะที่คนอื่นกำลังหลับ และเมื่อเขาเหล่านั้นพยายามที่จะหลับขณะที่คนอื่นกำลังตื่น บุคคลที่ทำงานเหล่านี้ได้แก่หน่วยงานที่ให้บริการ 24 ชั่วโมงเช่น แพทย์พยาบาล ตำรวจ ขนส่ง โรงงาน เขาเหล่านั้นกำลังเปลี่ยนนาฬิกาชีวิตตัวเองไม่ว่าพืชหรือสัตว์ต้องการพักผ่อน คนเราก็เช่นกันก็ต้อพักผ่อน ร่างกายเรามีนาฬิกาชีวิต ซึ่งจะบอกว่าเวลาไหนควรตื่นเวลาไหนควรนอนโดยมีความสัมพันธ์กับแสงและความมืด นอกจากจะคุมเรื่องเวลาหลับนอนนาฬิกาชีวิตยังคุม อุณหภูมิของร่างกาย ฮอร์โมนของร่างกาย ชีพขจร คนปกติจะง่วงนอนก่อนเที่ยงคืนจนถึง 6 นาฬิกาและตื่นในตอนเช้าและจะมาง่วงอีกครั้งตอนบ่าย ดังนั้นคนทำงานเป็นกะยากที่จะฝืนธรรมชาติ ทำให้ผู้ที่ทำงานเป็นกะนอนไม่หลับและมีปัญหานอนไม่พอ
เมื่อคุณนอนไม่พอจะเกิดผลเสียหลายประการคือ ความคิดและการเคลื่อนไหวจะช้าลง มีความผิดพลาดจากความคิดและการกระทำ ความจำเสื่อมลง เกิดอุบัติเหตุได้บ่อย โกรธง่าย เครียดและมีโรคซึมเศร้าได้บ่อย นอกจากนั้นผู้ที่ทำงานเป็นกะจะมีโรคกระเพาะอาหาร ประจำเดือนผิดปกติ ไข้หวัด และโรคอ้วนมากกว่าคนที่ทำงานปกติ
การเตรียมตัวนอนของผู้ที่ทำงานเป็นกะ
เมื่อเลิกจากเวรดึกจะกลับบ้านให้สวมแว่นดำเพื่อกันแสงจ้าที่กระตุ้นนาฬิกาชีวิต ให้รีบนอนให้เร็วที่สุด พยายามจัดสิ่งแวดล้อมให้รบกวนน้อยที่สุด เช่นสวมแว่นกันแสง ใช้สำลีอุดหู ห้ามเปิดทีวีหรือวิทยุเสียงดัง ห้ามรบกวน ห้ามสงเสียงดัง
การเตรียมตัวนอนหลับ
- ทำงานที่ค้างให้เสร็จ
- ก่อนนอนห้ามอ่านหนังสือ หรือดูทีวีที่เครียด หรืองานที่เครียด
- อาบน้ำอุ่นก่อนนอน
- ปรับอุณหภูมิห้องให้เย็น
- ปิดไฟห้องนอนให้มืด ติดม่านกันแสง
- ใส่ที่อุดหู
- ใช้เสียงพัดลมกลบเสียงอย่างอื่น
- ใช้วัสดุกันเสียงในห้องนอน
- อย่าลืมยกหูโทรศัพท์ออก
- ไม่ดื่มสุราหรือกาแฟ
- อย่าทานอาหารหนักก่อนนอน ให้รับประทานของว่าง
- รับประทานยานอนหลับ
ขับรถกลับบ้านอย่างปลอดภัย
คนที่ทำงานเป็นกะเมื่อเวลาเลิกงานจะมีอาการง่วง ผู้ที่ขับกลับตอนเที่ยงคืนจะต้องขับรถเสี่ยงต่อคนขับที่เมา ส่วนผู้ที่ขับตอนเช้าก็จะง่วงเนื่องจากอดนอนทั้งคืน วิธีที่ปลอดภัยมีดังนี้
- ถ้าง่วงมากให้งีบหลับก่อนกลับ
- ใช้รถรับจ้าง
- ให้ขับอย่างระวัง
ทำงานอย่างไรไม่ให้ง่วงเมื่อต้องทำงานเป็นกะ
- ให้หยุดทำงานเป็นช่วงๆ
- เวลาทำงานให้ทำงานร่วมกับเพื่อนและพุดคุยกับเพื่อนเพื่อคอยสังเกตอาการง่วงของแต่ละคน
- ระหว่างที่พักให้ออกกำลังกาย เช่นการเดิน
- รับประทานอาหาร 3 มื้อ
- ถ้าดื่มกาแฟให้รีบดื่มเมื่อเริ่มเข้าเวร
สำหรับนายจ้าง
- จัดสถานที่ทำงานให้สว่าง
- จัดอาหารที่มีคุณภาพ
- จัดตารางการทำงานเพื่อให้พักผ่อนอย่างพอเพียง และเพื่อให้ผู้ทำงานได้มีโอกาสที่จะมีความสุขกับครอบครัว
- ให้นโยบายงีบหลับได้เป็นช่วง โดยการพักเป็นช่วงๆอย่างเหมาะสม
- คำนึงถึงความปลอดภัยทั้งเดินทางมาทำงานและเดินทางกลับโดยอาจจะจัดรถรับส่ง
ทบทวนวันที่ 4/3/2566
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว